23 มีนาคม 2552

พี่ค๊อกแบส Peacock Bass


  • Peacock Bass(พี่ค๊อกแบส)
  • ชื่อสามัญ: Peacock Bass
  • ชื่อวิทยาศาสตร์: Cichla ocellaris
  • ชื่อไทย: กระพงลายเสือ, ปลาเสือ, ออสเซราลิส (ปลาตู้)
  • เชื้อชาติ: บราซิล (ลุ่มแม่น้ำ อเมซอน และ โอริโนโค)
  • สัญญาติ: ไทย (เกิดที่จังหวัดเพชรบุรี)
การ ทำรังวางไข่: พ่อแม่ปลาทำรังวางไข่ในแหล่งน้ำนิ่งที่พื้นเป็นดินกรวด วางไข่ครั้งละ 2000-3000 ฟอง พ่อแม่ปลาจะดูแลไข่ และลูกเป็นเวลาประมาณ 90 วัน ก่อนที่ลูกปลาจะโตขึ้น และกระจายตัวกันหาอาหารตามแหล่งที่มีสาหร่ายขึ้นรกชายฝั่ง
  • อาหาร: กุ้ง หอย ปู ปลา ทุกอย่างที่เคลื่อนไหว และเข้าปากได้
  • สถานะภาพในประเทศไทย: ทำรังวางไข่ ผสมพันธุ์ ประสพความสำเร็จในแหล่งน้ำธรรมชาติ


Peacock bass. เป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ Cichlidae. ในสกุล Cichla. มาจากภาษากรีก
Kichle.หมายถึงปลาทะเลที่มีฟันแหลมและสีสวยแถบทะเลเขตร้อนในตระกูล Labridae.

  • ปัจจุบันในธรรมชาติมีการระบุไว้ทั้งหมด 15 ชนิด. ดังนี้.
6 ชนิดแรกที่ถูกพบ.
  • 1) Cichla ocellaris Schneider,1801.
  • 2) Cichla temensisHumboldt,1821.
  • 3) Cichla orinocensis Humboldt,1821
  • 4) Cichla monoculus Spix & Agassiz,1831
  • 5) Cichla nigro-maculata Jardine&Schomburgk, 1843.
  • 6) Cichla intermedia Machado-Allison,1971.
9ชนิดใหม่ที่ถูกค้นพบ และ บรรยายโดย Kullander,Seven O.และEfrem J.,G.Ferreira ตีพิมพ์วันที่ 1 ธันวาคม 2549

  • 7) Cichla kelberi. Kullander & Ferreira,2006
  • 8) Cichla jariina. Kullander & Ferreira,2006
  • 9) Cichla melaniae. Kullander & Ferreira,2006
  • 10) Cichla mirianae. Kullander & Ferreira,2006
  • 11) Cichla pinima. Kullander & Ferreira,2006
  • 12) Cichla piquiti. Kullander & Ferreira,2006
  • 13) Cichla pleiozona. Kullander & Ferreira,2006
  • 14) Cichla thyrorus. Kullander & Ferreira,2006
  • 15) Cichla vazzoleri. Kullander & Ferreira,2006


ปลาในสกุล Cichla เป็นปลาหมอที่มีความใหญ่โตที่สุดในอเมริกาใต้ เนื่องจากแม่น้ำอเมซอนมีหลายหลายสาขาแบ่งย่อยออกไปทำให้ปลาในสกุลนี้มีความ หลากหลายตามไปด้วย ด้วยปากที่มีขนาดใหญ่ สายตาที่ดีเยี่ยม ลำตัวที่แข็งแกร่ง พละกำลังอันมหาศาล ทำให้พวกมันอยู่ในห่วงโซ่อาหารลำดับต้นๆของแม่น้ำนี้เลยก็ว่าได้


ชื่อ Peacock Bass มาจากลักษณะของหางที่มีความสวยงามคล้ายลายบนขนของนกยูง (Peacock)ซึ่ง ปลาสกุลนี้ ใช้โครงสร้าง และลวดลายในการแบ่งสายพันธุ์

+++++++++++++++++++++++++

  • 1. Cichla ocellaris (Tacutu)
ตัวนี้รู้จักกันดีในนาม butterfly peacock bass อยู่ทางตอนบนของRio Branco ประเทศบลาซิล ตลอดจนได้รับรายงานว่าพบที่ Florida, Hawaii, และ Puerto Rico ไม่มีมาร์คที่แก้ม มีแถบดำพาดกลางลำตัว โตเต็มที่ประมาณ 25 นิ้ว

+++++++++++++++++++++++++

  • 2.Cichla temensis – Tucunare (ชื่อเรียกพื้นเมือง)
ตัวนี้เหมือนเป็นเครื่องหมายการค้าของปลาสกุลนี้เลยก็ว่าได้เพราะว่ามีขนาด ใหญ่ที่สุด แพร่กระจายอยู่ตามสาขาต่างๆทั่วทั้งอเมริกาใต้ สามมารถโตได้ 30 นิ้วขึ้นไป ปลาในวัยเด็กจะ มีแถบดำขนานกับลำตัวของปลาตั้งแต่แก้มไปจนถึงหาง เมือโต ลายดังกล่าวจะหายไป
ปลาชนิดนี้ที่เห็นรูปกันบ่อยจะมี2 แบบน่ะครับ

++++++++++++++++++++++++++++++++++++



Paca


และ Assu

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


  • 3.Cichla orinocensis (Taua or Borboleta )
ชนิดนี้จะพบทางตอนบนของแม่น้ำ Rio Negro และพบมากใน Rio Jau และ RioBranco ทางตอนเหนือของประเทศบราซิล ตลอดจนปากแม่น้ำ Rio Orinoco โตเต็มที่ประมาณ 30 นิ้ว


มีจุดมาร์ค หรือ ocelli 3 จุด ไม่มีลายแถบดำระหว่างลำตัว ไม่มีจุดมาร์คที่แก้ม

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


  • 4.Cichla monoculus (Popoca หรือ Botao)
กระจายอยู่ทั่วทั้งอเมริกาใต้ โตได้ถึง 20 นิ้ว มีแถบที่หลังเพียงสั้นๆไม่พาดยาวเหมือนเทมเมนซิส มีแถบดำยาวใกล้ๆกับครีบอก ไม่มีจุดมาร์ค หรือ ocelli ตามลำตัวและแก้ม

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


  • 5.Cichla nigro-maculata
พบทางตอนบนของแม่น้ำOrinoco และ Casiquiare tributaries และตอนกลางแม่น้ำ Rio Negro
ขนาดใหญ่สุด 26.3 ซม.

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


  • 6. Cichla intermedia
เจ้าตัวนี้พบเฉพาะ ทางออกแม่น้ำOrinoco เท่านั้น มีขนาดเล็กที่สุดในสกุลเพียง 18 นิ้ว
เอกลักษณ์ มีแถบดำ 8 แถบ

++++++++++++++++++++++++++++++++++++



  • 7.Chicla Kelberi
เจ้าตัวนี้เป็นฝาแฝดกับ Cichla monoculus ต่างกันที่Chicla Kelberi จะมีแถบข้างลำตัวที่ยาวกว่าเท่านั้นเองครับ พบแพร่กระจายอยู่ ทางตอนใต้ของRio Tocantins และ Rio Araguaia

++++++++++++++++++++++++++++++++++++

  • 8.Cichla pleiozona
pleio ในภาษากรีกแปลว่า มาก ส่วน zona แปลว่า ขอบเพชร แพร่กระจายอยู่ Rio Madre de Dios, Beni, Mamor ทั่วทั้ง Bolivia และ Brazil มองเผินๆก็คล้ายกับเจ้า C. monoculus,และ C. kelber แต่นักมีนวิทยาได้อธิบายถึงความแตกต่าง ว่า แถบข้างลำตัวแถบที่4จะดูจางๆไม่เหมือนกับC. monoculus,และ C. kelberi

++++++++++++++++++++++++++++++++++++

  • 9.Cichla melaniae
พบกระจายในตอนล่างของแม่น้ำ Xingu ขนาดใหญ่สุดที่เคยพบ 29 ซม.
รายละเอียด

++++++++++++++++++++++++++++++++++++

  • 10.Cichla mirianae
++++++++++++++++++++++++++++++++++++


  • 11.Cichla pinima
++++++++++++++++++++++++++++++++++++



  • 12.Cichla piquiti
++++++++++++++++++++++++++++++++++++

  • 13.Cichla thyrorus

++++++++++++++++++++++++++++++++++++

  • 14.Cichla vazzoleri

++++++++++++++++++++++++++++++++++++

  • 15.Cichla jariina ออสซิลาลิสหางฟ้า

++++++++++++++++++++++++++++++++++++



ในช่วงจับคู่ เพศผู้จะพัฒนาโหนกด้านหน้าศีรษะ ด้วยฮอร์โมนเพศชายทำให้โหนกนี้มีสีแดง ในขณะที่เพศเมียไม่มี เมื่อเลือกคู่ได้แล้ว ทั้งเพศผู้และเมียจะร่วมกันสร้างรัง จากการศึกษา รังนี้อาจจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 2 เมตร และลึกถึง 39 นิ้ว ในขณะที่การทดลองเพาะพันธุ์พวกเขาในตู้ไม่สามารถทำได้ จึงเลือกบริเวณซอกหิน หรือ ซากไม้ขนาดใหญ่.



การศึกษานี้ทำให้นักวิชาการทราบข้อมูลบางอย่าง เช่น ปลา peacock bass. ขนาดประมาณครึ่งกิโล สามารถวางไข่โดยเฉลี่ย 3,712 ฟอง ขณะที่ตัวเมียขนาดน้ำหนักประมาณ 1.38 กิโลกรัม สามารถวางไข่ได้เฉลี่ย 10,355 ฟอง หรือ บางรายงานระบุว่าปลาเพศเมียที่เลี้ยงในตู้ขนาดไม่เกิน 12 นิ้ว สามารวางไข่ได้เฉลี่ย 1,600 ฟอง.


ลูกปลามีอัตรารอดขั้นต่ำ 10% แต่ถึงกระนั้น 10% นี้มีความหมายในอนาคตแน่นอน กล่าวคือ ในปัจจุบันแหล่งน้ำธรรมชาติที่เราคิดว่าเป็นระบบปิดของบ้านเราบางแห่งได้พบ เจ้าปลา peacock bass.นี้แล้ว ที่อาจดูวิตกเกินเหตุ ด้วยเหตุผลครงการหลุดรอดของไข่ หรือ ลูกปลาเหล่านี้ ลงสู่ระบบเปิด อย่างแม่น้ำ ลำคลอง ฯลฯ ครั้งนึง เราไม่เคยคิดว่า ปลาที่เราเลี้ยงในบ่ออย่าง ปลานิล หรือ แม้กระทั่ง ปลาที่ดูไร้ค่าอย่างปลาซัคเกอร์ จะพบเจอได้ตามแหล่งน้ำระบบเปิดทั่วไป.


นอกจากนี้ อย่างที่นักวิชาการได้ทำการศึกษา และที่น่ากังวลอีกอย่างคือปลาชนิดสามารถสืบพันธุ์ได้ในระดับอายุที่แตกต่าง กัน แสดงให้เห็นว่า ปลาชนิดนี้ ไม่จำเป็นต้องรอให้โตเต็มวัย ถึงจะเจริญพันธุ์.

++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ผิดพลาดประการใดช่วยชี้แนะด้วยครับ......ตกได้อย่าลืมเอากลับไปกินด้วยนะครับ

ขอบพระคุณที่มาของข้อมูล
น้าจิระชัย
คุณamonize35
คุณนณณ์
fishbase
น้าNnew



1 ความคิดเห็น:

  1. ในช่วงวัยเยาว์ จากรายงานของอาจารย์ Sven O. Kullander ท่านใช้วิธีในการจำแนกแบบกว้างๆที่พอจะเข้าใจได้อย่างพื้นๆก่อน 2 วิธี

    1) ใช้การกระจาย หรือ Distribution.( ถ้ายึดหลักนี้แล้ว ถ้าแหล่งที่ได้มาไม่เคลียร์ คงยากที่จะฟันธงในชนิดนั้นๆได้ ยกเว้น เหล่าเทพฯ)
    2) ใช้ลักษณะภายนอกที่ดูเห็นเด่นชัด.

    ท่านแบ่งวัยเยาว์ออกเป็น 2 กลุ่ม และสมาชิกในแต่ละกลุ่ม พบกระจายในที่ต่างกันออกไปด้วยครับ.

    กลุ่มแรก จะมีแต้มดำ 3 แต้มที่สีข้างลำตัว มีแถบดำเริ่มต้นที่แต้มสุดท้าย ลากตรงไปจนถึงแต้มดำที่ฐานของครีบหาง ในกลุ่มนี้มีสมาชิกคือ.
    1)Cichla ocellaris Schneider,1801.
    2)Cichla orinocensis Humboldt,1821
    3)Cichla monoculus Spix & Agassiz,1831
    4)Cichla nigro-maculata Jardine&Schomburgk, 1843.
    5)Cichla kelberi. Kullander & Ferreira,2006
    6)Cichla pleiozona. Kullander & Ferreira,2006

    กลุ่มที่สอง แต้มดำ 3 แต้มที่สีข้างลำตัว มีแถบดำเริ่มจากส่วนหัวยาวพาดผ่านแต้มทั้งสาม ไปสุดฐานของครีบหาง จำนวนสมาชิกคือส่วนที่เหลืออีก 9 ชนิด ดังนี้
    1)Cichla temensis Humboldt,1821.
    2)Cichla intermedia Machado-Allison,1971.
    3)Cichla jariina. Kullander & Ferreira,2006
    4)Cichla melaniae. Kullander & Ferreira,2006
    5)Cichla mirianae. Kullander & Ferreira,2006
    6)Cichla pinima. Kullander & Ferreira,2006
    7)Cichla piquiti. Kullander & Ferreira,2006
    8)Cichla thyrorus. Kullander & Ferreira,2006
    9)Cichla vazzoleri. Kullander & Ferreira,2006

    เคยมีการตั้งคำถามว่า กลุ่มปลาชนิดนี้สามารถผสมข้ามสายพันธุ์ ได้หรือไม่นั้น จากความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่าน่าจะมีความเป็นไปได้อยู่บ้าง อันเนื่องจาก กลุ่มปลาหมอสี บ่อยครั้งที่เราสามารพบเห็นว่า ปลาสกุลเดียวกัน แต่คนล่ะชนิดก็อาจจะมีการผสมกัน แต่ ผลที่ได้ไม่นับว่ามาเป็นชนิดใหม่ได้ครับ. จากรายงานใน practical fishkeeping ก็เคยมีการพูดถึงในลักษณะทำนองเดียวกันมาแล้วครับผม.

    ตอบลบ

.ขอบคุณที่แวะเข้ามาครับ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

เชิญแวะที่:
thainitaห้นย

จ้าวน้อยฟิชชิ่ง ตกปลาฮาเฮ เร่ไปเพราะใจสั่งมา © 2009. Powered by  MyPagerank.Net