05 สิงหาคม 2551

ปลานิล กับ ปลาหมอเทศ


1. ปลานิล กับ ปลาหมอเทศ



  • ปลานิล
  • เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Nile tilapia ชื่อวิทยาศาสตร์ Oreochromis niloticus (ชื่อเดิมคือ Tilapia nilotica) เป็นปลาเศรษฐกิจ แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี
  • ถิ่นกำเนิด ปลานิลสามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่ทวีปแอฟริกาพบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบในประเทศซูดาน ยูกันดา แทนแกนยิกา ปลานิลเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นได้ทรงโปรดเกล้า ให้ทดลองเลี้ยงปลาธุ์จิตรลดา" ซึ่งยังคงเป็นปลานิลสายพันธุ์แท้ที่ปนิลในบ่อสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์
  • ผลการทดลอง ปรากฏว่าปลานิลที่ทรงโปรดเกล้าให้ทดลองเลี้ยงได้เจริญเติบโต และแพร่ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ต่อมาจึงได้พระราชทานชื่อว่า “ปลานิล” (โดยมีที่มาจากชื่อแม่น้ำไนล์ (Nile) ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิม หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Tilapia nilotica) และพระราชทานพันธุ์ปลาดังกล่าวให้กับกรมประมงจำนวนหนึ่ง เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 เพื่อนำไปขยายพันธุ์ และแจกจ่ายแก่พสกนิกร และปล่อยลงไว้ตามแหล่งน้ำต่างๆตามที่เห็นว่าเหมาะสม เนื่องจากปลานิลมีคุณลักษณะพิเศษหลายข้อ เช่น กินอาหารได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์น้ำเล็กๆ มีขนาดลำตัวใหญ่ ความยาวประมาณ 10–30 เซนติเมตร แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี
  • ใน ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงโปรดเกล้าให้ทดลองเลี้ยง และแพร่ขยายพันธุ์ปลานิลในบ่อสวนจิตรลดา ต่อไป ในทางวิชาการเรียกสายพันธุปลานิลดังกล่าวว่า "ปลานิลสายพันระเทศไทยได้รับทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ
  • ลักษณะทั่วไป เป็นรูปร่างคล้ายปลาหมอเทศ แตกกันที่ปลานิลมีลายสีดำและจุดสีขาวสลับกันไป บริเวณครีบหลัง ครีบก้นและลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล มีลายดำพาดขวางตามลำตัว มีความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร
  • อาหาร ปลานิลกินอาหารได้หลากหลาย เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลง

  • การสืบพันธุ์
ปลานิลสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี โดยใช้เวลา 2-3 เดือน/ครั้ง แต่ถ้าอาหารเพียงพอและเหมาะสม ในระยะเวลา 1 ปี จะผสมพันธุ์ได้ 5-6 ครั้ง โดยตัวผู้จะใช้บริเวณหน้าผากดุนที่ใต้ท้องของตัวเมีย เพื่อเป็นการกระตุ้นและเร่งเร้าให้ตัวเมียวางไข่ ปลาตัวเมียจะวางไข่ออกมาครั้งละ 10 หรือ 12 ฟอง ในขณะเดียวกันปลาตัวผู้ก็จะว่ายคลอคู่เคียงกันไป พร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่นั้น ทำอยู่เช่นนี้จนกว่าการผสมพันธุ์จะแล้วเสร็จ ไข่ที่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อแล้วปลาตัวเมียจะเก็บไว้ฟัก โดยวิธีอมไข่เข้าไว้ในปาก แล้วว่ายออกจากรังไปยังบริเวณก้นบ่อที่ลึกกว่า ส่วนตัวผู้ก็จะคอยหาโอกาสเวียนว่ายไปเคล้าเคลียกับตัวเมียอื่น ๆ ต่อไป


แม่ปลานิลจะอมไข่ไว้ในปากเป็นเวลา 4-5 วัน ไข่จะเริ่มฟักออกเป็นตัว ลูกปลาที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ ๆ จะอาศัยอาหารจากถุงอาหารธรรมชาติซึ่งติดอยู่ที่ท้อง ขณะเดียวกันแม่ปลายังคงต้องอมลูกปลาอยู่ต่อไป จนกระทั่งถุงอาหารธรรมชาติของลูกปลายุบหายไป หลังจากฟักออกเป็นตัวแล้วประมาณ 3-4 วัน แม่ปลาก็จะคายลูกปลาให้ว่ายออกมาจากปาก ลูกปลาในระยะนี้สามารถกินอาหารจำพวกพืชและไรน้ำเล็ก ๆ ซึ่งมีอยู่ในน้ำ โดยจะว่ายวนเวียนอยู่ที่บริเวณหัวของแม่ปลา และจะเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในช่องปากเมื่อต้องการหลบหลีกอันตราย โดยลูกปลาจะเข้าทางปากหรือช่องเหงือก หลังจากลูกปลามีอายุ 1 สัปดาห์ จึงจะเลิกหลบเข้าไปซ่อนในช่องปากของแม่ แต่แม่ปลาก็ยังคอยระวังศัตรูให้ โดยว่ายวนเวียนอยู่ใกล้บริเวณที่ลูกปลาหาอาหารกินอยู่ ปลานิลจะรู้จักวิธีหาอาหารกินได้เองเมื่อมีอายุได้ 3 สัปดาห์ และมักจะว่ายกินอาหารรวมกันเป็นฝูง

  • ประโยชน์
ปลานิลนอกจากนำมารับประทานได้แล้ว เนื้อปลานิลมีเอนไซม์ทรานกลูทามิเนส (TGASE) นำมาผลิตเป็นเจลใสใช้สำหรับสลบสัตว์น้ำ

<<<++++++++++++++*+*++++++++++++++>>>


  • ปลาหมอเทศ
มี ชื่อสามัญว่า mozambique mouth breeder หรือบางครั้ง เรียกว่า Java tilapia เป็นปลาในครอบครัว Cichlidae ซึ่งมีปลาอยู่ทั้งหมด ๑๖ ชนิด คนไทยรู้จักปลาหมอเทศเป็นอย่างดีเมื่อ ๓๐ ปีที่แล้ว โดยเรียกชื่อ ตามสกุลว่าปลาตีลาป แต่เนื่องจากมีรูปร่างลักษณะคล้ายปลาหมอ (Anabas testudineus) เลยตั้งชื่อเรียกใหม่ว่าปลาหมอเทศ แต่ปัจจุบัน ไม่ค่อยมีใครพูดถึงกันมากนัก ปลาชนิดนี้สามารถอาศัยอยู่ได้ดี ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีขนาดโตที่สุดที่เคยมี รายงานในประเทศไทย ความยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร


ปลาหมอเทศถูกนำเข้ามาในประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒ โดยท่านอธิบดีกรมประมงในสมัยนั้น (นายบุญ อินทรัมพรรย์) ได้นำพันธุ์ ปลาหมอเทศ จำนวน ๒๕๘ ตัว จากปีนัง ประเทศมาเลเซียมาทดลองเลี้ยงที่ แผนกทดลองและเพาะเลี้ยง บางเขน (ที่ตั้งสถาบันประมงน้ำจืด แห่งชาติในปัจจุบัน) ซึ่งการเลี้ยงครั้งนั้นให้ผลเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง

  • ลักษณะโดยทั่วไป
ปลาหมอเทศ มีรูปร่างคล้ายปลาหมอ ลำตัวสั้นป้อม แบนข้าง ความยาวจากหัวถึงหางเป็น ๒-๓ เท่าของความสูง เกล็ดเล็กและกลม เส้นข้างลำตัวมีรอยแบ่งเป็น ๒ ตอน ๆ แรกมีเกล็ด ตามแนว ๑๘-๒๑ เกล็ด ตอนที่ ๒ มี ๑๐-๑๕ เกล็ด ลำตัวมีสีเขียวปนเทา หรือน้ำตาลอ่อนความ หรือค่อนข้างดำครีบท้องและครีบหูมีสีค่อนข้างดำ ส่วนบนของลำตัวมีแถบสีอ่อนพาดไปตาม ยาวของลำตัว ๙-๑๑ แถบ

  • การแพร่พันธุ์
ปลาหมอเทศ สามารถแพร่พันธุ์ วางไข่ได้รวดเร็ว อายุประมาณ ๓ เดือน หรือ จะมีความยาว ประมาณ ๘ เซนติเมตร ก็วางไข่ได้ ปลาเพศผู้ที่เจริญเต็มวัยจะมีปุ่มหรือหนวดอยู่บนหัวแต่ปลา เพศเมียจะไม่มีลักษณะดังกล่าว แม่ปลาแต่ละตัวสามารถวางไข่ได้ปีละ ๘-๑๑ ครั้ง ในแต่ละครั้ง จะวางไข่ประมาณ ๗๕-๒๕๐ ฟอง ทั้งนี้แม่ปลามีนิสัยชอบวางไข่ในยามเงียบสงัด ตอนเช้ามืด โดยเริ่มจากปลาเพศผู้ขุดหลุมที่ก้นบ่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓๕ เซนติเมตรลึก ประมาณ ๖ เซนติเมตร


หลังจากปลาเพศเมียวางไข่แล้วจะอมไข่ไว้ในปากเพื่อให้ปลาเพศผู้ ปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมกับไข่ในช่องปาก ไข่ที่ผสมกับน้ำเชื้อจะฟักออกเป็นตัวภายในปากของ แม่ปลา ใช้เวลาประมาณ ๓-๕ วัน และแม่ปลาจะดูแลป้องกันภัยโดยการอมลูกไว้อีก ๑๐-๑๕ วันจึงจะปล่อยออกมาภายนอกแต่เมื่อมีภัยอันตรายเกิดขึ้นลูกปลาเหล่านี้ก็จะ ว่ายน้ำหลบเข้าปากแม่ ซึ่งดูแลอยู่ใกล้ ๆ นั่นเอง

<<<++++++++++++++*+*++++++++++++++>>>


2 ความคิดเห็น:

  1. นิลมีแถบประตลอดหาง หมอเทศไม่มี ง่ายแต่ได้ใจความไหมครับน้า. อิ อิ อิ

    ตอบลบ
  2. เยี่ยมเลยครับน้าเซียวลี้ปวยตอ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ

.ขอบคุณที่แวะเข้ามาครับ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

เชิญแวะที่:
thainitaห้นย

จ้าวน้อยฟิชชิ่ง ตกปลาฮาเฮ เร่ไปเพราะใจสั่งมา © 2009. Powered by  MyPagerank.Net