03 เมษายน 2553

วาฬนาร์วอล ยูนิคอร์นแห่งอาร์ติก(narwhale)


ก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์รู้เรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยา ของวาฬนาร์วอล(narwhale) เพียงเล็กน้อย แต่นักวิทยาศาสตร์จากกรีนแลนด์ เดนมาร์ก และสหรัฐอเมริกา ที่ร่วมกันทำวิจัย กำลังได้ข้อมูลต่างๆ มากมายของวาฬนาร์วอล มันเป็นวาฬที่อาศัยอยู่ ณ ดินแดนเหนืออาร์ติกเซอร์เคิลนี้ มาตลอดชั่วชีวิต (อาร์กติกเซอร์เคิล คือบริเวณเส้นรุ้งที่ 66 องศา 34 ลิบ ดาเหนือ) เป็นดินแดนที่เหล่าวาฬสามารถกินปลาทะเลน้ำลึกหลากหลายพันธุ์ ความรู้ที่ได้มานี้เป็นช่วงเวลาวิกฤตพอดิบพอดี เพราะเจ้าวาฬเหล่านี้กำลังถูกการประมงเพื่อการค้าและอุณหภูมิที่สูงขึ้นของ โลก คุกคามและเล่นงานมากขึ้นทุกที


วาฬนาร์วอลที่โตเต็มที่จะมีขนาด ความยาวประมาณ 4-5 เมตร นั่นทำให้มันกลายเป็นวาฬที่มีขนาดเล็กกว่าพันธุ์อื่นๆ ตัวผู้มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1,200 กิโลกรัม ตัวเมียประมาณ 800 กิโลกรัม แต่มันเป็นวาฬชนิดเดียวที่มีเขี้ยวยาวเขี้ยวนี้เป็นฟันที่งอกออกมาจากขากรรไกรด้านบนผ่านมาทางริม ฝีปาก และมีลักษณะเป็นเกลียว คล้ายกับงาช้างที่พันเป็นเกลียวเหมือนเปียและมีปลายแหลม ส่วนใหญ่จะพบในตัวผู้ เขี้ยวนี้จะยาวจนถึง 1.8 เมตร พ่อค้าชาวไวกิ้งในศตวรรษที่ 10 จะ ขายเขี้ยวของมันให้กับชาวต่างประเทศ โดยอ้างว่าเป็นเขี้ยวของตัวยูนิคอร์น ส่วนชาวยุโรปในยุคกลางเชื่อว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอำนาจมนต์ขลัง ส่วนวาฬนาร์วอลจะใช้เขี้ยวของมันทำอะไรบ้างนั้นก็ยังเป็นที่สงสัยกันอยู่ ตัวผู้นั้นมักใช้เขี้ยวนี้ไว้เพื่อต่อสู้กัน แต่นักชีววิทยาส่วนใหญ่เชื่อว่า เขี้ยวของพวกมันมีไว้เพื่อโฆษณาชวนเชิญให้ตัวเมียมาผสมพันธุ์ด้วย


ถึงแม้ว่าการไล่ล่าวาฬเพื่อเอาเขี้ยวนี้ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เฮเด-จอร์เกนเซน คิดว่าวาฬอาร์กติกชนิดนี้ยังถูกคุกคามมากขึ้น จากพวกชาวพื้นเมืองอินนุต ที่ใช้เรือ วิทยุ และเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยขึ้น เพื่อไล่ล่าวาฬนาร์วอลมาเป็นอาหาร พวกเขาสามารถขายวาฬได้ในราคาถึงกิโลกรัมละ 30 ปอนด์ (2,280 บาท) ชาวอินนุตเห็นว่าหนังของวาฬกอาร์กติกนี้มีความสวยงามประณีต และรสชาติอร่อย ทำให้มีการซื้อขายกันอย่างแพร่หลายทั่วกรีนแลนด์ “มันให้วิตามินซีสูงมากนั่นเป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไมชาวอินนุต ถึงอยู่รอดมาได้ทั้งที่ไม่ได้กินพืชผัก” เฮเด-จอร์ เกนเซนกล่าว


นาร์วอลนั้นเป็นชื่อในภาษาเดนมาร์ก หมายถึงซากศพ (corpse whale) และหมายถึงวาฬสีเทาพันธุ์ที่มีลายจุดที่เห็นชัดเจน มีอายุยืนประมาณ 35 ปี พวกมันจะใช้ชีวิตในช่วงฤดูร้อนตามอ่าวแถบไฮอาร์กติกในประเทศแคนาดาและ กรีนแลนด์ ในฤดูหนาวนั้นเผ่าพันธุ์วาฬนาร์วอลซึ่งมีจำนวนกว่าห้าหมื่นตัวจะเดินทางไป ทางใต้ราว 1,400-2,000 กิโลเมตร เป็นระยะเวลาหกเดือนเพื่อใช้ชีวิตอยู่ในน้ำแข็งทึบที่อ่าวบัฟฟินและช่องแคบ เดวิส (บริเวณเกาะกรีนแลนด์-กองบ.ก.) โดยทั่วไปวาฬนาร์วอลจะเดินทางเป็นฝูงตั้งแต่ 15-30 ตัว แต่ก็มีผู้เคยสังเกตพบว่ามีวาฬจำนวน 1,000-2,000 ตัว ที่อพยพมาพร้อมกันในช่วงฤดูร้อนคราวหนึ่ง


ถึงแม้ว่าวาฬนาร์วอลจะกินหมึกอาร์กติก ปลาคอดขั้วโลก และปลาคอดอาร์กติกเป็นอาหาร แต่อาหารจานโปรดของพวกมันก็คือปลาแฮลิบัต (Greenland halibut) ปลาชนิดนี้เป็นแหล่งรวมไขมันและให้พลังงานสูง ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในการอยู่รอดของวาฬนาร์วอลในแถบอาร์กติก เนื่องจาก ปลาแฮลิบัตอาศัยอยู่ก้นชายฝั่ง และวาฬนาร์วอลก็สามารถดำน้ำลงไปได้ ลึกกว่า 5,000 ฟุต (1,500 เมตร) เพื่อ ตามล่าหาพวกมัน พวกวาฬนาร์วอลจะทำอย่างนี้อยู่หกเดือนตลอดช่วงฤดูหนาวอันยาวนานซ้ำแล้วซ้ำ เล่า ด้วยลักษณะนิสัยเช่นนี้ทำให้วาฬนาร์วอลได้รับการจัดอันดับให้เป็นสัตว์ที่ดำ น้ำ ได้ลึกที่สุด เช่นเดียวกับวาฬหัวทุย (sperm whale) และแมวน้ำช้าง มีการคาดคะเนว่าความลึกสูงสุดที่วาฬนาร์วอลสามารถดำดิ่งลงไปได้คือราวๆ 5,500 ฟุต (1,650 เมตร)



นาร์ วอลนั้นจะดำน้ำได้ค่อนข้างตื้นและสั้นในช่วงฤดูร้อน และจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นทีละน้อยในช่วงฤดูใบไม้ร่วง จนถึงฤดูหนาวที่มันสามารถดำน้ำในลึกที่สุด ฮัล ไวท์เฮด นักชีววิทยา ผู้ศึกษาวาฬหัวทุยแห่งมหาวิทยาลัย แดลฮูซีในฮาลิแฟกซ์ โนวาสโกเทีย คิดว่าข้อได้เปรียบที่ดีที่สุดสำหรับการดำน้ำได้ลึกของมันก็คือ ความเร็วของเหยื่อที่หนีลงสู่ด้านล่าง “ที่ผิวน้ำ มีก๊าซออกซิเจนมาก แต่เมื่อลงไปใต้น้ำกว่า 1,300 ฟุต ก็จะเหลือออกซิเจนอยู่ น้อยนิด และเหยื่อที่หนีเราก็จะค่อยๆ อ่อนแอลง” เขากล่าว


การ ดำน้ำลงไปในช่วงความลึกดังกล่าวจำเป็นต้องมีการปรับตัวทางด้านชีววิทยาให้ เหมาะสมเป็นอย่างมาก วาฬนาร์วอลมีความดันเลือดต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม อยู่ในระดับสูง ซึ่งเกือบจะเป็นสองเท่าของมนุษย์ นอกจากนี้พวกมันยังมีระดับของเฮโมโกลบินสูงอีกด้วย วาฬนาร์วอลจะลำเลียงนำออกซิเจนเข้าไปในเลือดโดยตรง การดำน้ำลึกจะทำให้ปอดแฟบลง ไนโตรเจนอยู่ในกระแสเลือดมากเกินไป ปัญหานี้มักพบได้ในมนุษย์ที่ดำน้ำลึก แต่วาฬนาร์วอลไม่เจอปัญหานี้เลย


วาฬนาร์วอลไม่มีปัญหาความดันสูงที่ ระบบประสาทอีกด้วย แต่สำหรับมนุษย์ที่ดำน้ำลงไปที่ความลึกประมาณ 350-700 ฟุต นั้น ความลึกระดับนี้ก็เสี่ยงต่อชีวิตแล้ว เพราะความดันที่สูงขึ้นจะทำให้เนื้อเยื่อบุผิวของเซลล์ประสาทเกิดการบีบตัว ทำให้เป็นลมกะทันหันและ เสียชีวิตในที่สุด แต่วาฬนาร์วอลสามารถ ก้าวผ่านเขตอันตรายนี้มาได้อย่างสบาย นอกจากนี้พวกมันยังเป็นนักว่ายน้ำที่มีประสิทธิภาพอีกด้วย เพราะพลังงานที่พวกมันใช้ในการว่ายน้ำในระดับความลึกสูงสุดนั้นไม่ได้มากไป กว่าพลังงานที่พวกมันใช้ในการว่ายอยู่ในระดับน้ำที่ตื้นเลย


แผ่น น้ำแข็งที่มีความหนาหลายเมตรเป็นความท้าทายอีกอย่างหนึ่งที่เจ้าวาฬนาร์วอลจะต้องเผชิญในช่วงฤดูหนาว เมื่ออ่าวบัฟฟินถูกปกคลุมไปด้วย น้ำแข็ง และความหนาวยะเยือกปกคลุมเกือบทั่วทุกแห่ง ภาพภูมิประเทศที่ปรากฏในภาพถ่ายดาวเทียมก็ไม่มีอะไรเลยนอกจากสีขาวโพลน เมื่อขึ้นไปบนเฮลิคอปเตอร์เท่านั้นแหละ จึงได้เห็นแถบยาวแคบๆ และรอยแตกของน้ำแข็งเต็มไปหมด รอยแตกนี้มีความหมายต่อความเป็นความตายของเจ้าวาฬนาร์วอลเลยทีเดียว รอยแตกดังกล่าวอาจจะลดน้อยลงเมื่อฤดูหนาวค่อยๆ คืบหน้าผ่านไป โดยในราวสิ้นเดือนมีนาคมจะลดน้อยลงกว่าทางเหนือของชายฝั่งถึงครึ่งหนึ่ง

แต่ก็ไม่มีใครสามารถรับประกันได้ แม้แต่พื้นที่ดังกล่าว สายน้ำที่เปิดโล่งนี้สามารถกลายเป็นน้ำแข็งได้ทันทีในช่วงเวลาที่อุณหภูมิลด ต่ำลงถึง ติดลบ 22 องศาฟาเรนไฮต์ และไม่มีลมกระโชกแรง การผสมผสานกันดังกล่าวเป็นอันตรายต่อเจ้าวาฬนาร์วอลให้ถึงตายได้เลย ซึ่งมันจะอาจจะติดอยู่ในช่องที่เกิดการหดและแข็งตัวขึ้นมา เมื่อ พ.ศ.2537 มีวาฬนาร์วอลเกือบ 150 ตัวตายเมื่อพวก มันติดอยู่ในช่องเล็กๆ ที่ปากอ่าวดิสโกทาง ตะวันตกของกรีนแลนด์

แต่ สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่าก็คือ นักวิทยาศาสตร์กังวลว่าการที่วาฬนาร์วอลติดกับดักน้ำแข็งมากขึ้นนี้อาจจะ เป็นผลจากการที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น โดยทั่วไปเมื่อโลกร้อน ทางซีกโลกเหนือจะร้อนขึ้น ทำให้น้ำแข็งในทะเลแถบอาร์กติกเริ่มละลายในอัตราที่สูงจนน่าตกใจ แต่ฝนที่ตกเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นจะทำให้มหาสมุทร เค็มน้อยลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้สามารถหยุดการไหลของกระแสน้ำทางแอตแลนติกเหนือ ซึ่งจะพัดพาเอากระแสน้ำอุ่นมาจากบริเวณเส้นศูนย์สูตรได้ ซึ่งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คืออุณหภูมิที่หนาวเย็นขึ้น และน้ำแข็งที่อ่าวบัฟฟินจะเพิ่มมากขึ้นทำให้ลดทอนพื้นที่แหล่งอาศัยของพวกมัน


การทำการประมงปลาแฮลิบัตที่มีการพัฒนามากขึ้นในแถบอ่าวบัฟฟินนั้นก็มีผลกระทบ ต่อวาฬนาร์วอลด้วย เช่นกัน นักประมงทางการค้าในประเทศ แคนาดา กรีนแลนด์ และนอร์เวย์ ต่างก็สนใจสิ่งที่เฮเด-จอร์เกนเซนกล่าวว่า วาฬนาร์วอลเป็น “สัตว์ยุคดึกดำบรรพ์ไม่กี่ตัวที่หลงเหลืออยู่ในโลก” เนื่อง จากการประมงยุคใหม่ก็ยังคงสร้างปัญหาอยู่ ซึ่งไม่ว่าที่ไหนก็ไม่สามารถสร้าง ขวัญกำลังใจขึ้นมาได้เลย นักตกปลาท้องถิ่นและชาวประมงที่ดำรงชีพในเมืองซิตกา อลาสกา มองเห็นความเสื่อมถอยอย่างรุนแรงของการประมง เมื่อเรือทางการค้าที่ได้รับสัมปทานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเข้ามาถึงเมื่อ พ.ศ. 2533 จากสถิติพบว่า ปี 2536 ผู้อยู่อาศัยท้องถิ่นที่จับปลาแฮลิบัตได้ 3,019 ตัว ในซิตกาซาวนด์ แต่ผ่านไปเพียงสามปี ก็จับปลาได้แค่ 447 ตัว ณ สถานที่เดียวกัน ปัจจุบันแผนการจัดการประมงได้มีการจัดสรรปันส่วนทรัพยากรท่ามกลางความสนใจ และการแข่งขันที่สูง แต่เฮเด-จอร์เกนเซนก็ยังสงสัยว่า ผู้จัดการด้านประมงในกรีนแลนด์ได้ แบ่งสรรทรัพยากร ระหว่างชาวประมงและวาฬนาร์วอลอย่างไร


การประมงและการก่อตัวของน้ำแข็งที่เพิ่มมากขึ้นจะมีผลกระทบต่อวาฬนาร์วอลในช่วงหน้าหนาว แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าพวกมันยังสามารถหาอาหารส่วนใหญ่ของมันกินได้ กระนั้นก็ดีนักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่สามารถหาเงินทุนเพื่อศึกษาวิจัยเรื่องของวาฬนาร์วอลที่นั่นได้ ความกังวลมากที่สุดของนักชีววิทยาก็คือมีสิ่งที่ท้าทายต่อการรอดชีวิตของวาฬมากขึ้น แต่กลับไม่มีข้อมูลที่จะคอยสังเกตุและจับตาดูภัยอันตรายเหล่านั้นเลย สำหรับวาฬนาร์วอลนั้นการวางเฉยไม่ใช่เรื่องที่ควรทำกลับจะเป็นอันตรายเสียด้วยซ้ำ


เฮเด-จอร์เกน เซนกล่าวว่า “ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศและความกดดันจากการประมงที่เพิ่มมากขึ้น กำลังเกิดขึ้น ณ ส่วนที่อยู่ห่างไกลที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เป็นดินแดนที่ช่วงกลางฤดูหนาวจะมีความมืดมิดปกคลุมไปทั่ว ดินแดนนี้มีประชากรวาฬนาร์วอลตัวเทอะทะอาศัยอยู่บริเวณไกลจากฝั่ง แต่กระนั้นพวกเราก็ยังมีความรู้เกี่ยวกับพวกมันน้อยมาก จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความยาก ลำบากและอุปสรรคที่สัตว์พันธุ์พิเศษ นี้ต้องเผชิญ และจะต้องหาทางแก้ไขเพื่อสร้างความมั่นใจว่า พวกมันจะสามารถดำรงเผ่าพันธุ์ไปได้อีกนาน”

Reblog this post [with Zemanta]

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ2 กรกฎาคม 2553 เวลา 22:28

    น่าสงสารนาร์วาฬจังเลยค่ะ

    ตอบลบ
  2. ครับก็เอาใจช่วยให้เค้าดำรงค์เผ่าพันธุ์เค้าไปให้นานๆ หวังว่าประเทศเค้าคงมีมาตรการในการรักษาสมดุลย์เหล่านี้ได้ครับ

    ตอบลบ

.ขอบคุณที่แวะเข้ามาครับ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

เชิญแวะที่:
thainitaห้นย

จ้าวน้อยฟิชชิ่ง ตกปลาฮาเฮ เร่ไปเพราะใจสั่งมา © 2009. Powered by  MyPagerank.Net