23 ธันวาคม 2551

ปลา



คำว่า"ปลา"ในพจนานุกรมภาษาไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525ได้ให้ความหมายไว้ว่า" เป็นชื่อสัตว์เลือดเย็น มีกระดูกสันหลัง ร่างกายแบ่งเป็นส่วนหัว ลำตัวและหาง ส่วนใหญ่หายใจทางเหงือก มีครีบใช้ช่วยในการเคลื่อนไหว
บางชนิดมีเกล็ด บางชนิดไม่มีเกล็ด รูปร่าง ขนาดและพฤติกรรมแตกต่างกันมากมาย พบทั้งในทะเลและแหล่งน้ำจืด" แต่ในทางชีววิทยาแล้ว ปลาหมายถึง สัตว์มีกระดูกสันหลังที่ต้องดำรงชีวิตอยู่ในน้ำจืด น้ำกร่ย หรือ น้ำเค็ม ปลามีหัวใจสองห้อง
ตำราปัจจุบันหลายเล่มกล่าวว่าปลามีหัวใจสี่ห้องโดยนับรวมโคนัสอาร์เตอริโอซัส(บัลบัสอาร์เตอรริโอซัสในพวกฉลามและกระเบน) และ ไซนัสวีโนซัสซึ่งขยายใหญ่เป็นห้อง ลำตัวปกคลุมด้วยเกล็ดเมือกหรือแผ่นกระดูก ปลาหายใจด้วยเหงือก



แม้ว่าปลาบางชนิดสามารถที่จะดัดแปลงอวัยวะบางส่วนมาทำหน้าที่คล้ายปอด ช่วยแลกเปลี่ยนก็าซจากอากาศ ตัวอย่างได้แก่ปลามีปอด ปลาบางชนิดมีอวัยวะพิเศษเหนือเหงือกเพื่อช่วยแลกเปลี่ยนก็าซ เช่น ปลาหมอ ปลาช่อน และ ปลาดุก ตัวอย่างของปลาที่มีรูปร่างแบบปลาตามคำจำกัดความได้แก่ ปลาตะเพียน ปลาเงิน ปลาทอง ปลาหมอ ปลาช่อน ปลาทู ปลากะตัก ปลาซิว ปลาเข็ม ปลาฉลาม



  • สัตว์น้ำอีกหลายชนิดที่เราเรียกนำหน้าว่าปลาแต่แท้จริงแล้วไม่ใช่ปลา

เช่น ปลาวาฬปลาหมึก ปลาโลมา ปลาดาว ปลาฝา(ตะพาบน้ำ) สัตว์น้ำบางชนิดที่มีรูปร่างไม่คล้ายปลาแต่เป็นปลาอย่างแท้จริง เช่น ปลาไหล ม้าน้ำ ปลาตูหนา ปลาหลด ปลากระเบน เป็นต้น ส่วนมากแล้วปลาจะออกลูกเป็นไข่และมีการผสมพันธุ์ภายนอกร่างกาย( external fertilization) โดยที่ตัวเมียออกไข่ก่อนแล้วตัวผู้จึงจะฉีดน้ำเชื้อ(sperm) เข้าไปผสม แต่ก็ยังมีปลาอีกหลายชนิดที่มีการผสมพันธ์ภายในร่างกาย(internal fertilization ) และออกลูกเป็นตัว เช่น ปลากินยุง ปลาสอด ปลาเข็ม ปลาหางนกยูงเป็นต้น


  • ลักษณะทั่วไปของปลา
ปลาเป็นสัตว์ที่มีความหลากหลายทางด้านรูปร่างและลักษณะ กลวิธีในการสืบพันธุ์ ถิ่นที่อยู่อาศัยพฤติกรรม และวงชีวิต เริ่มต้นตั้งแต่ปลาปากกลม(แลมเพรย์และแฮกฟิช) ซึ่งเป็นปลาที่ไม่มีขากรรไกรและดำรงชีวิตเป็นตัวเบียน(ปรสิต) ปลาโบราณที่มีเกราะหุ้มห่อร่างกาย
ปลาที่มีครีบเป็นพูเนื้อ(lobe-finned fishes) ปลามีปอด ปลาไม่มีเกล็ด ปลาที่มีลำตัวคล้ายงู นักวิชาการบางท่านอ้างว่าถ้าเราต้องการจะศึกษาทางด้านวิวัฒนาการอย่างเดียว เราควรจะหมายถึงปลาที่มีครีบเป็นก้านครีบ (ray-finned fishes)ในกลุ่ม Actinopterygians
เพียงอย่างเดียว

  • ระบบเส้นข้างลำตัว
ปลามีรับความรู้สึกพิเศษต่อการสั่นสะเทือนในน้ำ ความรู้สึกพิเศษนี้ไม่พบในสัตว์เลื้อยคลาน พวกนก และพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อวัยวะที่ทำหน้าที่นี้ได้แก่


ระบบเส้นข้างลำตัว (lateral line system)ที่มีรูเป็นแถวให้น้ำไหลตลอดทาง ด้านข้างของลำตัว
ทำให้ปลาทราบถึงสภาพแวดล้อที่อยู่ใกล้ตัวว่า มีเหยื่อ ศัครูผู้ล่าหรือพวกพ้องเดียวกัน ระบบเส้นข้างลำตัวนี้อาจเปลี่ยนแปลงไปเป็น

ระบบสัมผัสไฟฟ้า (electrical sensory system) ส่งผ่านน้ำซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้าได้ดีที่สุด พวกฉลามจะใช้สัมผัสไฟฟ้านี้สำหรับตรวจจับเหยื่อ
โดยรับความรู้สึกจากกล้ามเนื้อของเหยื่อ ปลาน้ำจืดบางชนิดก็มีความสามารถในการสร้างสนามไฟฟ้าอ่อนๆรอบตัวเพื่อตรวจจับเหยื่อที่ผ่านเข้ามาในสนามพลังของมัน



  • แสงแดดและการรับภาพ
เราอาจไม่คุ้นเคยกับการรับสัมผัสของปลา แต่เราอาจจะคุ้นเคยกับการมองและการรับภาพของปลาหลายชนิด การมองหรือการรับภาพมีความหมายต่อปลามากมายทีเดียว ขีดจำกัดของการรับภาพในปลาก็คือความขุ่น-ใสของน้ำและแสงอาทิตย์ซึ่งจะมีประสิทธิภาพต่อการรับภาพ น้ำจะทำหน้าที่เป็นตัวกรองหรือกระจายแสงที่ส่องผ่านลงมาเมื่อแส่งส่องลงมาตกกระทบกับผิวน้ำ แสงสีแดงจะส่องผ่านลงไปได้น้อยที่สุด เพราะแสงบางส่วนจะสะท้อนกลับไปเมื่อผ่านลงไปในน้ำที่มีชั้นความลึกระดับต่างๆ ในขณะที่แสงสีน้ำเงินจะส่องผ่านลงไปได้ลึกที่สุด ด้วยเหตุดังกล่าวนี้จึงทำให้เราพบปลาที่มีสีแดงสดใสเฉพาะในบริเวณมหาสมุทธระดับลึกเท่านั้น เพราะสีแดงจะทำให้มองเห็นยากในระดับน้ำลึก แต่จะเห็นได้ชัดในระดับน้ำที่ตื้นขึ้นมา

ปลาบางชนิดสร้างอวัยวะเรืองแสง(photophores)ภายในตัว แต่ปลามีหนวด เช่น ปลาดุกที่หากินบริเวณโคลนเลน ซึ่งมีน้ำขุ่นจนแสงส่องผ่านลงไปไม่ได้ กลับไม่รู้สึกเดือดร้อนเพราะปลาดุกสามารถใช้หนวดหลายคู่บริเวณจะงอยปากทำหน้าที่รับความรู้สึกสัมผัสแทน สัมผัสจากหนวดนี้ทำให้ปลาดุกสามารถรับกลิ่นของเหยื่อที่อยู่แหล่งน้ำใกล้เคียงได้

  • การรับเสียง
แม้ว่าจะขัดขวางการเดินทางของแสง แต่น้ำก็เป็นตัวนำเสียงได้ดีทีเดียว ความจริงที่ว่าการเดินทางของเสียงในน้ำมีความเร็วมากกว่าในอากาศถึง 3 เท่า ดังนั้นปลาส่วนใหญ่จะมีอวัยวะรับเสียงที่ดี แม้ว่าปลาจะไม่มีใบหูช่วยรับเสียงให้เห็นอย่างเช่นมนุษย์ เนื่องจากใบหูไม่มีความจำเป็นสำหรับปลา เพราะลำตัวปลาสัมผัสกับน้ำโดยตรง และน้ำก็เป็นตัวนำเสียงมากระทบกับหูได้โดยง่าย ปลามีเพียงหูชั้นกลางและหูชั้นใน หูชั้นกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่าหรือน้อยกว่าน้ำ จะทำหน้าที่รับคลื่นเสียงที่ผ่านเข้ามา แล้วส่งผ่านคลื่นเสียงนี้ต่อไปยังหูชั้นในโดยมีการกระทำร่วมกับถุงลมที่บรรจุก๊าซ หรือ โอโตลิธ (otolith) อยู่ภายใน

ปลาส่วนมากผลิตเสียงเพื่อใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างพวกพ้องของตนเองโดยเฉพาะในช่วงผสมพันธุ์ ตัวอย่างเช่นเสียงเพลงเรียกคู่ของปลาคางคก(toad fish)อาจมีระดับคลื่นเสียงที่วัดได้ถึงเกือบ 100 เดซิเบล แต่มนุษย์เราก็ไม่ค่อยได้ยินเสียงของปลา ทั้งนี้เพราะคลื่นเสียงผ่านขึ้นมาเหนือน้ำได้ยากนั่นเอง

  • น้ำกับการหาอาหารของปลา
น้ำจะถ่ายทอดคลื่นเสียงได้ดีเพราะน้ำไม่มีความกดสูง คูรสมบัติข้อนี้เป็นผลดีต่อการหาอาหารของปลา ปลาสามารถขยายปากได้กว้างเพื่อบังคับให้น้ำไหลเข้าไปในปากให้มากคล้ายกับการดูดน้ำผ่านหลอดกาแฟ ซึ่งยากต่อการที่เหยื่อที่ผ่านมากับน้ำจะหลุดรอดจากการถูกดูดกลืนไปได้โดยง่าย


ปลาที่ล่าแมลงหรือสัตว์น้ำตัวเล็กๆเป็นอาหารจะใช้วิธีดูดกลืนเหยื่อแบบนี้ น้ำที่ผ่านเข้าไปจะถูกกักกันมิให้ออกมาตามน้ำโดยซี่เหงือกหรือซี่กรอง(gill raK-ers)ที่มีลักษณะยาวยื่นออกมาจากกระดูกเหงือก นอกจากนี้การขยายปากจะช่วยเพิ่มปริมาตรก๊าซในการหายใจ

  • การแลกปลี่ยนก๊าซ
เหงือกปลาทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนในน้ำ ปกติในน้ำปริมาตร 1 ลิตร จะมีออกซิเจนละลายน้ำอยู่น้อยกว่า 8 มิลลิกรัม แต่ในอากาศจะมีออกซิเจนมากถึง 210 มิลลิลิตร/อากาศ 1 ลิตร ปริมาตรความจุออกซิเจนในน้ำจะลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ในขณะที่ปลาต้องการออกซิเจนมากขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น การเน่าสลายของสารอินทรีย์ตามธรรมชาติหรือสารอินทรีย์ที่มนุษย์สร้างขึ้นล้วนแต่เป็นการเ่ร่งให้มีการใช้ออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น ปลาจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากออกซิเจนที่ลดลงหรือถูกใช้จนหมดไป แม้ว่าเหงือกจะมีความสามารถในการดึงออกซิเจนในน้ำได้จนเกือบหมดโดยขึ้นกับพื้นที่ผิวของซี่เหงือก และปริมานของเส้นเลือดฝอยที่มารับออกซิเจนบริเวณเหงือก


เหงือกของปลาสามารถกำจัดก๊าซที่เป็นของเสียสำหรับปลา เช่นก๊าซคาร์บอบไดออกไซด์ แอมโมเนีย และความร้อนในเวลาเดียวกับที่ปลารับออกซิเจนจากน้ำ ซึ่งก็อาจทำให้เกิดปัญหาบ้างเพราะช่วงนี้อาจมีสารพิษอื่นที่ละลายในน้ำ เช่น สารปรอท สารตกค้างจากยาฆ่าแมลงปลอมปนเข้ามาในช่วงที่ปลากำลังรับออกซิเจน ซึ่งจะทำให้ปลาตายทันทีที่สารพิษนี้ผ่านเข้ามาทางเหงือก เยื่อบางๆที่กั้นระหว่างเลือดกับน้ำสามารถที่จะกรองเฉพาะสารบางอย่างเท่านั้น ตัวอย่างได้แก่เกลือ ปลาบางชนิดที่อาศัยได้ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม เราเรียกว่าปลาสองน้ำ ปลาทะเลต้องกรองเอาเกลือส่วนเกินออกจากเหงือก ปลาน้ำจืดต้องการเกลือเพิ่มจึงต้องดูดเอาเกลือแร่เข้าไว้เพราะในน้ำจืดมีปริมาณเกลือน้อยมาก

ข้อมูลจากหนังสือมีนวิทยา
โดย คุณสุภาพร สุกสีเหลือง


2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ6 กรกฎาคม 2553 เวลา 18:06

    สูดยอดมาก

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณครับ ยกเครดิตรให้เจ้าของบทความคุณคุณสุภาพร สุกสีเหลืองครับ ส่วนรูปประกอบนี่หาหลายวันเลยครับ ต้องขอขอบคุณกูเกิ้ล และเจ้าของรูปภาพหลากหลายที่มาครับ ส่วนผมใจรักด้านการรวบรวมความรู้ไม่ค่อยมี อิอิ ขอบคุณสำหรับกำลังใจครับ ด่ามาร้อยแค่กำลังใจหนึ่งเดียวผมก็สู้ขาดใจครับ ขอบพระคุณจริงๆครับ

    ตอบลบ

.ขอบคุณที่แวะเข้ามาครับ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

เชิญแวะที่:
thainitaห้นย

จ้าวน้อยฟิชชิ่ง ตกปลาฮาเฮ เร่ไปเพราะใจสั่งมา © 2009. Powered by  MyPagerank.Net