วงศ์ปลาเสือตอ ( Lobotidae)
วงศ์ปลาเสือตอ ( Lobotidae) โดยมาจากคำว่า " Lobos " ซึ่งเป็นภาษากรีกหมาย ถึง ก้านครีบ) ปลาจำพวกนี้จัดอยู่ในกลุ่ม (ปลาที่มีก้านครีบ) Ray-finned fishes ในอันดับ (Order) Perciformes ซึ่งเป็นปลาที่ปากยาว จงอยปากสามารถยืดได้ เป็นปลากินเนื้อ ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้านครีบแข็งเป็นเงี่ยง 13 ชิ้น ตอนหลังเป็นครีบอ่อน เกล็ดเป็นแบบสาก (Ctenoid) เมื่อลูบแล้วจะรู้สึกหยาบ มีหลายชนิด กระจายอยู่ทั่วไปทุกมุมโลก พบทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม
สำหรับ ปลาในสกุล Datnioides มีทั้งสิ้น 5 ชนิด (Species) พบกระจายทั่วไปทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาศัยอยู่ในน้ำจืดและน้ำกร่อย พบทั้งในแม่น้ำและตามปากแม่น้ำต่างๆ มีปากยาว ยืดหดได้ สีลำตัวเป็นสีเหลืองหรือส้ม มีลายพาดตามลำตัว 6 - 8 เส้น ขนาดเล็กใหญ่และจำนวนต่างไปตามแต่ชนิดสายพันธุ์ (Species) มีพฤติกรรมชอบลอยตัวอยู่นิ่งๆ ใต้น้ำ โดยส่วนหัวทิ่มลงเล็กน้อย กินสัตว์น้ำและแมลงเป็นอาหาร โดยวิธีการฉกงับ (Snap) อย่างรวดเร็ว
เนื้อมีรสชาติอร่อย แต่ปัจจุบันนี้ใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากการถูกจับเป็นจำนวนมาก และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามที่ราคาสูงด้วย ทั้ง 5 ชนิด ได้แก่
1. เสือตอปาปัวนิวกินี (Datnioides campbelli)
ขนาดลำตัวโตเต็มที่ประมาณ 36 ซ.ม. พบในแหล่งน้ำบริเวณชายฝั่งในนิวกินีมี ซี่เหงือกน้อยกว่า ปลาชนิดอื่นๆ ในสกุลเดียวกัน และมีแถบลายที่ไม่ชัดเจน มีแถบขนาดเล็กแทรกระหว่าง แถบที่ 3 ขนาดใหญ่กลางลำตัว และแถบที่ 4 สีค่อนไปทางสีเงิน น้ำตาล จนไปถึงเหลืองอ่อนๆ เกล็ดมีขนาดใหญ่และหยาบ พบได้ในแหล่งน้ำกร่อยปากแม่น้ำ บึงใกล้ชายฝั่งเหนือระดับน้ำขึ้นน้ำลงแถบเกาะปาปัวนิวกีนี ประเทศอินโดนีเซีย<<<+++++++++++*+*++++++++++++>>>
2. เสือตอลายใหญ่ (Datnioides pulcher)
มีขนาดลำตัวที่ใหญ่ที่สุด มีลายแถบดำขนาดใหญ่ 5 - 6 เส้น มีสีสันที่สดและสวยที่สุด พบในประเทศไทยและกัมพูชา มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ
มีขนาดลำตัวที่ใหญ่ที่สุด มีลายแถบดำขนาดใหญ่ 5 - 6 เส้น มีสีสันที่สดและสวยที่สุด พบในประเทศไทยและกัมพูชา มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ
<<<+++++++++++*+*++++++++++++>>>
3. เสือตอลายเล็ก (Datnioides undecimradiatus)
ขนาดลำตัวประมาณ 30 ซ.ม. สีออกขาว ลายมีเส้นเล็ก เกล็ดมีขนาดใหญ่กว่าเสือตอลายใหญ่ พบในแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขา
<<<+++++++++++*+*++++++++++++>>>
4. เสือตออินโดนีเซีย (Datnioides microlepis)
ขนาดลำตัวประมาณ 40 ซ.ม. ใกล้เคียงกับเสือตอลายใหญ่ แต่มีสีสันลำตัวและลายที่ไม่สดใสเท่า พบในอินโดนีเซีย
<<<+++++++++++*+*++++++++++++>>>
5. กะพงลาย (Datnioides polota)
ขนาดลำตัวประมาณ 30 ซ.ม. สีลำตัวออกขาวเหลือบเงิน เส้นลายมีขนาดเรียวเล็กที่สุด พบในบริเวณน้ำกร่อย ปากแม่น้ำ ตั้งแต่อินเดียจนถึงปาปัวนิวกินี<<<+++++++++++*+*++++++++++++>>>
ส่วนปลาในสกุล Lobotes มีเพียง 2ชนิด คือ
1. กะพงดำ (Lobotes surinamensis)
เป็นปลาน้ำกร่อย มีนิสัยชอบพรางตัวโดยสามารถปรับสีตามสภาพแวดล้อมได้ ลูกปลาวัยอ่อนฟักตัวที่ป่าชายเลน<<<+++++++++++*+*++++++++++++>>>
คล้ายคลึงกับปลากะพงดำ แต่พบเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิก และมีขนาดเล็กกว่า
<<<+++++++++++*+*++++++++++++>>>
Datnioides undecimradiatus หรือ เสือตอลายเล็ก ครับ ถูกแยกเป็นชนิดต่างหากจาก เสือตอลายใหญ่(และลายคู่) มาเมื่อไม่นานเท่าไรนัก เสือตอลายเล็ก มีอยู่คู่ตลาดปลามานานแล้วครับ เนื่องจากยังพบได้ง่าย และมีจำนวนมากในแม่น้ำโขง ทั้งเขตประเทศไทยและเขมร มีราคาไม่สูงมากครับ หลักร้อย แต่มันจะมีราคาแพงมาก ถ้าเจอปลาที่มีขนาด เกิน 1 ฟุตขึ้นไปครับ เพราะถือเป็น ปลาขนาดยักษ์ สำหรับสปีชีส์นี้แล้วครับ และพบได้ในธรรมชาติแทบทั้งสิ้น ยากนักที่จะเลี้ยงให้โตได้เกิน 1 ฟุตในที่เลี้ยงครับ เรามาดูรายละเอียดของปลาชนิดนี้กัน
อันดับแรกก็คือ ลาย หรือ แถบบนลำตัวนั่นเอง
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจร่วมกันก่อนนะครับ ในการแยกชนิดหรือสายพันธุ์ปลาเสือตอนั้น เราใช้แถบบนตัวปลาเป็นหลักสำคัญอันดับ 1 ครับ ปลาทุกตัว จะมีแถบสองแบบ คือ แถบที่เรียกว่า แถบหลัก ซึ่งเป็นแถบที่จะต้องพบบนปลาเสือตอทุกๆตัว ทุกๆชนิดครับ ถึงแม้ว่า บางตัวส่วนน้อย อาจพบแถบหลักที่บิดเบี้ยวผิดส่วนผิดตำแหน่งไปบ้างก็ตาม ส่วนแถบอีกแบบ เราเรียกง่ายๆว่า ลายแซม นั่นเองครับ คือแถบที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากแถบหลักไม่ว่าจะตรงจุดไหน จำนวนเท่าไร หรือลักษณะอย่างไรก็ตาม ทั้งเป็นจุด เป็นแต้ม เป็นขีดสั้นๆ หรือยาวมากๆ ก็ใช่หมดครับ บางตัวก็มี บางตัวก็ไม่มี ลักษณะแตกต่างกันมากมายจำนวนลาย
ในการแบ่งของผมนั้น ผมขอแบ่งแถบหลัก ของปลาเสือตอลายเล็กไว้ทั้งหมดจำนวน 6 แถบครับ คือ
ลักษณะของลาย ปลาเสือตอลายเล็กนั้น จะมีลายหรือแถบที่มีขนาดความกว้างค่อนข้างแคบ หรือ เล็กสมชื่อนั่นเอง ลักษณะเช่นนี้เลยทำให้พื้นที่สีเหลืองบนตัวปลาแลดูมีขนาดใหญ่ชัดเจนครับ จุดสังเกตุที่สำคัญของเสือตอลายเล็กคือ- 1. แถบที่พาดผ่านลูกตา
- 2. แถบที่พาดผ่านกระพุ้งแก้ม (สร้อย)
- 3.แถบกลางลำตัวพาดผ่านทวารหนัก
- 4. แถบที่พาดผ่านก้านครีบก้น
- 5.แถบที่พาดผ่านเยื่อครีบหลังไปโคนหาง
- 6. แถบรอยต่อระหว่างเนื้อโคนหางกับเยื่อครีบหาง
1. มันจะมีแถบหลักเพียง 6 แถบตามที่แจ้งไว้ครับ
หมายความว่า ปลาเสือตอลายเล็กนั้นจะไม่มีจำนวนแถบหลักเกินไปกว่านี้แน่นอนครับ ถ้ามีถือว่าแปลกมากๆเลยล่ะครับ
2. ไม่มีความหลากหลายของแถบหลักใดๆทั้งสิ้น
หมายความว่า เราจะไม่พบแถบหลักดังกล่าวเปลี่ยนแปลงเป็นแถบลักษณะอื่นๆใดๆ เช่น แถบหลักกลางลำตัว แบ่งออกเป็นสองลายเหมือนเสือตอลายคู่ หรือ แถบตรงคอดหางแบ่งออกเป็นสองลาย เหมือนเสือตอลายใหญ่ 7 แถบ เป็นต้นครับ
3. แถบหลักแถบที่ 5 แยกจากกันเป็นสองส่วน
หมายความว่า แถบหลักแถบที่ห้า ตอนบนบริเวณเยื่อครีบหลัง จะแยกขาดออกจากกันเป็นสองตอน จากแถบหลักแถบที่ 5 บริเวณโคนหางครับ เป็นแบบนี้ทุกตัวครับ
4. แถบหลักแถบที่ 1-4 มีขนาดความกว้างใกล้เคียงกันมากๆ
หมายความตามนั้นครับ อันนี้ ต้องใช้สายตาสังเกตุครับ จะวัดให้เป๊ะๆให้เท่ากันคงเป็นไปไม่ได้แน่นอนครับ และนี่คือ จุดสำคัญ ในการแยกปลาเสือตอลายเล็ก ออกจากปลาเสือตอลายใหญ่นั่นเองครับ
5. ไม่พบลายแซมที่มีความยาวของลายใกล้เคียงแถบหลัก
หมายความว่า ปลาเสือตอลายเล็กนั้น จะมีลายแซมเกิดขึ้นได้ตามปรกติครับ ไม่ว่าจะแซม บริเวณไหนก็ตาม ลายดังกล่าว จะเป็นแค่เศษเสี้ยวเล็กๆ สั้นๆ แคบๆ ไม่มีทางพบลายแซม ซึ่งมีขนาดและความยาวใกล้เคียงแถบหลักเลยแม้แต่น้อยครับ
รูปทรงของลำตัว
เสือตอลายเล็กส่วนใหญ่ จะมีลำตัวที่ผอมเรียวยาว ส่วนสันด้านหน้าจะค่อนข้างลาด ไม่ตั้งชันมากครับสี และ เกล็ดบนลำตัวและควมแตกต่างอื่นๆ
ทำความเข้าใจตรงกันว่า คำว่าสีนั้น เราจะพูดถึงสีพื้นของลำตัว หรือ บริเวณลำตัวที่ไม่มีลายพาดผ่านนะครับ สีของปลาเสือตอลายเล็กนั้น จะประสบการณ์ที่พบ มีสีที่เกิดขึ้นได้ดังนี้คือ สีน้ำตาล สีเทาคล้ำๆ สีเหลือง(ตั้งแต่สีอ่อนๆไปจนถึงเหลืองสด) แค่นี้ครับ เกล็ดบนลำตัวจะดูหยาบกว่าปลาเสือตอจากเขมรและอินโดนีเซียครับ
<<<+++++++++++*+*++++++++++++>>>
ปลา เสือตอเป็นปลาน้ำจืดที่มีลำตัวกว้างและแบนข้าง พื้นลำตัวสีเหลืองอมน้ำตาล มีแถบสีดำพาดขวางลำตัว 6-7 แถบ หัวแหลม ส่วนหน้าผากลาดลง ปากกว้างและยืดหดได้ จะงอยปากแหลมและยื่นยาว ดวงตากลมมีขนาดใหญ่ เกล็ดค่อนข้างเล็กปลายมีหนาม ครีบหูกลมมน ครีบหลังมีสองส่วนเชื่อมต่อกัน ส่วนหน้ามี 12 ก้าน ครีบแข็งและแหลมคม ส่วนหลังเป็นก้านครีบอ่อน ครีบหางกลมเป็นรูปพัด ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 3 อัน มีลักษณะคล้ายเงี่ยง มีขนาดความยาว 10 - 20 เซนติเมตร ปลาโตเต็มที่อาจจะมีขนาดถึง 40 – 50 เซนติเมตร
ลักษณะ ความสวยงามเฉพาะตัวของปลาเสือตอที่เป็นที่นิยมคือมีรูปทรงที่แบนกว้าง มีพื้นสีเหลืองสดใส มีลายดำพาดขวางลำตัวอย่างได้ส่วน เวลาเคลื่อนไหวครีบบนครีบล่างส่วนท้ายอ่อนพลิ้ว ครีบท้องหรือครีบตะเกียบมีสีเหลืองตัดสีดำเหยียดตรง มีชายพู่ตะเกียบ 3-4 เส้น ดูสง่างามโดยเฉพาะเวลาตามเหยื่อ หนามแข็งส่วนหน้าของครีบจะชี้ตัวขึ้น ครีบหนามล่างจะเหยียดลงทำให้ดูสวยงาม เป็นที่ต้องการของกลุ่มรักปลาสวยงานประเภทล่าเหยื่อ และโดยปกติปลาเสือตอชอบอาศัยดักเหยื่ออยู่ตามแหล่งน้ำที่มีตอไม้ และด้วยลักษณะของสีสรร ที่คล้ายกับเสือ จึงได้ชื่อว่า "ปลาเสือตอ"
ปลา เสือตอสามารถวางไข่โดยวิธีธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องใช้การฉีดฮอร์โมนเข้าช่วย ช่วงการวางไข่ประมาณเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ปลาเสือตอเพศผู้จะมีขนาดโตเต็มวัยเมื่อมีน้ำหนักประมาณ 300-400 กรัม ส่วนปลาเสือตอเพศเมียขนาด 800 กรัมจะได้วัยเจริญพันธุ์ ไข่ปลาเสือตอเป็นไข่ประเภทลอยน้ำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ใช้เวลาฟักออกเป็นตัวประมาณ 14-17 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิประมาณ 29 องศาเซลเซียส และถุงอาหารจะยุบภายในเวลา 2-3 วัน อาหารที่เหมาะสมของลูกปลาเสือตอวัยอ่อนควรเป็นแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็ก เช่นโรติเฟอร์ในระยะ 3-10 วันแรก และใช้ไรแดงเลี้ยงอนุบาลจนได้ขนาด 3 เซนติเมตรขึ้นไป จึงใช้หนอนแดงอาร์ทีเมียขนาดใหญ่หรือลูกปลาขนาดเล็กให้กินเป็นอาหาร
<<<+++++++++++*+*++++++++++++>>>
3 ตัวนี้คือกระพงลาย
<<<+++++++++++*+*++++++++++++>>>
3 ตัวนี้คือเสือตอ
<<<+++++++++++*+*++++++++++++>>>
แรกเริ่มเดิมทีปลาเสือตอถูกบรรยายโดยใช้ชื่อสกุลว่า Coius.มีการบรรยายจำแนกชนิดตามที่ทราบ หนึ่งในนั้นคือ Coius microlepis.สิ่งที่น่าสนใจคือ ตัวอย่างที่ถูกหยิบยกนำมาบรรยาย และ แหล่งที่พบ ซึ่งมีประเทศไทยด้วย แต่ตัวอย่างที่นำมาบรรยาย มี ตัวอย่างปลาดองจากบึงบรเพ็ด และปลาจากอินโดนีเซียซึ่งมีลาย6-7แถบ ก็เลยเป็นที่มาของปลาเสือตอไทยว่าน่าจะเป็น Coius microlepis. ต่อมาปลาเสือตอถูกเขียนในหนังสือ Fishes of Laos.(ใช้เป็นDatnoides pulcher.) และ ปลาน้ำจืดที่ถูกพบในน้ำเทียน และ บึงสีไฟ ซึ่งชื่อปลาเสือตอคือ Coius pulcher.ในรายละเอียดการบรรยายอ่านแล้วเข้าข่ายเสือตอลายใหญ่มาก แต่ตอนสรุปอาจารย์ที่บรรยาย ท่านบอกว่า หากจะชัวร์100% ให้นำตัวอย่างตรวจDNAแล้วลองเทียบกับฐานเดิมว่าปลาที่พบที่นั่นเป็นชนิดไหน ในหนังสือ Fishes of Laos. เขียนไว้อยู่นิดนึงว่าแตกต่างจากชนิดอื่นดังนี้คือ ครีบก้นที่2ยาวกว่าครีบก้นที่1และ3 เข็มตรงบริเวณที่เปิดปิดเหงือก และเกล็ดเส้นข้างลำตัวที่มีมากกว่า 50 เกล็ด. ที่ผมสังเกตุจากงานเขียนบรรยายช่วงหลังๆ พบว่า ปลาน้ำจืดไทยถูกนำไปเทียบใกล้เคียงกับปลาทางลาว หรือเขมร มากกว่า อินโดฯ จึงมีการสันนิษฐานว่า ของไทยคือ Datnoides pulcher.แต่ต่อมามีการระบุว่า ในอินโดฯซึ่งควรจะมีDatnoides microlepis.กลับพบD.pulcher.ด้วย ในทางกลับกันในลาว และ เขมร ก็มี D.microlepis.ด้วย จากความคิดส่วนตัวสงสัยว่าการแพร่กระจายนี้ เกิดจาก การค้าขายปลาสวยงาม มากกว่า ส่วนตัวหลายครั้งที่สงสัยอยู่ว่า คนไทยมักจะระบุชนิดนี้ชนิดนั้นได้ เช่นลายใหญ่อินโด หริอ เสือเขมร คืออยากทราบจริงๆว่า รู้ได้อย่างไร? มีอะไรที่ไม่รู้หรือเปล่า? คำตอบดูเหมือนจะรู้หมด.
ตอบลบขอบคุณมากครับน้าจิรชัยที่มาช่วยเพิ่มความรู้ดีๆครับ
ตอบลบขอตอบคุณจิระชัยนะครับว่า ถ้าคุณเป็นผู้ที่เลี้ยงปลาเสือตอทุกชนิดมานาน
ตอบลบประสบการณ์สูง ผ่านหูผ่านตา ผ่านมือมาเยอะมากๆ คุณก็ย่อมแยกปลาเสือตอ อินโดฯ และเขมรได้อย่างแทบจะไม่ผิดพลาดเลยครับ
คนหลายๆคนที่เขาทำได้แบบนี้ เค้าก็อธิบายแล้วครับว่า เค้ารู้ได้อย่างไร มีวิธีการดูอย่างไร ให้เหตุผลอย่างไร ถ้าคุณจิระชัยอยากรู้มากกว่านี้ ก็ควรหาปลาเสือตอมาเลี้ยงบ้าง เยอะๆ ผ่านมือ ผ่านตาให้เยอะๆ และใช้เวลากับพวกมันสัก 10-15 ปี คุณก็จะรู้เหมือนพวกเขาเช่นกันครับ
ส่วนนักมีนวิทยานั้น ส่วนใหญ่แล้ว รู้จักปลาใหม่ๆ ก็จากพ่อค้าปลาสวยงามทั้งนั้นครับ บางครั้ง เขาเอามาขายกันเป็นปีเป็นชาติแล้ว จนรู้จักกันหมดว่ามันคืออะไร แตกต่างและเหมือนกะอะไรอย่างไร อย่างไม่เป็นทางการ นักมีนวิทยา พึ่งมาเจอและตั้งชื่อด้วยซ้ำไปครับ
ที่มาของบทความ ส่วนใหญ่ก็มาจากเวปนี้ครับลองดู
http://www.genepoolaquarium.com/
ขอบคุณคุณRoFครับ
ตอบลบI believe and have only these items.For me ,I don't need to know all species.I 'm not expert.Some species I don't know.
ตอบลบBest regards.
Chirachai Nonpayom.
1) Fishes of Laos.
2) Fishes of the Nam Theun and Xe Bangfai basins, Laos, with diagnoses of twenty-two new species
3)Freshwater fishes of Western Indonesia and Sulawesi.
4)The freshwater fishes of western Borneo
5)The Indo-Pacific tigerperches, with a new species from the Mekong basin
คุณRoF ครับ ผมสังสัยว่า แค่เราเลี้ยง 10-15 ปี ก็รู้ เลยหรอครับ ว่ามันเป็น เสือตอเขมร เป็นเสือตอ อินโด คุณสามารถ ระบุ ที่เกิดของปลาตัวนั้น ด้วยการ เลี้ยงปลาตัวนั้น ให้ได้ 10-15 ปีหรอครับ ผมขอฝากคำถามตรงนี้ไว้ด้วยครับ ขอบคุณครับ
ตอบลบได้ความรู้มากๆเลยครับ สวยจังเลย
ตอบลบขอบคุณ คุณFiyero ครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน เครดิตข้อมูลดีๆก็มาจากพี่ๆด้านบนแหละครับ ส่วนตัวผมแค่ชอบครับ อิอิ
ตอบลบชอบเสือตอเหมือนกันครับ ติดตรงที่ต้องให้ทานของสดนี่สิ แย่เลย ดูของคนอื่นไปพลางๆก่อนแล้วกัน 555+
ตอบลบเหมือนกันเลยครับ 555+
ตอบลบรูปถ่ายเองหรือ ไป coppy เขามาระวังนะครับ
ตอบลบถ้า coppy มาแล้วไม่ได้ขออนุญาต ระวังดดน
ปรับนะครับ ผมเตือนคุรแล้วนะ
รูปไหนครับผม ช่วยบอกด้วยจะได้ลบออก ที่มาของข้อมูลผมก็ลงบอกไว้แล้ว เอามาลงผมก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรนะครับ ก็เห็นว่าเป็นข้อมูลที่ดีที่คนที่ชอบปลาเหล่านี้น่าจะรู้ ถ้ามันทำให้คุณไม่สบายใจก็ขออภัย ยังไงก็ช่วยบอกด้วยว่ารูปไหนครับ ขอบคุณครับ
ตอบลบ