16 ธันวาคม 2551

ปลากือเลาะห์หรือปลาพลวงชมพู



ปลากือเลาะห์หรือปลาพลวงชมพู

เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tor douronensis (Cuv & Val) (Smith.1945) อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Cyprinini มีรูปร่างคล้ายปลาเวียนซึ่ง เป็นปลาในวงศ์ย่อยเดียวกัน (Subfamily) แต่ลำตัวเพรียวและเป็นทรงกระบอกมากกว่า ส่วนหัวค่อนข้างมน ริมฝีปากหนา ปากกว้างเล็กน้อย ใต้คางมีติ่งเนื้อสั้น ๆ มีหนวด 2 คู่เห้นชัดเจน ตาอยุ่ค่อนไปทางด้านบนหัว เกล็ดมีขนาดใหญ่ ครีบหลังมีก้านแข็ง 1 อัน ครีบหางเว้าลึก ครีบก้นสั้น ลำตัวด้านบนมีสีคล้ำอมน้ำตาล ด้านข้างลำตัวสีเงินเหลือบชมพูหรือทอง ครีบสีคล้ำ ด้านท้องสีขาว มีขนาดความยาวประมาณ 25 ซ.ม. ใหญ่สุดที่พบ 35 ซ.ม.



ในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่แม่น้ำตาปีไปจนถึงมาเลเซีย โดยอาศัยอยู่ในลำธารหรือแม่น้ำที่มีฝั่งเป็นป่าร่มครึ้มรวมถึงบริเวณน้ำตก เป็นปลาที่พบค่อนข้างบ่อย มีรสชาติดี เป็นที่ขึ้นชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน จังหวัดยะลา มีราคาสูง มีชื่อเรียกเป็นภาษายาวีว่า " กือเลาะห์ " หรือ " กือเลาะห์แมเลาะห์ " เป็นต้น


  • ปลากือเลาะห์ หรือ ปลาพลวงชมพู
เป็นปลาที่อยู่ ในตระกูลเดียวกับปลาเวียนและปลาพลวงหิน ในท้องถิ่นภาคใต้ตอนล่างจะเรียกปลา ชนิดนี้ว่า อีแกกือเลาะห์ เนื้อมีรสชาติดี ในปลาขนาดใหญ่สามารถรับประทานได้ทั้งเกล็ด มีแหล่งอาศัยอยู่บริเวณแหล่งน้ำ ไหลต้นแม่น้ำ โดยเฉพาะบริเวณต้นน้ำอ่างเก็บ น้ำเขื่อนบางลาง จ.ยะลา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พบปลาชนิดนี้อยู่มาก แต่การรวบ รวมยังไม่สามารถทำได้สะดวก เนื่องเพราะพื้นที่ดังกล่าวจำเป็นต้องเดินทางด้วยเท้าในป่า ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยจากการก่อการร้าย


สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดยะลา ได้ทำการรวบรวมปลาชนิดนี้ไว้จำนวนหนึ่งเพื่อทำการศึกษาชีววิทยาและเพาะขยายพันธุ์


ลักษณะทั่วไปของปลากือเลาะห์ มีลำตัวเรียวยาว แบนข้างเล็กน้อย ปลายจมูก(snout)เป็นโหนก ปากอยู่ด้านล่างรูปเกือกม้า ขากรรไกรบนแข็งแรงและยืดหดได้ ริมฝีปากหนาติดต่อกันทั้งบนและล่าง ที่ริมฝีปากล่างอาจเจริญขึ้นเป็นพูตรงกลาง(Medianlobe) มีหนวด 2 คู่ อยู่เหนือขากรรไกรบน 1 คู่ และที่ริมฝีปากบนก่อนถึงมุมปาก 1คู่ มีเกล็ดที่เส้นข้างลำตัว 21-28 เกล็ด ไม่มีร่องรับความรู้สึกที่หัว มีฟันที่หลอดคอ (Pharyngeal teeth)


ฐานครีบหลังจะเริ่มตรงกับเกล็ดที่ 6-7 บนเส้นข้างลำตัว ก้านครีบหลังที่ 3 ในส่วนที่เป็นกระดูกค่อนข้างแข็ง ครีบก้นตัด(truncate) มีขนาดเล็กกว่าครีบหลัง ครีบหางเป็นง่าม เว้าลึกแหลม ที่รอบคอดหางมีเกล็ด 12 เกล็ด เกล็ดใหญ่สีเงิน ที่ฐานเกล็ดดำและที่ขอบเกล็ดค่อนข้างดำ เกล็ดบริเวณหลังสีเข้มกว่าบริเวณท้อง ที่ครีบจะมีสีแดงส้มปนดำเล็กน้อย



และยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย

+++++++++++++++++++++++++
  • ปลากือเลาะห์ที่แม่น้ำสายบุรี



แม่น้ำสายบุรี
มีต้นน้ำอยู่ในเทือกเขา สันกาลาคีรีระหว่าง เขาคุลากาโอ กับเขาตาโบ้
ในอำเภอสุคีริน จังหวัดนราธิวาส ไหลขึ้นไปทางเหนือ ผ่านอำเภอศรีสาคร
อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส แล้วไหลผ่าน เข้าไปในเขต อำเภอรามัน
จังหวัดยะลา จนกระทั่งออกสู่ทะเล ที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี มีความ
ยาวตลอดลำน้ำ ประมาณ 186 กิโลเมตร และมีความยาว รวมกับลำน้ำสาขา
1,412 กิโลเมตร ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายปี 2,840 ล้านลูกบาศก์เมตร
การใช้ประโยชน์ลำน้ำ โดยส่วนใหญ่ ใช้สำหรับการเกษตร มีเพียงส่วน
น้อยเท่านั้น ที่ใช้ในการ อุตสาหกรรม เช่น บริเวณสุขาภิบาลศรีสาคร



ปลากือเลาะห์เป็นปลาน้ำจืดที่ผู้คนแถว 3 จังหวัดภาคใต้ขนานนามว่าเป็น ราชาแห่งท้องน้ำสายบุรี นับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันก็ยังมิมีปลาชนิดใดมาลบล้างตำแหน่งนี้ไปได้ ปลากือเลาะห์หรือปลาพลวงชมพู(น่าจะเรียกว่าเวียนชมพูมากกว่าเพราะมันจัดอยู่ในกลุ่มปลาเวียน 55+) เป็นปลาที่มีความสง่าสวยงามแถมยังรสชาติถูกลิ้นอีก ปัจจุบัน(2551)ราคาตกที่ กก. 300-400 บาท ขึ้นมาจากปี 2549 ที่ กก. 200-300 บาท และคงจะแพงขึ้นเรื่อยๆเพราะปลาหายากขึ้นทุกที
ปลากือเลาะห์เป็นปลาดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำสายบุรี กระจายไปทั่วทั้ง3 จังหวัดที่แม่น้ำสายบุรีตัดผ่าน ตั้งแต่ อ.สุคิริน มายัง อ.จะแนะ และ อ.ศรีสาคร ไปจนถึงปากน้ำสายบุรี จ.ปัตตานี ซึ่งปลากือเลาะห์ที่พบแถบนี้มีอยู่ 2 ชนิดที่ชาวบ้านเรียกกัน


  • 1.) ปลากือเลาะห์ดอกดาหลา

หรือที่ชาวบ้านเรียก อีแกกือเลาะห์บูงอฆาแต(พลวงชมพู) ลักษณะทั่วไปของชนิดนี้จะคล้ายกับปลาพลวงทั่วไป แต่มีทีเห็นความแตกต่างได้ชัดก็คือ ปากบนจะยื่นยาวออกเรียวๆ และปากด้านบนนี้จะยาวกว่าด้านล่าง โดยจะมีหนวดอยู่ 4 เส้น มุมปากด้านบนข้างละหนึ่งเส้น และมุมปากด้านล่างข้างละหนึ่งเส้น ปลากือเลาะห์เป็นปลาที่มีเกล็ดค่อนข้างใหญ่ สีของลำตัวและเกร็ดจะเป็นสีชมพูเหมือนดอกดาหลา ส่วนหางและครีบจะเป็นสีแดงอ่อน เวลาปลากือเลาะห์ชนิดนี้อยู่ในน้ำจะเห็นสีสรรค์ชัดเจน



สีสรรค์ของปลากือเลาะห์คล้ายๆดอกดาหลา

+++++++++++++++++++++++++



2.) ปลากือเลาะทราย
หรือที่ชาวบ้านเรียกตามภาษาพื้นเมืองว่า อีแกกือเลาะห์ปาเซ ลักษณะทั่วไปคล้ายปลากือเลาะห์ดอกดาหลาแต่ที่แตกต่างก็คือส่วนลำตัวและเกร็ดจะมีสีโทนขาว

+++++++++++++++++++++++++


  • ถิ่นอาศัยของปลากือเลาะห์
เป็นปลาที่พบมากในประเทศมาเลเ้ซียที่มีรอยเชื่อมต่อประเทศไทย พบอาศัยในแมน้ำสายบุรีและสายน้ำต่างๆที่เชื่อมต่อแม่น้ำสายบุรี ขนาดของปลากือเลาะห์สถิติเคยพบมีน้ำหนักประมาณ 15-20 ก.ก. แต่ปัจจุบันจะเฉลี่ยอยู่ที่ 2-10 ก.ก. อาหารของปลาชนิดนี้ก็จะเป็นพวก พืช แมลงและสัตว์เล็ก เช่น ลูกปลา ลูกไม้ต่าง และที่นักตกปลาใช้ก็คือ ไส้เดือน ตั๊กแตน ปลากือเลาะห์เป็นปลาที่มีรสชาติดี มีความหวาน นุ่ม ภายในเนื้อปลา สามารถทำกับข้าวหลายอย่าง แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่นิยมต้มตะไคร้ ส่วนน้อยมากที่จะทำอย่างอื่น เพราะการต้มตะไคร้จะทำให้รู้ถึงรสชาติของเนื้อปลาอย่างแท้จริง ปลากือเลาะห์เป็นปลาที่กินได้แม้กระทั่งเกร็ดเหมือนปลากระโห้ บางคนจะต้มเกล็ดพร้อมเนื้อปลา รสชาติของเกล็ดเวลาเคี้ยวจะกรุ้บๆเหมือนกระดูกอ่อนไ่ก่ หรือบางคนก็จะนำเกล็ดมาทอดทำเป็นข้าวเกรียบก็อร่อยอีกแบบครับ



ปัจจุบันปลากือเลาะห์ขนาดเล็กได้เข้าไปอยู่ในตลาดปลาตู้และมีราคาค่อนข้างสูง เพราะสีสันของมันมีความสวยงาม เวลากระทบแสงไฟก็จะมีประกายแวววาว ในช่วงเดือน พ.ย. ถึง ธ.ค. จะเป็นช่วงฤดูฝนระดับน้ำในแม่น้ำสายบุรีจะเอ่อสูงจนล้นตลิ่งน้ำก็จะเปลี่ยนเป็นสีแดงขุ่น เหล่าบรรดาปลากือเลาะห์จะรวมฝูงว่ายทวนน้ำเพื่อหาอาหาร โดยส่วนใหญ่จะมาหาอาหารในบริเวณรอยเชื่อมของน้ำ2สายที่มาบรรจบกันระหว่างคลองสายเล็กเชื่อมกับแม่น้ำสายบุรี ช่วงนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่นักตกปลากือเลาะห์เฝ้ารอ ข้อมูลอาจจะยังไม่สมบูรณ์นะครับใครมีข้อมูลดีๆก็ช่วยชี้แนะด้วยครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.ขอบคุณที่แวะเข้ามาครับ

เชิญแวะที่:
thainitaห้นย

จ้าวน้อยฟิชชิ่ง ตกปลาฮาเฮ เร่ไปเพราะใจสั่งมา © 2009. Powered by  MyPagerank.Net