14 ตุลาคม 2558

สีของเหยื่อปลอมกับการมองเห็นของปลา


สีของเหยื่อปลอมกับการมองเห็นของปลา 

หลายๆท่านที่ชื่นชอบการตกปลาด้วยเหยื่อปลอม หลายคนคงมีวิธีเลือกสีของเหยื่อปลอมในแบบของตนเอง จะเลือกสีสมจริงคือลักษณะสีเหมือนปลาเหยื่อจริงๆทุกประการ หรือ จะเลือกสีสันสดใสต้องตาต้องใจเหล่าปลาล่าเหยื่อผู้หิวกระหายก็แล้วแต่ประสบการณ์และกลเม็ดของแต่ละคน


องค์ประกอบหลักๆการมองเห็นสีของเหยื่อมีด้วยกัน 4 ประการ


 1. สีของน้ำ : หากน้ำในหมายที่เราตกปลา มีเป็นน้ำที่ขุ่น การเลือกสีที่ เป็นพวกสีเงินโครเมียม หรือ สีทองโครเมียม หรือ สีจำพวกเงินๆ จะดีมากๆ เพราะ เวลาเราลากเหยื่อ สีเงินจะกระทบกับแสงแดด ส่องเป็นประกายวิบๆวับ เหมือนเกล็ดลูกปลา แต่ถ้าหมายที่เราจะตก เป็นน้ำที่ใส่ หรือออกสีเขียวๆ เล็กน้อย เราก็สามารถเลือกสีที่สดๆได้ เพราะสีของน้ำเป็นเสมือนม่าน หรือ เลนส์แว่นกันแดดที่บังตาของปลาอยู่ โดยรวมแล้ว ปลาไม่ได้มองเห็นเหยื่อเป็นรูปเป็นร่าง ปลาเหมือนที่เรามองเห็น แต่ะจะเห็นเป็นลักษณะ ของภาพลวงตา หรือกลุ่มสีเป็นก้อนๆ วับๆแวมๆ เท่านั้น จะไม่ได้ใส่ปิ้งเหมือนที่เราเอาเหยื่อไปหย่อนดูในตู้ปลา


2. ระดับความลึกของน้ำ : อันนี้จะเห็นผลได้อย่างชัดเจน เวลาเราไปตกปลาตามเขื่อน หรือ เอาเหยื่อปลอมไปลากที่ทะเล ความลึกของน้ำจะส่งผลให้ปลามองเห็นสีของเหยื่อยิ่งผิดเพี้ยนไปจากที่เราเห็น กล่าวคือ เมื่อระดับน้ำยิ่งลึกเท่าไหร่ ก็จะมืดมากขึ้นเท่านั้น หากน้ำลึกและมีแสงแดดน้อยมากๆถ้าเราใช้เหยื่อที่เป็นตัวสีใส(ที่เรามองบนบกแล้วเหมือนลูกปลามากๆ ) แต่พอลงน้ำสีใส่นี้จะกลืนไปกลับสีน้ำ ทำให้ปลามองเห็นเหยื่อของเราได้ยากยิ่งขึ้น และในบางครั้ง หากถึงความลึกระดับหนึ่ง เหยื่อจากสีม่วง ที่เราเห็น ปลาจะเห็นเป็นเงาสีดำๆเท่านั้น ฉะนั้นหากเราจะต้องไปตกปลาที่เขตน้ำลึก ควรเลือกเหยื่อที่มีสีสันสดใส เห็นได้ชัดเจน และ ควรคำนึงถึงระดับควมลึกให้มากๆ ด้วยครับ 3.


3. องค์ประกอบฉากหลัง หรือ แบล็กกราวที่เหยื่อว่ายผ่าน : ในกรณีน้ำอาจยกตัวอย่างง่ายๆว่า ถ้าเหยื่อที่เราใช้ว่ายผ่าน แนวกองหิน สีแบล็กกราวก็จะเป็นสี โทนเทา หรือ น้ำตาล หากเราเลือกใช้เหยื่อที่ กลืนกันไปกับแบล็กกราว ปลานักล่าก็อาจจะมองไม่เห็น หรือ อาจจะเห็นเหยื่อเราไม่ชัด แต่กลับกัน หากเราเลือกใช้เหยื่อที่มีสี แดงขาว ซึ่งเป็นสีสว่าง ปลาก็จะเห็นเหยื่อของเราได้ชัดเจนขึ้นครับ 4.


4. สภาพอากาศ : ในส่วนนี้ สภาพอากาศจะมีต่อแสงแดดที่ส่องถึงลงมาในน้ำ หากวันนั้นมีฝ้าครึ้ม เมฆมาก แสดงแดดก็จะมีน้อย ส่งผลให้ เหยื่อสีเงินๆ ที่เราเลือกใช้ไม่ได้รับแสงแดดสะท้อนเท่าที่ควร สีของเหยื่อก็อาจจะผิดเพี้ยนไป  จะเห็นได้ว่า แม้เราจะไปหมายเดิม และ เลือกใช้เหยื่อตัวเดิม ที่ตำแหน่งเดิม ผลที่ออกมาก็อาจจะไม่เหมือนเดิมก็ได้ หากเราทราบถึงองค์ประกอบหลักๆ และ สิ่งที่เราควรให้ความสำคับเพิ่มขึ้นแล้ว เราก็อาจจะแก้ไขปรับเปลี่ยน วิธีการเลือกซื้อเหยื่อของเราได้คุ้มค่า และ ให้ผลลัพทธ์ได้ดียิ่งขึ้น


ที่กล่าวมาทั้งหมดไม่ได้บอกว่า การที่คุณเลือกสีเหยือได้ถูกตอ้งเหมาะสมแล้ว จะได้ผล100%ทั้งหมด เพราะสีของเหยื่อก็เป็นเสมือนองค์ประกอบอีกเพียงอีกอย่างหนึ่ง ของทั้งหมด แต่แม้จะมีอีกหลายๆองค์ประกอบที่ทำให้ดูวุ่นวาย แต่สิ่งเหล่านั้นก็เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของการตกปลา ไม่มีอะไรที่แน่นอนตายตัว มีเพียงสิ่งที่เราพอจะค้นหาและศึกษา ทดลอง + โชคอีกนิดหน่อย เพื่อให้ทริปนี้จะได้ ”ไม่ต้องขุดแห้ว”กลับบ้านมาอีกก็พอ หวังว่าสิ่งที่ได้บอกเล่าไปจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆนักตกปลาบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ

ในตลาดวงการเหยื่อปลอมนั้น เราจะจำแนกสีและลายของเหยื่อได้ประมาณนี้



 1.เหยื่อแบบสีโครเมียม เหยื่อแบบสีโครเมียม อาจเป็นสีเงินโครเมียม หรือสีทองโครมเมียม สะท้อนเงาเป็นกระจกเลย เวลาลงน้ำเหยื่อพวกนี้ก็สะท้อนเงาสิ่งรอบข้างเช่นกันครับ เช่นตกแถวแนวสาหร่ายก็สะท้อนเงาสาหร่ายกลืนกับเงาสาหร่าย ตกแถวแนวกิ่งไม้ตอไม้ก็สะท้อนเงากิ่งไม้ตอไม้ เหมือนลูกปลาที่ปรับสีตัวเองให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เวลาเหยื่อเคลื่อนไหวก็จะเกิดเป็นภาพ illusive เหมือนฉากการล่องหนของ predator คือเห็นเป็นอะไรบางอย่างใสๆ วูบๆ วาบๆ


 2.เหยื่อแบบใส เหยื่อแบบใส หรืออาจเป็นเขียวใส เหลืองใส แดงใส น้ำเงินใส หรือใสแบบหลายๆ สี ใส่เกล็ดเงินเกล็ดทองระยิบระยับเข้าไปด้วยก็มี ก็คล้ายๆ กับเหยื่อแบบโครมเมียมนั่นและครับ ให้แสงส่องผ่านให้กลืนกับฉากหลังบ้างเหมือนเป็นสิ่งมีชีวิตที่ปรับสีของตัวเองให้ใกล้เคียงกับสภาพแวดล้อมให้เกิดภาพ illusive เช่นกัน


3.สีปลาบาดเจ็บ สังเกตดูว่าเหยื่อปลั๊กส่วนใหญ่จะคางสีแดง นั่นคือลักษณะของปลาป่วยหรือได้รับบาดเจ็บครับ คางแดง เหงือกแดง ครีบแดง ท้องแดง ลิ้นแดง หรือแม้กระทั่งเบ็ดแดงดูเหมือนมีเลือดออก (ลองไปสังเกตปลาทองที่ป่วยดูนะครับ) อีกลักษณะนึงก็คือจุดดำๆบริเวณค่อนไปทางหาง จุดใหญ่ๆ เท่าลูกตาปลานั้นแหละ อันนี้เลียนแบบรอยช้ำบนตัวปลา เหมือนกับว่าถูกปลาตัวอื่นชาร์จมาแล้วทีนึง รอดมาได้แต่ก็ช้ำ อาจร่อแร่ด้วย เหมือนกับปลาตัวอื่นชงไว้แล้ว ปลาอีกตัวที่มาเจอก็กินเสียเลย ก็เอาไว้เป็นแนวทางในการเลือกเหยื่อก็แล้วกันนะครับ


อย่าลืมสังเกตุด้วยนะครับว่าแถวๆ นั้นมีปลาอะไรที่เป็นปลาเหยื่อ หน้าตาเป็นอย่างไร ลูกปลาพวกนั้นตัวเล็กใหญ่แค่ไหนสร้าง illusive แบบไหน เลือกสีได้แล้วก็ต้องทดลองหาแอ็คชั่นช้าเร็ว นุ่มนวลหวือหวา และความลึกที่เหมาะสมด้วย ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว ต้องจินตนาการและลองผิดลองถูกกันไปครับ



ส่วนอันนี้คือข้อมูลอ้างอิง การเลือกสีเหยื่อ จาก Rapala ครับ (ส่วนมากหลักการนี้มักใช้เลือกสีเหยื่อจำพวกงานทะเล เช่น เหยื่อRapala ตะกลูCD ครับ) อาจเป็นข้อมูลเก่าแต่ก็ยังใช้ได้ดีจนถึงปัจจุบันนะครับ

1. สีขาวหลังดำหรือหลังเขียว ใช้กับอากาศแจ่มใสหรือกับสภาพพื้นน้ำใส

2. สีขาวหลังฟ้า ใช้กับงานลากเหยื่อในระดับลึกในวันที่ ท้องฟ้าปลอดโปร่งแจ่มใส 

3. สีทองหลังดำ ใช้กับวันที่อากาศมือครึ้มหรือสภาพพื้นน้ำที่มีแสงน้อย 

4. สีทองหลังส้ม ใช้กับพื้นที่น้ำขุ่นมากหรือขุ่นเป็นโคลน 

5. สีขาวหลังไพล(เขียวอมเหลือง)ใช้กับพื้นที่ที่แสงส่องไม่ถึงหรือในงานลากเหยื่อในระดับลึกมาก

6. สีชมพูคาดน้ำเงินหลังดำ ออกแบบมาเพื่อตกปลาแซลม่อน ปลาเทร้าท์ 

7. สีเขียวหรือสีทองหลังดำ เป็เหยื่อที่ก่อให้เกิดภาพลวงตาได้มากที่สุดในสภาพที่มีแสงน้อยทัศนวิสัยมืดคึ้ม 

8. สีทองหรือสีเงินหลังน้ำตาลเหมาะสำหรับใช้ในแหล่งน้ำที่มีกุ้งอาศัยชุกชุม หรือในระดับลึกในวันที่อากาศครึ้ม 

9. สีเงินหลังดำหรือหลังเขียวใช้ได้ผลกับปลาล่าเหยื่อทุกชนิดในวันที่อากาศโปร่งแจ่มใส 

10. สีทองหลังเขียว ใช้ในวันที่อากาศมืดคึ้ม 11.สีขาวหัวแดง เป็นสีที่ยั่วยุให้ปลาล่าเหยื่อเกิดอารมณ์ฉุนเฉียวมาก

ขอบพระคุณที่มาดีๆจาก 
กูเกิ้ล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.ขอบคุณที่แวะเข้ามาครับ

เชิญแวะที่:
thainitaห้นย

จ้าวน้อยฟิชชิ่ง ตกปลาฮาเฮ เร่ไปเพราะใจสั่งมา © 2009. Powered by  MyPagerank.Net