04 ธันวาคม 2551

ปลากระสูบขีด กับ ปลากระสูบจุด

  • << ปลากระสูบ >>
เป็นปลาน้ำจืดกลุ่มหนึ่งของไทยที่อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Family Cyprinidae) ซึ่งเป็นปลากลุ่มใหญ่ที่สุดของปลาน้ำจืดไทยเรา ปลาในกลุ่มนี้มีลักษณะเด่นที่ค่อน ข้างชัดเจนกล่าวคือปลากลุ่มนี้จะไม่มีฟันที่กระดูกขากรรไกร แต่จะมีพัฒนาการในกระดูกคอหอย (pharyngeal bone) ให้มีลักษณะเหมือนฟันเรียกว่า (pharyngeal teeth) ปลากระสูบเป็นปลา สกุลหนึ่งที่มีการกระจายพันธุ์แทบทุกภาคของประเทศ โดยสามารถพบได้ทั้งในบริเวณที่เป็นแหล่ง น้ำนิ่งและเป็นแหล่งน้ำไหลแม้แต่ในบริเวณที่เป็นลำธารตื้นๆ ที่ไหลมาจากน้ำตก ปลากระสูบที่พบในลุ่มน้ำต่างๆ ของไทยเรามีทั้งสิ้น 3 ชนิด

<<<+++++++++++++*+*+++++++++++++>>>

  • 1.) กระสูบขีด
  • ชื่อเรียก กระสูบ(ภาคกลาง) สูบ(ภาคใต้) สูด(ภาคอิสาน)
  • ชื่อวิทย์ (Hampala macrolepidota Valenciennes)
เป็นปลากระสูบ (Hampala) ที่มีการกระจายพันธ์กว้างที่สุดในสกุลนี้ โดยสามารถพบ ได้ในลุ่มน้ำตะนาวศรีในพม่า แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง แม่น้ำในเขตภาคตะวันออกของไทย ภาคใต้ มาเลเซีย อินโดนีเซียพบในเกาะสุมาตรา ชวา(เป็น Type locality ของปลาชนิดนี้) และ กาลิมันตัน ปลากระสูบชนิดนี้เป็นตัวอย่างต้นแบบของปลาในสกุลปลากระสูบ (Hampala) ทุกชนิด แหล่งที่สำคัญที่สุดที่จะพบปลากระสูบขีดได้ดีจะมีลักษณะเป็นแหล่งน้ำนิ่ง ขนาดใหญ่ที่มีน้ำค่อนข้างใส ไม่ว่าจะเป็นอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน หรือในหนองบึงธรรมชาติขนาดใหญ่ เช่นที่บึงบอระเพ็ด เขื่อนศรีนครินทร์ เป็นต้น



ปลาชนิดนี้มีลักษณะเด่นค่อนข้างชัดเจนและสมกับชื่อกระสูบขีด กล่าวคือในปลาตัว เต็มวัยขนาดความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ขึ้นไปจะมีแถบดำอยู่ในแนวขวางในแนวด้านข้าง ลำตัว ซึ่งจะเป็นแถบที่เห็นชัดที่สุดอย่างไรก็ดีในปลาบางตัวจะมีแถบบริเวณโคนครีบ หางและแถบ ขวางคาดตาเพิ่มขึ้นด้วยแม้ว่าจะมีขนาดใหญ่แล้วก็ตาม

ส่วนในปลาขนาดเล็ก (2-5 เซนติเมตร จะพบว่ามีแถบสีดำพาดตามขวางชัดเจน 3 แถบ) ครีบต่างๆ ของปลากระสูบจะใส ยกเว้นครีบ หางที่จะมีสีส้มสดอมแดง จนถึงสีแดง ส่วนมากขอบบนและล่างของครีบหางจะมีแถบสีดำ อย่าง ไรก็ดีในบางตัวอย่างจะไม่มีแถบ ลำตัวมีสีเงิน บริเวณฐานเกล็ดจะมีสีคล้ำ ส่วนหลังจะมีสีเข้มกว่า ส่วนท้องและด้านข้างลำตัว ในบางกรณีพบว่าแก้มจะมีสีชมพูหรือสีส้ม ปลากระสูบขีดเป็นปลาที่ มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาเพื่อนพ้อง

<<<+++++++++++++*+*+++++++++++++>>>



  • 2.) ปลากระสูบจุด (ภาคกลาง) สูด(อิสาน)
  • ชื่อวิทย์(Hampala dispar Smith)

ปลา กระสูบชนิดนี้มีแหล่งที่ถูกเก็บและตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ครั้งแรกจาก แม่น้ำมูล จังหวัด อุบลราชธานี โดย H.M. Smith ในปี 1934 ปลากระสูบชนิดนี้มีลักษณะเด่นโดยจะมีจุดกลมอยู่ใน แนวด้านข้างลำตัว นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบกับปลากระสูบขีด หรือ ปลากระสูบพม่า แล้ว กระสูบสุดจะมีลำตัวอ้วนป้อมกว่า หัวสั้นกว่า และมีหางสั้น ครีบต่างๆ ของกระสูบจุดใสไม่มีสี นอกจากครีบหางที่มีสีส้ม ส่วนมากจะไม่มีแถบดำที่บริเวณขอบด้านบนและล่างของครีบหาง



มีหนวดสั้น 1 คู่ที่ริมฝีปาก ครีบหลังค่อนข้างเล็ก ครีบหางเว้าลึก เกล็ดค่อนข้างใหญ่ ตัวมีสีเงิน ด้านหลังสีคล้ำอมน้ำตาล ด้านท้องสีจาง ด้านข้างลำตัวมีจุดสีคล้ำข้างละหนึ่งดวง ครีบมีสีแดงเรื่อ ครีบหางมีสีแดงไม่มีแถบสีคล้ำ โดย พบตัวอย่างจำนวนน้อยเท่านั้นที่พบแถบดังกล่าว


ในขณะที่เป็นปลาขนาดเล็กความยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ลูกปลาชนิดนี้จะมีลายขวางกลางลำตัวเหมือนกระสูบขีดที่โตเต็มวัย แต่จะมีลาย ตามขวางเพียงแถบเดียวเท่านั้นไม่เป็นสามแถบเหมือนกระสูบขีดขนาดเล็ก


แหล่ง ที่พบปลาชนิดนี้ส่วนมากเป็นแหล่งน้ำนิ่งที่ค่อนข้างตื้น ลักษณะเป็นหนองบึง ขนาดเล็กปลาชนิดนี้มีการกระจายพันธุ์เฉพาะในแม่น้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำโขง โดยพบปะปนกับ ปลากระสูบขีด อย่างไรก็ดีในบริเวณที่พบปะปนกัน ปลามักจะอยู่แยกกันโดยในกรณีของแม่น้ำมูล ที่จังหวัดอุบลราชธานีเราจะพบปลากระสูบขีดได้ในแม่น้ำสายหลัก



ส่วนกระสูบจุดจะพบตาม หนองน้ำ หรือลำน้ำสาขาขนาดเล็ก ในภาคกลางมีรายงานน้อยมากเกี่ยวกับปลาชนิดนี้ส่วนมาก ปลากระสูบที่พบจะเป็นกระสูบขีดเสียมากกว่า ต่างกับในภาคอิสานซึ่งส่วนมากจะเป็นกระสูบ จุดมีกระสูบขีดจำนวนน้อย กระสูบจุดเป็นปลากระสูบที่มีขนาดเล็กที่สุด โดยโตเต็มที่มีความ ยาวเพียง 30 เซนติเมตรเท่านั้น
เป็นปลานักล่า กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร บริโภคโดยปรุงสด และทำปลาร้า ปลาส้ม นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

<<<+++++++++++++*+*+++++++++++++>>>


  • 3.) ปลากระสูบพม่าหรือกระสูบสาละวิน
  • ชื่อวิทย์(Hampala salweenensis Doi&Taki)

ปลา กระสูบชนิดนี้เป็นน้องใหม่ของวงการปลากระสูบ ถูกตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรก จากตัวอย่างที่มาจากแม่น้ำเมย จังหวัดตาก โดย Doi&Taki ในปี 1994 นี่เอง อย่างไรก็ดีปลาชนิด นี้พบได้ทั่วไปในระบบลุ่มน้ำสาละวินรวมถึงลำน้ำสาขาทางตอนล่างติดกับชายแดน อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ปลากระสูบชนิดนี้มีลำตัวเพรียวยาวกว่ากระสูบสองชนิดที่กล่าวถึงข้างต้น และมีจุดเด่นที่สำคัญคือเมื่อเปรียบเทียบกับกระสูบขีดจะมีลักษณะตำแหน่งแถบ ตามขวางคล้ายคลึงกันรวมทั้งลักษณะสีของครีบหาง


ที่แตกต่างกันมากที่สุดคือปลากระสูบขีดนั้นแถบตามขวาง มีลักษณะเป็นขีดแต่แถบตามขวางของกระสูบพม่ามีลักษณะเป็นแต้มคล้ายรอยนิ้วมือ และมีขนาดใหญ่ นอกจากนี้แต้มดังกล่าวจะเห็นได้ชัดและมีขนาดใหญ่มากในช่วงที่ปลามีขนาดเล็ก เมื่อ ปลาเจริญเติบโตขึ้นแต้มดังกล่าวทั้งสามแต้มก็จะไม่จางหายไป (ในกรณีที่อยู่ในที่เลี้ยงแต้มของ ปลาอาจจางได้ถ้าสภาพของตู้ไม่เหมาะสม) ปลากระสูบพม่าเท่าที่มีรายงานโตเต็มที่มีความยาว ประมาณ 40 เซนติเมตร

http://learners.in.th/file/fbijubxl/243px-GetAttachmentxxxxxx.jpg

ปลา กระสูบทุกชนิดเป็นปลากลุ่มปลาตะเพียนที่มีวิวัฒนาการเพื่อล่าเหยื่อ เป็นผู้ล่าชนิด หนึ่งในแหล่งน้ำที่มันอาศัยอยู่ ปลากระสูบเป็นปลาที่พบว่าในขณะที่มีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร จะร่วมล่ากันเป็นฝูงค่อนข้างมีจำนวนสมาชิกมาก แต่เมื่อปลาโตขึ้น มักจะพบเป็นฝูง เล็กๆ หรือออกล่าเพียงตัวเดียว

ปลากระสูบสาละวิน มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกเช่น " กระสูบสามขีด " หรือ " มุมหมาย " เป็นต้น


<<<+++++++++++++*+*+++++++++++++>>>


  • กระสูบไร้ขีดไร้จุด

สำหรับกระสูบไม่มีจุดไม่มีขีดอยู่ในช่วงค้นหาข้อมูลอยู่ครับ ถ้ามองลักษณะทั่วไปมันก็ไม่ต่างอะไรจากกระสูบทั่วไปแต่จะละม้ายไปทางกระสูบขีดมากกว่ากระสูบจุด ส่วนมากเจอกับกระสูบวัยหนุ่มขึ้นไปไซด์ โลขึ้น และส่วนมากพบในแหล่งน้ำใสด้วยครับ ข้อมูลของผมเป็นแค่การสังเกตของผมเองนะครับยังไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้องลองดูรูปไปก่อนละกัน

และเห็นว่าทางภาคไต้กระสูบจะไม่ค่อยมีขีดหรือจุดเลย


<<<+++++++++++++*+*+++++++++++++>>>
  • ข้อมูลจาก อาจารย์ ชัยวุฒิ กรุดพันธ์
  • ข้อมูลเสริม วิกิพีเดีย
  • รูปภาพจากหลากหลายที่มา ขออนุญาติเจ้าของรูปภาพนำมาเผยแพร่เพื่อเป็นความรู้ด้วยครับ
  • ขอบพระคุณครับ

<<<+++++++++++++*+*+++++++++++++>>>




14 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ20 มีนาคม 2552 เวลา 20:58

    ปัจจุบันสกุลปลากระสูบมีสมาชิกทั้งหมด 7 ชนิด ส่วนใหญ่กระจายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

    1)Hampala salweenensis Doi & Taki 1994 ปลากระสูบสาละวิน ปลาตัวอย่างที่ถูกพบในไทย พบแถบแม่ฮ่องสอน.
    2)Hampala macrolepidota Kuhl & van Hasselt 1823 กระสูบขีด.
    3)Hampala dispar Smith 1934 กระสูบจุด
    4)Hampala ampalong (Bleeker 1852)สุมาตรา บอร์เนียวตะวันตก.
    5)Hampala bimaculata (Popta 1905)บอร์เนียว.
    6)Hampala lopezi Herre 1924 ฟิลิปินส์
    7)Hampala sabana Inger & Chin 1962 มาเลเซีย.

    ตอบลบ
  2. มีเยอะมากเลยครับอยากได้ข้อมูลจังเลยน้าจิรชัย

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ25 ธันวาคม 2552 เวลา 00:08

    ผมอยู่หนองแขมจะไปตกปลากระสูปที่ไหน

    ตอบลบ
  4. ไม่ทราบเหมือนกันครับ ไม่เคยไปแถวนั้นเลยครับ ลองหาข้อมูลก็ไม่มีเลยครับ ต้องลองโพสถามตามเว็บตกปลาใหญ่ๆตามลิงค์เว็ปตกปลาซ้ายมือดูครับ ขอให้โชคดีครับ

    ตอบลบ
  5. ประจวบมีปลามากมาย

    ตอบลบ
  6. ประจวบมีปลานิลหนัก24กิโลกรัม

    ตอบลบ
  7. จริงเหรอครับ ปลานิล 24 ก.ก.ใหญ่มากนะครับ ผมเคยเห็น 2-3 โลนี่ก็ว่าใหญ่มากแล้ว อยากเห็นจังครับ เคยไปเที่ยวประจวบแค่ครั้งเดียวเองอยากไปอีก แต่ไม่รู้จะมีโอกาสอีกป่าว

    ตอบลบ
  8. โม้! แน่นอนปลานิลอะไรตั้ง 24ก.ก

    ตอบลบ
  9. ปลานิล 24ก.ก อยู่ที่ อำเภออะไรครับอยากรู้ จริงๆครับ

    ตอบลบ
  10. จากคนทำบาบไม่ขึ้น24 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 00:04

    อ่างเก็บน้ำบางพระ มีปลาให้ตกไหมครับ มีเย่อไหม

    ตอบลบ
  11. อาจจำชื่อปลาผิดก็ได้ครับ อ่างเก็บน้ำบางพระลองไล่ดูในลิ้งค์ข้างล่างดูครับ

    http://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0&ie=utf-8&oe=utf-8&aq=t&rls=org.mozilla:th:official&client=firefox-a

    ตอบลบ
  12. http://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0&ie=utf-8&oe=utf-8&aq=t&rls=org.mozilla:th:official&client=firefox-a

    ตอบลบ
  13. ไม่ระบุชื่อ8 มีนาคม 2553 เวลา 20:20

    ขอถามหน่อย เหยื่อใช้ตกสปูนได้ไหม

    ตอบลบ
  14. ถ้าถามว่าเหยื่อสปูนใช้ตกกระสูบได้หรือป่าว? ได้ครับผมเหยื่อชนิดนี้นิยมใช้กันแพร่หลายตามเขื่อนหลายๆแห่ง เช่นเขือนศรีนครินทร์ ซึ่งโด่งดังมาจากคุณสุธีแห่งแพน้ำโจน แต่ไม่ได้เจาะจงว่าต้องเป็นสปูนเสมอไปเพราะในแถบภาคอีสานก็จะเน้นเป็นสปินเนอร์ หรือเหยื่อพื้นบ้านที่ลีกษณะคล้ิายๆกัน ที่เรียกว่า เหลี่ยม หรือเหลื่อม หรือเลี่ยม (สำเนียงแล้วแต่พื้นที่) รวมไปถึงเหยื่อพวก ผิวน้ำ ดำตื้น ดำลึกก็ใช้ได้ผลตามสภาพพื้นที่ใช้งานครับ

    ตอบลบ

.ขอบคุณที่แวะเข้ามาครับ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

เชิญแวะที่:
thainitaห้นย

จ้าวน้อยฟิชชิ่ง ตกปลาฮาเฮ เร่ไปเพราะใจสั่งมา © 2009. Powered by  MyPagerank.Net