- วงศ์ปลากด(Bagridae)
+++++++++++++++++++++++++++++
- 1. ปลากดคัง
ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macrones wyckioides(เดิมMystus wyckioides) อยู่ใน "วงศ์ปลากด">วงศ์ปลากด (Bagaridae) ที่มีขนาดโตเต็มที่ราว 1.5 เมตร หนักได้ถึง 100 ก.ก. แต่ที่พบโดยเฉลี่ยจะมีขนาดประมาณ 50 - 60 ซม. ลำตัวมีสีเทาอ่อนอมฟ้าหรือเขียวมะกอก ท้องสีจาง
ครีบหางและครีบอื่น ๆ มีสีแดงสดหรือส้มสด ไม่มีแถบขาวบนขอบครีบหางส่วนบนเหมือนปลากดชนิดอื่น ๆ พบในแม่น้ำของไทยทุกภาค และในแหล่งน้ำนิ่งขนาดใหญ่ นิยมนำมาบริโภคโดยการปรุงสด ลวก จิ้ม หรือยำ มีราคาค่อนข้างแพง มีการเพาะเลี้ยงเป็นกระชังอยู่ริมแม่น้ำสายใหญ่บางสาย และยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย กดคังมีชื่อเรียกอื่น อีกเช่น "ปลากดแก้ว" "ปลากดเขี้ยว" กดหางแดง กดข้างหม้อ เป็นต้น
ปลากดคังเป็นปลาที่มีลักษณรูปร่าง ยาวเพรียว ส่วนหัวแบนกว้าง ด้านบนของหัวเรียบ ลำตัวด้านบนมีสีม่วงเทาปนดำ ส่วนท้องขาว ปากกว้าง จงอยปากทู่ ตำแหน่งของปากตั้งอยู่ต่ำ ฟันคม ตาไม่มีเยื่อหุ้ม และอยู่ระดับเดียวกับมุมปาก มีหนวด 4 คู่ คือหนวดที่จมูกค่อนข้างสั้น ยาวถึงกึ่งกลางตาเท่านั้น หนวดที่ขากรรไกรยาวเลยครีบหลังเกือบถึงครีบไขมัน โคนหนวดใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่กว่าคู่อื่นอย่างเห็นได้ชัด หนวดใต้คาง และหนวดที่ขากรรไกรล่างยาวถึงฐานครีบอก ครีบหลังมีก้านครีบแข็ง 1 ก้าน มีก้านครีบอ่อน 7-8 ก้าน ก้านครีบแข็งอันแรกของครีบหลังทางส่วนครึ่งล่างของโคนก้านแข็ง มีเงี่ยงแหลมคม แต่ทางส่วนครึ่งบนอ่อน ทำให้ไม่สามารถทำอันตรายต่อคนหรือสัตว์อื่นได้ ครีบอกประกอบด้วยก้านครีบแข็ง 1 ก้าน และก้านครีบอ่อน 8-9 ก้าน ครีบท้องประกอบด้วย ก้านครีบอ่อน 6 ก้าน ครีบก้นประกอบด้วยก้าน ครีบอ่อน 10-11 ก้าน มีซี่กรองเหงือก จำนวน 12 ก้าน ครีบหูมีสีเทาดำ ครีบหางเว้าลึก แฉกบนยาวกว่าแฉกล่าง ครีบหางมีสีแดงเข้มมากกว่าครีบอื่น ๆ ส่วนหน้าของครีบท้องและครีบก้นมีสีขาวปนเหลือง ปลายครีบสีแดง ครีบไขมันมีสีเข้มออกม่วงอมดำ
ปลากดคังจัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในครอบครัวนี้ในธรรมชาติส่วน ใหญ่พบปลาขนาดตั้งแต่ 1-3 กิโลกรัม ความยาว 30-50 เซนติเมตร ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบมีขนาดความยาวถึง 150 เซนติเมตร น้ำหนัก 30 กิโลกรัม และเคยมีผู้พบปลาขนาดน้ำหนักสูงสุด 70 กิโลกรัม
+++++++++++++++++++++++++++++
+++++++++++++++++++++++++++++
ปลาหนังชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemibagrus micropthalmus อยู่ในวงศ์ปลากด(Bagridae) มีรูปร่างคล้ายปลากดเหลือง (Hemibagrus filamentus) และปลากดคัง (Hemibagrus wyckioides) มาก แต่มีส่วนหัวที่แบนราบกว่า และยื่นยาวกว่า ส่วนหลังยกสูง ครีบหลังเป็นก้านแข็ง ปากกว้าง มีหนวดที่ริมฝีปากยาวมากถึงบริเวณครีบก้น ตาเล็กมาก
ส่วนหัวมองจากด้านบน ค่อนข้างกว้าง ครีบไขมันยาว ครีบหางใหญ่ และเว้าลึก ตัวมีสีเทาอมฟ้า หรือเขียวมะกอก ด้านท้องสีจาง ครีบมีสีคล้ำ ครีบหางสีคล้ำ ขนาดใหญ่สุดถึง 1 เมตร พบทั่วไป 60 – 70 เซนติเมตร จับได้โดยเบ็ดราว ข่ายลอย และดำน้ำยิงด้วยฉมวก อาศัยในแม่น้ำและลำธารที่ค่อนข้างลึก พบเฉพาะในแม่น้ำสาละวินและสาขา และถูกจับขึ้นขายเป็นครั้งคราวใน จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นปลาที่มีรสชาติดี เช่นเดียวกับปลากดขนาดใหญ่ชนิดอื่นๆ และนิยมตกเป็นเกมกีฬา ในต่างประเทศพบในอินเดียและพม่าในแม่น้ำอิระวดี
+++++++++++++++++++++++++++++
เป็นชื่อของปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemibagrus filamentus (เดิม Mystus nemurus) อยู่ในวงศ์ปลากด (Bagaridae) มีรูปร่างคล้ายปลากดคัง แต่มีรูปร่างเล็กกว่า
สีข้างลำตัวเป็นสีเหลือง จึงเป็นที่ของชื่อ ขนาดโตเต็มที่ราว 50 ซ.ม.
พบในแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน บริโภคโดยการปรุงสด รมควัน และปลาแห้ง และมีการเพาะเลี้ยงในกระชังเหมือนปลากดคัง
มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลากดช่องหลวง" "ปลากดนา" "ปลากดขาว" หรือ "ปลากดคัง" เป็นต้น
ลักษณะที่แตกต่างระหว่าง ของHemibagrus filamentusกับHemibagrus nemurus
ลักษณะที่แตกต่างระหว่าง ของHemibagrus filamentusกับHemibagrus nemurus
ถ้าครีบหลังไม่ถึงจุดเริ่มต้นของครีบไขมันก็เป็นปลากดเหลือง Hemibagrus nemurusครับ ขอบคุณน้าจิรชัยจากเวปสยามฟิชชิ่งที่ให้ความรู้วิธีการแยก 2 ชนิดนี้ครับ
+++++++++++++++++++++++++++++
+++++++++++++++++++++++++++++
เป็นชื่อปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemibagrus wyckii (เดิม Mystus wyckii) มีรูปร่างค่อนข้างสั้นป้อม หัวและลำตัวตอนหน้าแบนราบกว่าปลาชนิดอื่น ๆ ปากกว้าง ตาค่อนข้างเล็ก ส่วนหลังยกสูง ครีบหลังมีก้านแข็ง ครีบไขมันค่อนข้างยาว หนวดที่ริมฝีปากยาวถึงบริเวณหลัง ตัวมีสีเทาคล้ำหรือดำ ด้านท้องสีจาง ครีบสีคล้ำขอบบนและขอบล่างของครีบหางมีแถบสีขาวเห็นชัดเจน
มีขนาดประมาณ 30 ซ.ม. ใหญ่สุด 70 ซ.ม. พบในแม่น้ำสายใหญ่ทุกภาคของประเทศ และพบไปถึงบอร์เนียว เป็นปลากดที่มีราคาสูงชนิดหนึ่ง นิยมบริโภคด้วยการปรุงสดเหมือนปลากดคัง และยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย ปลากดหม้อ ยังมีชื่อเรียกที่ต่างออกไปเช่น ปลากดดำ, ปลาสิงห์ดำ, ปลากดหางดอก
ชื่อที่ใช้เรียกในวงการปลาสวยงามคือ"มรกตดำ"แต่มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าวมาก ไม่สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้เลย
+++++++++++++++++++++++++++++
เป็นปลาหนังมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sperata acicularis(อดีตAoriichthys seenghala)
ในวงศ์ปลากด(Bagridae)มีลักษณะสำคัญ คือ ส่วนหัวและจะงอยปากยื่นยาวมากที่สุดในกลุ่มปลากดทั้งหมด หัวแบนราบเล็กน้อย ลำตัวทรงกระบอก แต่ด้านหลังยกสูง และเรียวไปทางด้านท้าย ตาเล็กอยู่ด้านบนของหัว ริมฝีปากตัดตรงอยู่ปลายสุดของจะงอยปาก หนวดที่ริมฝีปากยาวมาก ครีบหลังไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบไขมันยาวมาก ครีบหางใหญ่เว้าลึก ตัวมีสีเทาอมฟ้า หรือเขียวอ่อน ด้านท้องสีจาง ครีบสีจาง ครีบไขมันมีดวงสีดำเด่น ขอบขาวที่ตอนปลายท้ายสุด ครีบหางมีสีแดงเรื่อ ๆ
ในวงศ์ปลากด(Bagridae)มีลักษณะสำคัญ คือ ส่วนหัวและจะงอยปากยื่นยาวมากที่สุดในกลุ่มปลากดทั้งหมด หัวแบนราบเล็กน้อย ลำตัวทรงกระบอก แต่ด้านหลังยกสูง และเรียวไปทางด้านท้าย ตาเล็กอยู่ด้านบนของหัว ริมฝีปากตัดตรงอยู่ปลายสุดของจะงอยปาก หนวดที่ริมฝีปากยาวมาก ครีบหลังไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบไขมันยาวมาก ครีบหางใหญ่เว้าลึก ตัวมีสีเทาอมฟ้า หรือเขียวอ่อน ด้านท้องสีจาง ครีบสีจาง ครีบไขมันมีดวงสีดำเด่น ขอบขาวที่ตอนปลายท้ายสุด ครีบหางมีสีแดงเรื่อ ๆ
ขนาดพบใหญ่สุดถึง 1 เมตร ขนาดที่พบทั่วไป 50 เซนติเมตร จับได้โดยเบ็ดราว ข่ายลอย พบเฉพาะในแม่น้ำสาละวิน และสาขาและแม่น้ำตะนาวศรีในพม่า นิยมบริโภคในท้องถิ่นโดยปรุงสด มักถูกจับขึ้นขายในท้องตลาดของ จ.แม่ฮ่องสอน และ อ.แม่สอด จ.ตาก เป็นครั้งคราว
เนื้อมีรสชาติดีพบมีการทำรังวางไข่โดยขุดแอ่งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง1เมตร และเลี้ยงลูกอ่อนถึงขนาด3–4 เซนติเมตร หรืออาจจะใหญ่กว่า แต่ตัวผู้หรือตัวเมียเป็นผู้เลี้ยงยังไม่ทราบแน่ชัด รังที่พบอยู่ในระดับความลึกประมาณ 2 เมตร ในเดือนเมษายน ที่แม่น้ำปายมีพื้นเป็นทรายปนโคลนมีกรวดปนและใกล้กับกองหิน
+++++++++++++++++++++++++++++
ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bagrichthys obscurus (อดีต Bagrichthys macropterus) อยู่ในวงศ์ปลากด (Bagaridae) มีส่วนหัวสั้น จะงอยปากเล็ก ตาเล็กมาก มีหนวดสั้น 4 คู่ คู่ที่อยู่ด้านล่างจะเป็นเส้นแบนบิดเป็นเกลียว ริมฝีปากเล็กเป็นจีบ ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย ส่วนหลังยกสูง ครีบหลังสูง ครีบไขมันยาวมาก ครีบหางเว้าลึก ครีบหลังยกสูงและครีบอกแข็งเป็นก้านแข็งปลายคม ตัวมีสีคล้ำหรือน้ำตาลอ่อน ด้านท้องสีจาง บางตัวอาจมีแถบเฉียงสีจางพาดขวางลำตัว ครีบสีจาง หางใส มีขนาดประมาณ 15 ซ.ม. พบใหญ่ที่สุด 30 ซ.ม.
ขอบคุณ จ้าวน้อยฟิชชิ่ง ที่มีรูปป้าบัวแดง อุ้มปลากดคัง หลังจากปีใหม่ ปลาจากแม่น้ำสาละวิน น้อยลงมาก ส่วนใหญ่จะได้แต่ปลาคม หรือปลากระโห้ เวลาทำอาหารต้องดึงก้างตัว y ออก ...บ้านยอดตำลึง แม่สะเรียง ยังมีรูปปลา ตัวใหญ่ อีกมาก
ตอบลบหมายเหตุ สีตัวหนังสือข้อความ ใช้สีเข้มช่วยให้อ่านง่าย
...ครูพจน์ แม่สะเรียง
ขอบพระคุณอ.สุพจน์ สังข์ลาโพธิ์-แม่สะเรียง ครับผม พอดีเอารูปมาลงไม่ได้ขออณุญาติ ต้องขออภัยจริงๆครับ ค้นหาในอินเตอร์เน็ตเห็นรูปคุณป้าถือปลาแบบได้สัดส่วน เห็นทั้งตัวก็เลยชอบเลยเก็บเอามาลง สำหรับตัวหนังสือเดี๋ยวผมจะแก้ไขนะครับ ขอบพระคูณมากครับผม
ตอบลบบ้านเดิม อยุ่บ้านแหลม เพชรบุรี อาชีพประมง จับปลาทะเล ไปสอนหนังสือที่กรุงเทพ ทำงานลูกเสือจนได้ 4 ท่อน เขียนคู่มือลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่และหนังสือ เงื่อน ไปทำประมงร่วม ไทย-อินโดนีเซีย ทำบังกะโลที่เกาะเต่า อ่าวม่วง เปิดร้านอาหารที่ศรีราชา ชลบุรี มาอยู่แม่สะเรียง ไม่ไปใหนแล้ว
ตอบลบจ้าวน้อย มากินปลาสาละวิน ที่ บ้านยอดตำลึง แม่สะเรียง แวะไปเยี่ยมที่
http://ban-yodtumlueng.blogspot.com/
...ครูพจน์ แม่สะเรียง
แวะเข้าไปชม ban-yodtumlueng.blogspot.com น่าไปเที่ยวมากครับ มีโอกาสจะแวะไปใช้บริการบ้านยอดตำลึงแน่นอนครับ อยากกินปลาคังสาละวินครับยังไม่เคยลองลิ้มเลย ขอบคุณครูพจน์มากนะครับ ถ้ามีใครไปเที่ยวแม่สะเรียง ที่แรกที่ผมจะแนะนำคือ " บ้านยอดตำลึง" แน่นอนครับ
ตอบลบอยากเห็นปลาคังสาละวินตัวใหญ่ๆ
ตอบลบผมอยากรู้ว่าอากาศแบบไหน และช่วงน้ำเป็นยังไงปลากดคังถึงจะเข้าอยู่และมันชอบอยู่ทำเลแบบไหนครับ ผมเป็นคนมุกดาหาร ติดตามเรื่องนี้มานานครับเพราะไกล้จะถึงฤดูการล่าแล้ว ผมมีสูตรเหยื่อหมักของผมแต่มันเหม็นมาก และไม่พลาดเวลาปลาเข้าเวลาปลาไม่เข้าผมก็ได้มากกว่าเพื่อนครับ ถ้าอยากได้สูตรจากผมเข้ามาที่ sagullthai@hotmail.com ผมเป็นคนหาปลาน้ำโขงตั้งแต่เด็กลงโขงไปกับพ่อครับผมไปตั้งแต่ อนุบาล 2 เดี๋ยวนี้ผมอายุ 22 ปีแล้วผมชอบตกปลาช่วงน้ำขึ้นประสบการด้านการมองหาทำเลที่ปลาชุกชุมยังน้อยมากครับแต่เรื่องผลิตเหยื่อหมักผมไม่เป็นรองใครครับเพราะผมถูกสอนมาตั้งแต่เด็กครับเรื่องการทำเหยื่อและผมไม่หวงสูตรครับผมแค่อยากได้คำชี้แนะด้านการหาทำเลตีเบ็ดครับ อาจารนักตกปลากดช่วยชี้แนะด้วยนะครับ
ตอบลบสวัสดีครับ ผมก็ลูกน้ำโขงเช่นกันเลยครับ ผมเป็นคน อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม โตมาได้ก็ด้วยแม่น้ำสายนี้เช่นกันครอบครัวผมก็เป็นบริวารของแม่น้ำโขงหากินกับแม่น้ำโขงมาหลายรุ่น ไม่ว่าจะไหลมอง(อวนลอย) เบ็ดเผือก เบ็ดเผียก(เบ็ดราว)เบ็ดโทงปลาเคิง หรือจะพวกใส่ ตุ้ม ลอบ ไซ แต่ก็มาหยุดที่รุ่นผมเพราะต้องมาหางานทำ แต่ก็ไม่เคยทิ้งการตกปลาจากแม่น้ำสายนี้ได้เลย สภาพอากาศที่มีผลต่อการตกปลากดสำหรับผมก็ไม่ค่อยรู้เรื่องนี้เหมือนกันแต่ที่รู้คือแดดไม่ร้อนอ่ะผมจะไปตก ส่วนมากที่ได้จะเป็นช่วงเ้ช้ามืด ถึง 9 โมง และ ช่วงเย็น 4โมงเป็นต้นไป ทำเลการอาศัย ตามโขดหิน ตอไม้ ซากไม้ ใต้กระชังเลี้ยงปลา ตามประตูน้ำไหล เหยื่อที่ผมใช้ เหยื่อหมักสูตรเย็น(จะได้ไม่เหม็น) ไส้ไก่หมัก ส่วนไส้เดือนมักจะโดนปลากดเล็กกินก่อนทุกที ไว้ผมจะเมลย์ไปขอสูตรเหยื่อนะครับ มีทริปดีๆก็เอามาลงให้ชมด้วยเด้อครับ
ตอบลบ