17 มิถุนายน 2553

ปลาหมอบัตเตอร์อสูรเงียบแห่งเขื่อนศรีฯ(Alien Species 2)


ปลาหมอบัตเตอร์อสูรเงียบแห่งเขื่อนศรีนครินทร์
ปลาหมอบัตเตอร์ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ชื่อสามัญคือ Tilapia Zebra มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tilapia buttikoferi อยู่ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีรูปร่างคล้ายปลานิล (Oreochromis niloticus) ทั้งนี้เนื่องจากปลานิลเดิมก็เคยอยู่ในสกุล Tilapia นี้มาก่อน

จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาหมอสีชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ มีสีสันลวดลายสวยงาม ลำตัวเป็นเส้นขีดสีคล้ำพาดขวางตลอดทั้งตัว สามารถปรับเปลี่ยนสีได้ตามอารมณ์และสภาวะแวดล้อม


มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 40 เซนติเมตร มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาแถบตะวันตก และพบมากที่สุดที่ประเทศไลบีเรีย ไทยพบมากที่เขื่อนศรีนครินร์ มีอุปนิสัยค่อนข้างดุร้าย ก้าวร้าว


สำหรับในประเทศไทย ปลาหมอบัตเตอร์นับว่าเป็นปลาหมอสีที่มีราคาถูก จึงมีผู้เลี้ยงแล้วนำไปปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติมากมาย จนกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นชนิดหนึ่งไปแล้ว เช่นเดียวกับปลานิล เปคู ซัคเกอร์ พีค็อกแบลส


แหล่งน้ำสำคัญที่ทราบชัดเจนก็คือเขื่อนศรีนครินทร์ ซึ่งนักตกปลาได้ตกปลาชนิดนี้ได้เมื่อหลายปีก่อนซึ่งตอนนั้นก็คงไม่มีใครได้ฉุกคิดหรือใส่ใจ เพราะคิดว่าคงเป็นปลาที่หลุดมาหรือคนมาปล่อยแค่ตัวสองตัว แต่จากระยะเวลาไม่กี่ปี ก็มีนักตกปลาตกปลาหมอบัตเตอร์ชนิดนี้ได้ถี่ขึ้นๆ ขนาดก็ใหญ่ขึ้นเรื่อย และมักจะได้ปลาชนิดนี้กับกลุ่มปลาหมอตะกรับ และ ปลานิล เป็นไปได้มั้ยว่า ปลาหมอบัตเตอร์สามารถปรับสภาพเข้ากับแหล่งน้ำบ้านเราได้เป็นอย่างดี(แน่นอน)



ปลาหมอบัตเตอร์เป็นปลาที่สามารถตกได้อย่างง่ายดาย และสนุกเร้าใจกว่าปลาหมอตะกรับ ปลานิล ในขนาดไซส์ที่เท่ากัน แถมรสชาติก็อร่อย หลายคนฟันธงว่าอร่อยกว่าเนื้อปลานิล และ หมอตะกรับด้วยซ้ำไป ซ้ำร้ายการแพร่ขยายพันธุ์ในปริมาณที่มากและรวดเร็วของมันทำให้ปลาหมอบัตเตอร์กำเนิดทายาทรุ่นใหม่ในเขื่อนศรีขึ้นมาอีกมากมายหลายรุ่น(คาดเดานะ) เดี๋ยวนี้กว่าจะได้ปลาหมอตะกรับ หรือปลานิลขึ้นมาสักตัวก็ต้องเฉลี่ยกับปลาหมอบลัตเตอร์อัตรา 1 ต่อ 10 กันเลยทีเดียว


อีกทั้งปลาหมอบลัตเตอร์เป็นปลาที่มีนิสัยดุร้าย หวงแหนรังนอนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว อาจเป็นไปได้ที่จำนวนที่มีมากมายของมันรุกล้ำกล้ำกรายเข้าไปในอาณาจักรปลาเจ้าถิ่นอย่างปลาหมอตะกรับและปลานิล เพื่อขับไล่ทำลายทำร้าย กินลูกปลาและไข่ของปลาพื้นถิ่น ยืดครองแย่งพื้นที่ ทำให้จำนวนประชากรการขยายพันธุ์ของปลาพื้นเมืองพื้นถิ่นดั้งเดิมของเราลดจำนวนลง ก็คงเป็นไปได้ใช่มั้ย?


เราจะทำอะไรได้นับจากนี้หากปลาต่างถิ่นชนิดนี้มาเป็นส่วนหนึ่งในผืนน้ำของเรา การแพร่กระจายคงไม่หยุดแค่ในเขื่อนศรีแน่นอน ต้นตอของปัญหานี้มาจากไหน คนเลี้ยงปลาที่เบื่อหรือเลี้ยงไม่ไหวเอาไปปล่อยทิ้ง หรือนักตกปลาที่ต้องการชนิดปลาที่หลากหลายนำมาแพร่กระจาย หรือกระชังเลี้ยงปลาสวยงามที่แตกเพราะภัยธรรมชาติ ปัญหามาจากฝ่ายไหนก็คงไม่มีใครยืดอกออกมายอมรับ ถึงยอมรับมันก็ไม่ช่วยทำให้อะไรดีขึ้นมากมายใช่มั้ย แต่สิ่งที่ทำได้ก็คือ ไม่ควรนำปลาชนิดนี้หรือปลาต่างถิ่นมาปล่อยซ้ำลงไปอีก ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำใดๆ นักตกปลาตกปลาเหล่านี้ได้ไม่ควรปลดปล่อยคืนอิสระภาพ เนื้อมันอร่อยขอให้เอามากินให้หมด เพื่อลดจำนวนของพวกมัน ส่วนปลาพื้นบ้านของเราตกแล้วปล่อยดีกว่ามั้ย ฟังดูโหดร้ายและสองมาตรฐานสำหรับใครหลายคน แต่เราก็ไม่อยากให้ปลาพื้นถิ่นของเราสูญสลายค่อยๆหายไปไม่ใช่หรือ?


ตัวผมก็ใช่ว่าจะดีเด่อะไรนะครับแค่นำเสนอมุมมองความคิดเห็น ความรู้ความสามารถก็มีอยู่น้อยนิด ผิดพลาดประการใดก็ต้องกราบขออภัยไว้ที่นี้ด้วยนะครับ ตกได้จะกินให้เหี้ยน อิอิ ความสุขจงมีแด่ท่านครับ

+++ขอบคุณครับ+++

2 ความคิดเห็น:

  1. ปลาหมอบัตเตอร์ราดพริกน่ากินมั่กๆ ขอบคุณครับสำหรับบทความดีๆ แวะมาทักทายครับ (จารย์ก๋วย)

    ตอบลบ
  2. สวัสดีจารย์ก๋วยครับ ขอบคุณที่แวะเวียนมาให้กำลังใจเสมอครับผม

    ตอบลบ

.ขอบคุณที่แวะเข้ามาครับ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

เชิญแวะที่:
thainitaห้นย

จ้าวน้อยฟิชชิ่ง ตกปลาฮาเฮ เร่ไปเพราะใจสั่งมา © 2009. Powered by  MyPagerank.Net