15 มกราคม 2552

ปลาหมูของไทย

http://www.freewebs.com/tonya_haskell/fish/clownloach2.jpg
  • วงศ์ปลาหมู (Cobitidae)
เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดในอันดับ Cypriniformes จัดเป็นปลาขนาดเล็ก มีลักษณะสำคัญคือบริเวณใต้ตามีกระดูกเป็นหนามโค้งพับซ่อนอยู่ข้างละ 1 ชิ้น ส่วนหัวและจะงอยปากยื่นแหลม ปากเล็กอาจมีติ่งรอบริมฝีปาก มีหนวดสั้น ๆ 3 คู่ ครีบหลังสั้น ครีบอื่น ๆ มีขนาดเล็ก ลำตัวเรียวยาวและแบนข้าง ครีบหางเว้าหรือเว้าลึก ผิวหนังมีเกล็ดขนาดเล็กมากฝังอยู่ จึงไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และมีเมือกปกคลุมตัว

เป็นปลาที่ไม่มีฟันที่ลำคอและขากรรไกร มักอาศัยอยู่ในบริเซรที่น้ำไหลแรง เช่น ต้นน้ำลำธารบนภูเขาหรือน้ำตก มักอาศัยในระดับพื้นท้องน้ำใกล้ซอกหิน หรือโพรงไม้ โดยพบเป็นฝูงใหญ่ กินอินทรียสารและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร บางชนิดสามารถเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว

พบได้กว้างขวางตั้งแต่ทวีปยุโรป ยูเรเชียจนถึงทวีปเอเชีย แบ่งออกเป็นวงศ์ย่อยได้ 2 วงศ์ คือวงศ์ Botiinae กับ วงศ์ Cobitinae รวมทั้ง 2 วงศ์มีสกุลทั้งหมด 27 สกุล (Botiinae 7 สกุล ส่วน Cobitinae 20 สกุล) ในประเทศไทยพบไม่น้อยกว่า 30 ชนิด ซึ่งในภาษาไทยจะเรียกปลาในวงศ์นี้รวม ๆ กันว่า "ปลาหมู" หรือ "ปลาค้อ" และในภาษาอังกฤษจะเรียกว่า "loaches"

มีความสำคัญคือ นิยมบริโภคในบางสกุล บางสายพันธุ์ อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงามด้วย

<<<<++++++++*+*++++++++>>>>

1.>วงศ์Botiinae

สกุลYasuhikotakia 9 ชนิด



1.) ปลาหมูขาว
  • ชื่อไทย หมูขาว หมูหางแดง หมูหางเหลือง
  • ชื่อสามัญ Red-finned Loach, Blue Botia, Redtail Botia.
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Yasuhikotakia modesta
  • ขนาดใหญ่สุดที่พบ 23.5 เซนติเมตร
ปลาหมูขาวพบได้ในแม่น้ำและอ่างเก็บน้ำในภาคกลาง ภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีลำตัวแบนข้างเล็กน้อยและค่อนข้างป้อมกว่าปลาหมูชนิดอื่น ๆ ปลาหมูขาวมีลักษณะลำตัวจากปลายจะงอยปากถึงโคนครีบหางเป็น 2.5 - 2.9 เท่าของความกว้างลำตัว ลำตัวเป็นสีเทาหรือเทาอมเขียว บริเวณด้านหลังสีเข้มกว่าลำตัว ด้านท้องสีอ่อนหรือขาว บริเวณโคนหางมีจุดสีดำ จะงอยปากค่อนข้างยาว ปลายจะงอยปากมีหนวด 2 คู่ และมุมปากมีหนวดอีก 1 คู่ ปากอยู่ปลายสุดและอยู่ในระดับต่ำ ส่วนหัวมีหนามแหลมปลายแยกเป็น 2 แฉก ครีบทุกครีบไม่มีก้าน ครีบแข็ง ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางมีสีเหลืองจนถึงสีส้มหรือแดง เฉพาะครีบหางจะมีสีสดกว่าครีบอื่น ๆ ครีบอกและครีบท้องมีสีเหลืองจาง ครีบหลังมีจำนวนก้านครีบ 9 อัน ครีบก้น 8 อัน ครีบอก 12 - 15 อัน และครีบท้อง 7 - 9 อัน



ปลาหมูขาวมีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุลปลาหมูที่พบในประเทศไทย เท่าที่เคยพบมีขนาด 23.5 เซนติเมตร แต่ขนาดที่พบโดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ย 10 - 25 เซนติเมตร ลักษณะของลูกปลาหมูขาวขนาดเล็กจะแตกต่างกับปลาชนิดอื่นๆ คือ ส่วนหลังจะโค้งลาดเหมือนพ่อแม่ปลา และบริเวณกลางลำตัวจะมีลักษณะสีดำทอดไปตามความยาวของตัวปลา เมื่ออายุได้ 45 - 60 วัน และแถบสีดำที่พาดขวางลำตัวจะหายไปเมื่อลูกปลาโตขึ้นหรือมีอายุประมาณ 5 เดือน บุญยืนและวัฒนา (2533



การเพาะพันธุ์
ฤดูการผสมพันธุ์ของปลาหมูขาว ตามธรรมชาติจะอยู่ช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนประมาณเดือน มีนาคม – กันยายน คัดเลือกแม่พันธุ์ปลาหมูขาวที่สมบูรณ์ที่สุดโดยสังเกตลักษณะของท้อง ซึ่งจะอูมเป่งและช่อเกิดสีชมพูเรื่อ ๆ ส่วนปลาตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าและลำตัวเพรียวกว่า บีบที่ช่องเปิดเบา ๆ จะมีน้ำเชื้อสีขาวขุ่นไหลออกมา ใช้ต่อมใต้สมองปลาไนฉีดครั้งเดียวในจำนวน 1.5 เท่า ฉีดเข้ากล้ามเนื้อเพศเมีย ทิ้งไว้ 6 ชั่วโมง นำปลามารีดไข่ผสมน้ำเชื้อ ไข่จะมีลักษณะกลมสีเทาอมเขียวใกล้เคียงลักษณะไข่ปลาตะเพียน ไข่เป็นประเภทครึ่งลอยครึ่งจม ไข่ปลาหมูขาวใช้เวลาฟัก 12 ถึง 18 ชั่วโมง ในตู้กระจกที่อุณหภูมิของน้ำประมาณ 27 องศาเซลเซียส
การอนุบาลลูกปลา
นำลูกปลาหมูขาวที่ฟักออกเป็นตัวแล้ว มาอนุบาลต่อในมุ้งโอล่อน ขนาด 1 X 1 เมตร2 ซึ่งแขวนไว้ในบ่อซีเมนต์ขนาด 2 X 5 เมตร2 ในโรงเพาะฝักเมื่อลูกปลาอายุ 3 วัน ถุงอาหารยุบจึงเริ่มให้ไข่ต้มสุกบดละเอียดละลายน้ำสาดให้กินวันละ 5 ครั้ง ถ่ายน้ำ 1 ใน 3 ของบ่อทุกวัน ตอนเช้าของวันที่ 7 จึงเริ่มให้ไรแดงมีชีวิตเป็นอาหารวันละ 3 ครั้ง โดยใช้แก้วใสตักน้ำในมุ้งอนุบาลตรวจความหนาแน่นของไรแดงอยู่เสมอ เพื่อให้พอเพียงกับความต้องการของลูกปลา ลักษณะของลูกปลาหมูขาวขนาดเล็กจะแตกต่างกับปลาชนิดอื่นคือ ด้านหลังจะโค้งลาดเช่นพ่อแม่พันธุ์ และบริเวณลำตัวจะมีสีดำทอดไปตามความยาวของตัวปลา เมื่ออายุได้ 20 วัน จะพบแถบสีดำพาดขวางลำตัวประมาณ 7 – 8 แถบ และสีลำตัวจะออกสีเหลืองอ่อน ๆ ลูกปลาจะมีลักษณะเหมือนพ่อแม่พันธุ์ เมื่ออายุได้ประมาณ 45 – 60 วัน และสีดำที่พาดขวางลำตัวจะหายไปเมื่อลูกปลาโตขึ้น หรืออายุได้ประมาณ 5 เดือน



  • ถิ่นอาศัย
อยู่รวมกับปลาหมูชนิดอื่น ๆ หากินบริเวณพื้นหน้าดิน ในแหล่งน้ำไหลตามแม่น้ำ ลำคลอง และหนองบึง ซึ่งทางน้ำเชื่อมกับแม่น้ำ พบมากในภาคกลาง
  • อาหาร
กินแมลง ตัวอ่อนแมลง ซากสัตว์และพืชที่เน่าสลาย
  • ขนาด
ความยาวประมาณ 12-15 เซนติเมตร ขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวถึง 25 เซนติเมตร




  • ประโยชน์
นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เนื้อมีรสชาติดีและใช้ปรุงอาหารได้ดี


ปลาหมูหางเหลือง

<<<<++++++++*+*++++++++>>>>

  • 2.ปลาหมูค้อ
  • ชื่อไทย หมูค้อ หมูก้อ หมูคอก
  • ชื่อสามัญ Skunk botia
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Yasuhikotakia morleti
  • ปลาหมูคอกพบได้ในแม่น้ำโขง เจ้าพระยา
  • ขนาดใหญ่สุดที่พบ 4 นิ้ว

<<<<++++++++*+*++++++++>>>>


  • 3.) ปลาหมูสัก
  • ชื่อไทย หมูสัก
  • ชื่อสามัญ Silver loach
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Yasuhikotakia lecontei
  • ขนาดใหญ่สุดที่พบ 10 นิ้ว

<<<<++++++++*+*++++++++>>>>



  • 4.) ปลาหมูหางจุด
  • ชื่อไทยหมูหางจุด
  • ชื่อสามัญ Speckle-tailed Loach.
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Yasuhikotakia caudipunctata
  • ขนาดใหญ่สุดที่พบ 4 นิ้ว

<<<<++++++++*+*++++++++>>>>


  • 5.) ปลาหมูหางแต้ม

  • ชื่อไทย หมูหางแต้ม
  • ชื่อสามัญ
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Yasuhikotakia splendida
  • ขนาดใหญ่สุดที่พบ 4 นิ้ว
<<<<++++++++*+*++++++++>>>>


  • 6.) ปลาหมูอารีย์
  • ชื่อไทย หมูอารีย์
  • ชื่อสามัญ Dwarf Loach
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Yasuhikotakia sidthimunki
ปลาหมูอารีย์เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดเล็ก จัดอยู่ในวงศ์ปลาหมู ปลาค้อ มีลักษณะ รูปร่างค่อนข้างยาวและแบนข้าง มีสีสันสดใสมาก โดยมีสีเหลืองมะปรางสุก บริเวณส่วนหัว แนวกลางของหลังและลำตัว ส่วนท้องมีสีขาวงาช้าง บริเวณหัวมีแถบ สีน้ำตาลดำ 2 แถบ ขนานกันไปตามแถบสีเหลืองบริเวณหลัง แถบนี้จะไปสิ้นสุดบริเวณคอดหาง และยังมีแถบสีน้ำตาลดำ ที่มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ส่วนปากผ่านแนวลูกตาตามเส้นข้างตัวไปจนถึง จุดเริ่มต้นของครีบหาง



ในธรรมชาติพบปลาหมูอารีย์อาศัยอยู่บริเวณพื้นท้องน้ำที่มีพืชน้ำ หาดน้ำตื้น ซึ่งมีกระแสน้ำเชี่ยว น้ำถ่ายเทอยู่ตลอดเวลา คุณสมบัติของน้ำดี จากรายงานพบว่า ปลาหมูอารีย์เคยพบชุกชุมที่แม่น้ำแม่กลอง แควน้อย จังหวัดราชบุรีและกาญจนบุรี บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ และลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง ที่เมืองปากเซ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แต่ปัจจุบันพบปลาชนิดนี้เฉพาะลำธาร ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยเท่านั้นได้แก่ ที่บริเวณแม่น้ำว้า อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดน่านได้เริ่มทำการศึกษาชีววิทยาบางประการของปลาหมู อารีย์ เพื่อพัฒนาเทคนิค การเพาะขยายพันธุ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 จนกระทั่งประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ผสมเทียมเมื่อเดือน มิถุนายน 2542 โดยการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์



การเพาะปลาหมูอารีย์ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องที่สถานีประมงน้ำจืดจังหวัด น่าน โดย นายวิวัฒน์ ปรารมภ์ หัวหน้าสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดน่าน และคณะ นำพ่อแม่พันธุ์อายุ 2 ปี 3 เดือน ที่ได้จากการเพาะพันธุ์ผสมเทียมเมื่อเดือนมิถุนายน 2542 มาเพาะพันธุ์โดยการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ สามารถกระตุ้นให้แม่ปลาตกไข่ได้ในเวลา 14 - 15 ชั่วโมง เป็นไข่ครึ่งจมครึ่งลอยลักษณะกลมสีขาวอมเหลือง ฟักออกเป็นตัวภายใน 12 - 13 ชั่วโมง ลูกปลามีความยาว 3.06 มิลลิเมตร และมีการพัฒนารูปร่างเหมือนโตเต็มวัยเมื่ออายุได้ 50 วัน ปัจจุบันลูกปลามีอายุ 2 ปี



อธิบดีกรมประมงกล่าวว่า การเพาะและอนุบาลปลาหมูอารีย์ของกรมประมง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเลี้ยงลูกปลา รุ่นที่ 2 ให้เป็นพ่อแม่พันธุ์เพื่อตกลูก รุ่นที่ 3 หากทำสำเร็จในหลักพันธุกรรมถือว่าเป็นการอนุรักษ์แบบสมบูรณ์ที่สัตว์ประเภท นี้ จะไม่สูญพันธุ์ไปจากโลก ซึ่งผลการทดลองขณะนี้เป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากปลาสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเลี้ยงในตู้ กระจกได้มากขึ้นและสามารถเจริญพันธุ์จนมีไข่ได้ คณะผู้วิจัยจะได้ทำการเพาะพันธุ์ในรุ่นต่อๆ ไปให้ได้ปริมาณเพิ่ม มากขึ้นและทดลองเลี้ยงให้ปลามีสีสันที่สวยงามเหมือนในธรรมชาติต่อไป มั่นใจว่าในอนาคตกรมประมงจะสามารถ ถอดปลาหมูอารีย์ออกจากบัญชีรายชื่อสัตว์น้ำห้ามครอบครอง และห้ามจำหน่าย มาเป็นสัตว์น้ำคุ้มครองที่จำหน่าย ได้จากการเพาะพันธุ์ ผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ นายวิวัฒน์ ปรารมภ์ หัวหน้าสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดน่าน ตำบลกองควาย อำเภอเมือง จังหวัดน่าน หมายเลขโทรศัพท์ 0 - 5479 - 3010 ในวันและเวลาราชการ ๏

<<<<++++++++*+*++++++++>>>>

  • 7.) ปลาหมูน่าน
  • ชื่อไทย หมูน่าน หมูน้ำว้า บง หมูงวง
  • ชื่อสามัญ
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Yasuhikotakia nigrolineatus
  • ขนาดใหญ่สุดที่พบ 10-12 เซนติเมตร
ปลาหมูน่าน ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Yasuhikotakia nigrolineata ในวงศ์ปลาหมู (Cobitidae) มีรูปร่างและสีสันคล้ายคลึงปลาหมูอารีย์ (Y. sidthimunki) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียว กัน แต่ว่าปลาหมูน่านลายจะเป็นแถบยาว เมื่อปลาใหญ่ขึ้นมาลายตามยาวจะขาดเป็นท่อน ๆ และจะเกิดลายขวางเพิ่มมากขึ้น โดยที่ลายแถบของปลาหมูน่านจะมีราว 8-10 แถบ ในขณะที่ปลาหมูอารีย์ ซึ่งจะมีแค่ 5-8 แถบ ดังนั้นเมื่อมองด้วยตาเปล่าแล้วจะพบว่า ลายเส้นของปลาหมูน่านจะใหญ่และหนากว่าของปลาหมูอารีย์ อีกทั้งเมื่อโตเต็มที่แล้วจะมีขนาดลำตัวใหญ่กว่าปลาหมูอารีย์ คือ มีความยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร


ถูกค้นพบครั้งแรกที่แม่น้ำโขง ในเมืองหาน เขตปกครองตนเองสิบสองปันนา มณฑลยูนาน สำหรับในประเทศไทยพบได้ที่แม่น้ำว้า อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน


ปลาหมูน่านเคยถูกสับสนว่าเป็นปลาหมูอารีย์ ด้วยเหตุที่มีรูปร่างและสีสันคล้ายคลึงกัน รวมทั้งเคยถูกจับส่งขายเป็นปลาสวยงามโดยใช้ชื่อของปลาหมูอารีย์ด้วย ดังนั้นจึงได้รับฉายาวงการปลาสวยงามว่า "ปลาหมูอารีย์ปลอม"


มีชื่อเรียกในภาษาท้องถิ่นว่า "บง" หรือ "หมูงวง"
ความแตกต่างระหว่างปลาหมูอารีย์ กับปลาหมูน่าน คลิ้กเลยครับ

<<<<++++++++*+*++++++++>>>>

  • 8.) ปลาหมูค้อลายแถบ
  • ชื่อไทย
  • ชื่อสามัญ
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Yasuhikotakia longidorsalis
  • ขนาดใหญ่สุดที่พบ 3 นิ้ว (8 ซ.ม.)

<<<<++++++++*+*++++++++>>>>

  • 9.) ปลาหมูแดง
  • ชื่อไทย หมูแดง
  • ชื่อสามัญ Sun loach
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Yasuhikotakia eos
  • ขนาดใหญ่สุดที่พบ 4.25 นิ้ว (11ซ.ม.)

<<<<<<<<<<++++++++*+*++++++++>>>>>>>>>>>


สกุลSyncrossus 3 ชนิด

  • 1.) หมูข้างลาย
  • ชื่อไทย หมูข้างลาย หมูท่อก เขี้ยวไก้ แข้วไก้
  • ชื่อสามัญ TIGER LOACH
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Syncrossus helodes
  • ขนาดใหญ่สุดที่พบ 12 นิ้ว
เป็นปลาน้ำจืดลำตัวป้อม ลำตัวเรียวแบนทางด้านข้าง ลำตัวเป็นสีเทาปนเหลืองจะงอยปากเล็กเรียว ตรงปลายมีหนวดเป็นกระจุก ปากมีขนาดเล็ก ตาเล็ก มีเงี่ยงแหลม ปลายแยกเป็น 2 แฉกอยู่หน้าตา ครีบหางปลายแยก เป็นแฉกลึก ครีบหลังอยู่กึ่งกลางลำตัว ครีบหู ครีบท้อง และครีบก้นขนาดใกล้เคียงกัน ลำตัวเหลืองแกมเขียว มีริ้วสีน้ำเงินเข้ม พาดขวางลำตัวราว11-14 แถบ คล้ายลายเสือ



ครีบหู ครีบท้อง และครีบก้นเป็นสีเหลืองสด หรือ ส้มเหลือง มีจุดเล็กเรียงไปตามแนวลำตัว เป็นปลาที่มีรสอร่อยมาก ไม่มีก้างฝอย ขนาดตัวยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร จะหากิน ตามพื้นท้องน้ำตามโขดหินและก้อนหินลักษณะทั่วไป

  • ถิ่นอาศัยในแหล่งน้ำไหล แม่น้ำ ลำคลอง ชอบซุกซ่อนตามตอไม้ ซอกหิน และพื้นดินโคลน
  • อาหาร แมลงและตัวอ่อนของแมลง ไส้เดือน
  • ขนาดความยาวประมาณ5-30 เซนติเมตร

  • ประโยชน์
นิยม เลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เนื้อใช้ปรุงอาหารได้ดี การมีรสอร่อยของปลาชนิดนี้ หากจับได้จำนวนมากและนำไปจำหน่าย จะได้ราคาสูงทำรายได้ดีพอสมควร และถ้าสามารถเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้ ก็จะเป็นประโยชน์ทาง เศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ตัวอย่างอาหาร หมกปลาหมู เมนูอื่นก็จะเป็น ปิ้ง ย่าง ทอด

<<<<++++++++*+*++++++++>>>>

  • 2.) ปลาหมูจุด
  • ชื่อไทย ปลาหมูจุด หมูเสือ หมูลายเสือ
  • ชื่อสามัญ Spotted loach
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Syncrossus beauforti
  • ขนาดใหญ่สุดที่พบ 7 นิ้ว
เป็นปลาในครอบครัวปลาหมู (Family Cobitidae) นิยมรวบรวมจากธรรมชาติแล้วนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเพื่อการส่งออกต่างประเทศ ลำตัวมีสีสะดุดตา โดยลำตัวและหัวเป็นสีเขียวปนเทาอ่อน ๆ ครีบหลังและครีบหาง เป็นสีส้ม มีจุดสีดำ มีถิ่นอาศัยในแม่น้ำเจ้าพระยาและสาขาแม่น้ำท่าดี จังหวัดนครศรีธรรมราช (สมโภชน์ และกาญจนรี, 2543) โดยพบปลาหมูจุดครั้งแรกที่บริเวณน้ำตกแถวบ้านคีรีวงศ์จังหวัดนครศรีธรรมราช (Smith, 1945)



ปลาหมูจุดมีลักษณะลำตัวเรียวยาว แบนข้าง เกล็ดมีขนาดเล็ก เป็นเกล็ดแบบ cycloid ที่ฝังแน่นอยู่ในผิวหนัง ส่วนหัวแหลมค่อนข้างยาว ความยาวหัวมากกว่าความลึกลำตัว มีหนวด 3 คู่ ความยาวใกล้เคียงกัน อยู่ที่ปลายจะงอยปาก 2 คู่ และขากรรไกรบน 1 คู่ ปากมีขนาดเล็กตั้งอยู่ในระดับต่ำกว่าจะงอยปาก (inferior mouth) ครีบหลังประกอบด้วยก้านครีบอ่อน 9 ก้าน ครีบอกประกอบด้วยก้านครีบอ่อน 14 ก้าน ครีบท้องประกอบด้วยก้านครีบอ่อน 8 ก้าน ครีบก้นประกอบด้วยก้านครีบอ่อน 5 ก้าน มีเส้นข้างตัวสมบูรณ์อยู่ในแนวกลางลำตัว

ปลาหมูจุดหรือปลาหมูลายเสือ เป็นปลาท้องถิ่นชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ในระบบแม่น้ำของจังหวัดพิษณุโลก โดยเฉพาะในแม่น้ำแควน้อยตั้งแต่บริเวณที่กำลังก่อสร้างเขื่อนแควน้อยอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นไปจนถึงต้นน้ำ พบเฉพาะตามโขดหินที่มีกระแสน้ำไหลเอื่อยๆ

<<<<++++++++*+*++++++++>>>>

  • 3.) ปลาหมูจักพรรดิ์
  • ชื่อไทย หมูจักพรรดิ์ หมูจุดพม่า
  • ชื่อสามัญ
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Syncrossus berdmorei
  • ขนาดใหญ่สุดที่พบ 10 นิ้ว

<<<<++++++++*+*++++++++>>>>


สกุลBotia 3ชนิด

  • 1.) ปลาหมูลายเมฆ

  • ชื่อไทย หมูลายเมฆ
  • ชื่อสามัญ
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Botia kubotai
  • ขนาดใหญ่สุดที่พบ 5 นิ้ว
<<<<++++++++*+*++++++++>>>>



  • 2.) หมูพม่าลายแถบ
  • ชื่อไทย หมูพม่า หมูพม่าลายแถบ หมูม้าลาย
  • ชื่อสามัญ
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Botia histrionica
  • ขนาดใหญ่สุดที่พบ 5 นิ้ว

<<<<++++++++*+*++++++++>>>>

  • 3.) หมูพม่าลายคู่

  • ชื่อไทย
  • ชื่อสามัญ
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Botia aff. rostrata
  • ขนาดใหญ่สุดที่พบ

<<<<++++++++*+*++++++++>>>>
  • สกุลSinibotia 1 ชนิด

  • 1.) ปลาหมูยูนาน
  • ชื่อไทย หมูยูนาน
  • ชื่อสามัญ
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Sinibotia longiventralis
  • ขนาดใหญ่สุดที่พบ 4 นิ้ว

<<<<++++++++*+*++++++++>>>>

ขออภัยครับข้อมูลยังไม่สมบูรณ์ ใครมีข้อมูลรบกวนช่วยผมด้วยครับ









9 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ29 มกราคม 2552 เวลา 22:19

    ไม่เคยเห็นมาก่อนเลยอ่ะ สวยดี ชื่อไทยมาก ๆๆ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณที่แวะเข้ามานะครับ ข้อมูลปลาเหล่านี้ยังไม่สมบูรณ์ต้องขออภัยด้วยนะครับ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ15 มีนาคม 2552 เวลา 17:34

    ขอบคุณมากๆ ครับ ขอชมด้วยใจจริง
    สุเทพ

    ตอบลบ
  4. ขอถามคุณจ้าวน้อยหน่อยนะครับ ผมไปร้านปลาร้านนึงมา เขาได้แยก ปลาหมูไว้สองตู้ ซี่งผมคิดว่าเป็นปลาหมูหางแดง แน่ๆ แต่พอถามราคาก็แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เขาบอกผมว่า ตู้ 1 คือหมู หางแดง อีกตู้นึง คือ หมูขาว
    แต่หมูขาวมีสีซีดๆ ไม่เข้มเหมือนหมูหางแดง ที่เขาว่าเลย

    ผมอยากจะถามว่าตกลงมันคือชนิดเดียวกันใหม

    หมูหางแดง 120 บาท หมูขาว 30 บาท

    ตอบลบ
  5. หมูขาว = Yasuhikotakia modesta (Bleeker 1864) นอกจากนี้ ก่อนหน้าจะจำแนกแยกสกุลออกจาก Botia. มีหมูชนิดนึงเขาเรียกว่า หมูแดง ตอนนั้นใช้เป็น Botia rubripinnis Sauvage 1876 และก็มีหมูขาว Botia modesta Bleeker 1864 แต่เมื่อมีการตรวจสอบปลาหมูทั้ง 2 ชนิด พบว่าจริงๆแล้วเป็นชนิดเดียวกัน ปัจจุบันเลยใช้ชื่อเดียวกันคือ Yasuhikotakia modesta (Bleeker 1864)

    หมูครีบแดง = Yasuhikotakia eos (Taki 1972)
    เพราะฉะนั้น ถ้าไม่เห็นรูปจึงขออนุมานไว้ก่อนว่า ปลาหมูที่กล่าวมาคือ หมูหางแดง สันนิษฐานว่าใช่ หมูครีบแดงหรือเปล่า ส่วนหมูขาวก็คือ หมูขาวครับ.นอกจากนี้ถ้าเป็นปลาเต็มวัย หมูขาวจะมีจุดดำบริเวณขอดหางด้านบน ในขณะที่หมูครีบแดงจะมี แต้มดำใหญ่บริเวณขอดหาง หรือถ้าให้ละเอียดลงไปอีกหน่อยก็นับก้านครีบหลัง หมูครีบแดงก้านครีบ = 10-11 ส่วนหมูขาวก้านครีบ= 7-9 ว่าแต่ว่าต้องรู้ก่อนว่า 2 ชนิดของเรากับ 2 ชนิดที่ผมเข้าใจนั้นตรงกันหรือเปล่า?

    ตอบลบ
  6. ผมก็คิดว่าน่าจะเป็นปลาหมูครีบแดง หรือหมูแดง Yasuhikotakia eos (Taki 1972) ตามรูปชนิดที่9 กับหมูขาว Yasuhikotakia modesta (Bleeker 1864) แต่ก็ยังไม่ทิ้งหมูหางแดงเพราะเมื่อก่อนตอนใช้สกุลBotia. หมูหางแดงกับหมูขาว เป็นคนละชนิดเหมือนที่น้าจิรชัยบอกครับพึ่งจะเอามารวมกันตอนหลังนี่เอง ก็ถ้ามองลักษณะของหมูขาวกับหมูหางแดง หมูขาวสีซีด หมูหางแดงสีสดกว่า ส่วนตัวผมความรู้ในการแยกลักษณะทางชีวภาพของปลายังน้อยนิด แต่ถ้ามีรูปมันก็จะง่ายขึ้นหน่อยครับ แล้วคุณได้ปลาตัวไหนมาครับ ถ้าเป็นผมก็เอาตัวที่สีสดใสไว้ก่อน ชอบ

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ13 ตุลาคม 2552 เวลา 21:54

    เพิ่งลอง เล่นปลาหมู จากที่เคยเล่นประเภท หมอใหญ่ หมอสี มาลาวี (ออกลูกออกหลานเป็นสิบๆ เริ่มในบ่อแหล่ะ...พ่อกำลังจะให้คนมาเอาไปประมงอยู่เนี่ย) ส่วนครอสบริด พวก red , flower horn เขียว หรือ นกแก้ว มักมีจุดจบตามเวลาของมัน ช่วงที่ตัิดสินใจเปลี่ยนไม่เล่นหมอแล้ว เพราะ สงสารมันเวลาใกล้สิ้นใจ มักเป็นโรดเดิมๆ ที่แก้ไม่ได้ รอแต่เวลา เคยเล่นใหญ่สุดก็ ครึ่งศอก เมื่อก่อนขาโหด ให้ปลาหมอใหญ่พวก มากูเซ่ กับ บัตเตอร์อยู่ด้วยกัน สู้กันจนสิ้นใจกันไปข้าง ... คิดแหล่ะ..ปลาหมูก็ดี ไม่แพงมาก เลี้ยงรวมได้ ตัวไม่ใหญ่มาก (แต่ปลาแพะ ก็น่ารักดี โดยเฉพาะน้องปลาแพะแพนด้า มันแพนด้าจริงๆ)...อุ้ย สาธยายซะเยอะเลย ..โทษทีนะค่ะ >>> WHITE <<<<

    ปล. ซื้อมาตัวนึงลืมมัน รู้แต่ว่าแพงตั้ง 160 บาท ตัวใหญ่พอควร ..อยากทราบชื้อจัง

    ตอบลบ
  8. แหม!..เลี้ยงแต่ที่ผมอยากเลี้ยงทั้งนั้นเลยครับ อิจฉา

    ตอบลบ

.ขอบคุณที่แวะเข้ามาครับ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

เชิญแวะที่:
thainitaห้นย

จ้าวน้อยฟิชชิ่ง ตกปลาฮาเฮ เร่ไปเพราะใจสั่งมา © 2009. Powered by  MyPagerank.Net