14 กุมภาพันธ์ 2552

ซัคเกอร์อสูรร้ายแห่งคุ้งน้ำ(Alien species)


  • ชื่ออังกฤษ Suckermouth Catfishes
  • ชื่อไทย ปลาซัคเกอร์ ปลาเทศบาล ปลากดเกราะ ปลาดูดกระจก ปลากดควาย
ประวัติถิ่นที่อยู่อาศัย ปลาซัคเกอร์ มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศบราซิล ถูกสั่งนำเข้ามาเพื่อประโยชน์ในการทำความสะอาดตู้ปลาและอ่างปลาทั่วไป



รูปร่างลักษณะ ปลาซัคเกอร์ ตามความเป็นจริงแล้วเป็นปลาที่ไม่มีความสวยงามเลย กลับน่าเกลียดด้วยซ้ำ แต่บางชนิดก็มีสีสันสวยงาม เป็นปลาจำพวกเดียวกับปลาดุก ปลาแขยง ปลากด มีลำตัวเป็นสีดำ ส่วนหัวค่อนข้างใหญ่ ปากจะคว่ำลง มีกล้ามเนื้อหนาสำหรับเกาะดูดเก็บกินอาหาร เนื่องจากปลาซัคเกอร์เป็นปลาที่มีความอดทนสูง สามารถอาศัยในแหล่งน้ำได้ทุกรูปแบบและกินอาหารได้เกือบทุกชนิด อีกทั้งยังสามารถวางไข่สืบพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติ จึงทำให้มีการเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ซึ่งการเพิ่มจำนวนของมันจะส่งผลกระทบต่อพันธุ์ปลาพื้นเมืองของไทยที่มีอยู่ ตามธรรมชาติ เพราะมันจะกินไข่ปลา หรือกินแม้กระทั่งลูกปลาวัยอ่อน


ปลาซัคเกอร์จัดอยู่ในกลุ่มปลาเเคทฟิชที่มีการพัฒนาผิวหนังจนกลายเป็นเกราะ หลายชนิดมีลักษณะเป็นหนาม ปากปลามีลักษณะยืดหยุ่นใช้ในการหาอาหารเเละยึดเกาะมี ฟันเล็กๆอยู่ในปากใช้ยืดเเละขูดตะไคร่มากิน



ปลาซัคเกอร์ แคชฟิช หรือ ปลากดเกราะ ถูก นำเข้ามาในประเทศเพื่อเลี้ยงตามตู้ปลาสวยงามเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว แต่พอสักพักก็พบว่าตัวใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และมีรูปร่างน่ากลัว คนเลี้ยงจึงเริ่มนำมาปล่อยทิ้งตามแหล่งน้ำสาธารณะ เมื่อแพร่ขยายจำนวนมากขึ้น ก็ทำอันตรายต่อระบบนิเวศทางน้ำจืดอย่างมาก



ที่เห็นได้ชัดคือการทำลายไข่ปลาท้องถิ่นของไทย เพราะ ปลาซัคเกอร์ จะหากินซากพืชซากสัตว์ตามพื้นน้ำ ซึ่งปลาน้ำจืดมักวางไข่ติดตามรากไม้หรือก้อนหิน เมื่อ ซัคเกอร์ มีจำนวนมากขึ้นก็ไปกินไข่ปลาพวกนี้จนแทบไม่เหลือ หากปล่อยไว้โดยไม่หาวิธีป้องกันจะทำให้ปลาท้องถิ่นเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ได้



นอกจากนี้ ปลาซัคเกอร์ ยังแพร่ขยายพันธุ์ได้ง่าย มีลูกครั้งละหลายร้อยตัว โดยใช้วิธีขุดโพรงดินวางไข่ และเฝ้าระวังให้ลูกฟักออกมาอย่างอดทน



ตอนนี้พบว่าซัคเกอร์ในแหล่งน้ำจืดประมาณ 3-4 สายพันธุ์ พบที่ภาคกลางมากที่สุด โดยเฉพาะแถวสุพรรณบุรี กลุ่มนักวิชาการและนักวิจัยของกรมประมงกำลังคิดหาวิธีการนำซัคเกอร์มาทำ ประโยชน์ ซึ่งมีการเสนอมาหลายแนวทาง เช่น การนำไปตากแห้งทำปลาป่น หรืออาจนำไปทำปุ๋ยชีวภาพ หรือที่เรียกว่าปุ๋ยหมัก หรือแม้กระทั่งเสนอให้เป็นอาหารจระเข้



ปัญหาปลาซัคเกอร์แพร่ระบาด ในแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วทุกภาคของประเทศไทย สาเหตุจากผู้เลี้ยงจงใจนำไปปล่อย และถูกอุปโลกน์ให้เป็น “ปลาราหู” สัตว์นำบุญที่ปล่อยเพื่อแก้เคราะห์สะเดาะกรรม ด้วยอัตราการขยายพันธุ์ปลาซัคเกอร์ 1 คู่จะเพิ่มปริมาณได้ถึงปีละ 8,000 ตัว ทำให้น่าวิตกว่า ปลาซัคเกอร์ อาจเป็นสาเหตุให้ปลาสายพันธุ์ไทยและปลาเศรษฐกิจลดจำนวนลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและห่วงโซ่อาหาร



สำหรับนักตกปลาอย่างเราจะมีส่วนร่วมในการแก้ไขนี้อย่างไร? ปลาชนิดนี้มีศัตรูในธรรมชาติมั้ย ถ้าเป็นปลาในธรรมชาติสงสัยจะกินมันยากเนื่องจากเกราะที่มีความแข็งของมัน อาจจะมาตอดนิดๆแล้วสบถว่า" ถุย! ขี้เหร่แล้วยังบ่แซบอีก" ที่เห็นจะกินตัวนี้คงจะเป็นพวกตัวเงินตัวทอง ที่พอจะเห็นว่ามันคาบปลาพวกนี้ไปกิน



สำหรับนักตกปลาที่คิดจะตกปลาตัวนี้แล้วปล่อย(ถึงปล่อยก็ไม่เป็นไรสิทธิ์ของท่านครับ) ลองอ่านบทความนี้ดูครับ " มันมีเกล็ดแข็งๆ ที่ทำให้ปลาล่าเหยื่อไม่กิน มันขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว มันปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศและน้ำในเมืองไทยได้ดี มันกำลังเติบโต แพร่ขยายพันธุ์ไปทั่วทุกแหล่งน้ำของไทย มันกำลังแย่งแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาพื้นเมือง แล้วก็ใช่ว่าแหล่งที่อยู่อาศัยน้ำสะอาดๆ ที่ปลาอยู่ได้ในเมืองไทยจะเหลือเยอะแยะ คุณลองคิดดู ถ้าคุณเป็นปลาอีมูดปลาไทยขนานแท้ อาศัยอยู่ที่เขื่อนเขาแหลมมาตั้งแต่อ้อนแต่ออก คุณมีอาณาเขตใต้แพหลังนึงเป็นของตัวเอง ทุกวันคุณก็แทะเล็มกินตะไคร่ไปเรื่อยๆ มีสาวอีมูดผ่านมาคุณก็ออกมาป้อ มีปลาใหญ่มาคุณก็หลบไปอยู่ในล่องไม้ไผ่ใต้แพ ชีวิตคุณเรียบง่ายมีความสุข นานๆ ทีก็จะมีอีมูดหนุ่มผลัดถิ่นมาในเขตของคุณ คุณก็ใช้ความชำนาญแหล่ง ขับไล่อีมูดตัวนั้นออกไป แล้ววันนึงก็มีปลาอะไรก็ไม่รู้ เกล็ดแข็งๆ หน้าด้านๆ ไล่ก็ไม่ไป มาอยู่ด้วย มาแย่งตะไคร่กิน มาแย่งที่อยู่อาศัย แล้วตัวมันก็โตเอาโตเอา ร่องไม้ที่คุณเคยอาศัยหลบภัยจากปลาใหญ่ ก็โดนแย่งไปด้วย ปลาชะโด ปลากระสูบว่ายไปว่ายมาก็คอยจะมากิน ส่วนเจ้าซัคเกอร์นอกจากจะไปแย่งที่หลบภัยแย่งอาหารแล้ว ตัวมันเองพอออกมาหาอาหารบ้าง ปลาอื่นก็งับๆ ดู แล้วก็ปล่อยเพราะว่าแข็งเกินไป พอถึงหน้าผสมพันธุ์คุณไปจีบสาวอีมูดมาได้ ที่ๆ คุณเคยใช้ผสมพันธุ์วางไข่ก็โดนปลาซัคเกอร์แย่งไป คุณต้องให้สาวเจ้าไปวางไข่ในที่ๆ อันตรายกว่าเดิม แถมไอ้ซัคเกอร์ยังตามมากินไข่บางส่วนของคุณไปอีก คุณเจ็บช้ำน้ำใจ ลูกออกมาก็ต้องมาแย่งอาหารกับลูกปลาซัคเกอร์ โอ้ย ในที่สุดลูกคุณก็ได้รับอาหารไม่เพียงพอ บ้างก็ตายไป บ้างก็ไร้ที่หลบภัย โดนปลาใหญ่จับไปกิน คุณช้ำใจโซซัดโซเซออกมาจากใต้แพ แล้วคนก็จับคุณไปกิน คนจับซัคเกอร์ได้ ก็โยนกลับลงน้ำเพราะเกล็ดมันแข็งหน้าตาน่าเกลียด เป็นหยั่งงี้ไปเรื่อยๆ นับวันซัคเกอร์ก็มากขึ้นทุกที ... "(บทความจาก"ปลาต่างด้าวกับอวสานปลาไทย")

อาหารรสแซบจากเนื้อปลาซัคเกอร์
เมนู1
เมนู2

17 ความคิดเห็น:

  1. 1)พิเทียรี่กอลิคทิส ดิสจังติวัส.
    2)"--------" พาดาริส.
    3)ไฮบริด ของสองชนิดนี้

    ตอบลบ
  2. ขอเนื้อหา ไปส่งเมลย์ให้เพื่อนๆ นะครับ
    คงไม่ว่า เป็นห่วงปลาไทยครับ

    ตอบลบ
  3. ยินดีครับ ถ้ามีประโยชน์กับส่วนรวมผมก็ดีใจครับ ช่วยๆกันเพื่อปลาไทยของเรา ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  4. ชื่อวิทย์ที่เขียน 3 ตัวบนถูกต้องแล้วน่ะครับ ส่วนใครบอกอย่างไร ผมไม่สน ใช้ชื่ออันนี้แหละครับน้า เพราะ PDF file อ่านแล้วชัวร์ครับ.

    ตอบลบ
  5. " Loricariidae, or suckermouth armored catfishes, possess upper and lower jaws that are ventrally oriented and that bear teeth that touch the substrate from which algae and other food items are scraped. The ventral orientation and the highly specialized morphology of the jaws, characterized by protrusible upper jaws and left‐right decoupled lower jaws, are observed in Pterygoplichthys disjunctivus, the species investigated here. Kinematic data of the scraping feeding movements, obtained by external high‐speed and x‐ray recordings, are used to quantify jaw movement, especially to test for upper jaw mobility and versatility during substrate scraping. Our results show that the mobility of the jaws is indeed high compared with what is standard for catfishes. The upper jaw's ability to perform a substantial degree of rostrocaudal movement is quite unique for catfishes. The ventromedially oriented lower jaws, with the teeth and the coronoid process at opposite sides, display an extensive mobility: they rotate around the suspensorial articulation and around their longitudinal axis, resulting in an extended scraping movement and thereby covering a large surface area. The lower jaws also show a left‐right asymmetry in their movements during scraping. Thus, our results suggest that the extreme morphological specializations of the jaws in loricariid catfishes are linked to an increased mobility and functional versatility, allowing these animals to efficiently scrape algae from substrates with irregular surfaces."

    เขียนโดย "Adriaens D, Geerinckx T, Vlassenbroeck J, Van Hoorebeke L. 2009. Extensive Jaw Mobility in Suckermouth Armored Catfishes (Loricariidae): A Morphological and Kinematic Analysis of Substrate Scraping Mode of Feeding. Physiological and Biochemical Zoology 82(1):51–62. 2009. DOI: 10.1086/594378"

    ตอบลบ
  6. ขอบคุณครับน้าจิรชัยครับ

    ตอบลบ
  7. จับได้ต้องทำลายค่ะ สารพัดวิธี ทำน้ำปุ๋ย ปุ่ยหมัก ก็ได้ ทำปลาป่่นส่งออกก็ได้
    วิธีกำจัดแบบรวดเร็วคือ ราชการต้องลงมือจริงจัง ให้ความรู้ ควบคู่ไปกับการกำจัด เช่น ต้้งรางวัลนำจับ ตัวละเท่าไรก็ว่าไป เหมือนหนูนาระบาดค่ะ เห็นข่าว ตั้งรางวัลทีไร ทำลายได้จำนวนมากๆทุกที

    ตอบลบ
  8. อยู่ไหนก็เจอมัน21 พฤศจิกายน 2552 เวลา 09:27

    เห็นด้วยกับ คห.บนครับ จะให้ตาสีตาสามานั่งจับฆ่าอยู่ฝ่ายเดียวคงไม่ไหว มาให้ความรู้กับประชาชนเอาจริงเอาจังบ้าง อย่ามองเป็นแค่เรื่องเล็ก(ทั้งที่เป็นเรื่องใหญ่นะเนี่ย) และยังเห็นมีการขายตามท่าน้ำวัดต่างๆอยู่เลยครับ แต่เห็นข่าวบางจังหวัดก็กวาดล้างจริงจัง อันนี้ก็ชื่นชม ส่วนอีกหลายๆพื้นที่น่จะลงมือเริ่มทำได้แล้วนะ

    ตอบลบ
  9. ผมเคยเจอเมือนกันไอ้ปลาชนิดนี้ น่ารำคาญมากผมตกปลาได้มันมาเกือบสิบ ยี่สิบ วิธีผมอาจจะโหดร้าย คือ ตกได้ปุ้บจับโยนออกนอกบ่อเลย หรือไม่ก็เอาไปเผาไฟคับให้หนังมันไหม้จากนั้นก็ถลอกหนังมันออก เอาเนื้อไปทอดอีกที ลำแต้ๆคับ

    ตอบลบ
  10. ความรู้สึกเหมือนกันครับ แต่วิธีข้างบนนี่ ฟังแล้วน้ำลายใหลเลย

    ตอบลบ
  11. ไม่ระบุชื่อ23 มกราคม 2553 เวลา 13:26

    ไม่เคยรู้เรื่องมาก่อน ขอบคุณนะสำหรับความรู้ใหม่นี้

    ตอบลบ
  12. ด้วยความยินดีครับ ขอบคุณมากครับ

    ตอบลบ
  13. ไม่ระบุชื่อ31 มกราคม 2553 เวลา 21:37

    ที่บ้านผมมีลำห้วยไหลผ่านที่หน้าบ้านก็เพิ่งทราบว่ามีเหมือนกัน(ระยอง)เคยดูแต่ข่าวว่ามีการระบาด..... ตอนช่วงหน้าฝนคนงานวางข่ายดักปลาปลาอื่นไม่ค่อยติด ติดแต่มันนี่แหละคนงานเลยจัดการซะ 555 เป็นห่วงว่าปลาอื่นอาจลดน้อยเหมือนกันครับ เฮ้อ....เบื่อพวกชอบเลี้ยงแต่ไม่เคยรับผิดชอบ พอเบื่อก็ปล่อยลงแหล่งน้ำสาธารณะ..... Biot_11

    ตอบลบ
  14. ครับมันกระจายทั่วแล้วครับตอนนี้ แม่น้ำโขงก็เจอละแถมเจอในแม่น้ำสาขาแยกย่อยอีก ปลาที่เคยคุ้นมาตั้งแต่เด็กก็ค่อยๆสูญหายไป แถมเจอก็ไซส์เป้งๆทั้งนั้น เฮ้อทำไงกันดีน้า

    ตอบลบ
  15. ไม่ระบุชื่อ31 พฤษภาคม 2553 เวลา 11:51

    ทำไม่มันถึงกินได้เเละกินส่วนไหนของมัน

    ตอบลบ
  16. กินเนื้อครับ โดยการเผาแล้วลอกหนัง เอาเนื้อมาทำเช่นลาบ ผัดกระเพรา หรือ ทอดชุบแป้งทอด เนื้อมันก็ใช้ได้ครับถ้าไม่คิดถึงหน้าตามันตอนกิน(อาจจะกินไม่ลง)

    ตอบลบ
  17. ไอสาดด กุเกลียดเมิืงงง สงสารอีมูดTT

    ตอบลบ

.ขอบคุณที่แวะเข้ามาครับ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

เชิญแวะที่:
thainitaห้นย

จ้าวน้อยฟิชชิ่ง ตกปลาฮาเฮ เร่ไปเพราะใจสั่งมา © 2009. Powered by  MyPagerank.Net