21 กุมภาพันธ์ 2552

เกาะลอย อ.ขลุง เมืองจันท์

Photobucket

หลังจากไม่ได้ไปตกปลาไหนมานาน ก็มีโอกาศดีๆสักทีเมื่อพี่ชายชวนไปตกปลากดหลังจากครั้งที่แล้วเค้าไปตกมาได้หลายโล

Photobucket

ตะลอนทัวร์ด้วยมอไซด์ฮ้าง 2 คัน 4 คน จากเมืองจันท์มาถึง อ.ขลุง ประมาณ 40 โล ก็มาถึงจุดนัดพบ เดินเท้าไปขึ้นเรืออีก 20 เมตร มีเครื่องเสียงฉบับมือถือมาด้วย เปิดเพลงตลอดทาง ผมละเสียวโดนเจ้าถิ่นกระทืบเหลือเกิน

Photobucket

เครื่องเสียงพกพาของช่างระ ระบบเสียงสุดยอด กระหึ่มทั่วคุ้งน้ำ ยั่วยวนอวัยวะเบื้องล่างของวัยรุ่นเ้จ้าถิ่นได้อย่างดี แต่ผิดคาดกลับได้รับความสนใจขนาดขอไปยืมฟังกันทีเดียว (ก็เรามาดี ผีคุ้มอยู่แล้ว เหอๆ)

Photobucket

มาถึงก็ลงเรือกันเลยเพราะมีเวลาแค่ 2-3 ช.ม. ไปกันทั้งหมด 6 คน น้องโน๊ต(เสื้อแดง) ,ช่างระ(เสื้อเหลือง) ,
แล้วเสื้อเทาที่นั่งอยู่ข้างบน หมี (ไม่ได้ไปด้วยแต่อยากแนะนำ 555)


Photobucket

ส่วนนี่ ต่าย นึกว่าจะเอาเก้าอี้มาให้ผมนั่ง ที่ไหนได้เป็นของใต๋ซะงั้น เก้าอี้ประจำตำแหน่ง

Photobucket

ใต๋สากับพี่เพชร พี่ชายของผมเอง มาเป็นดีเจ กะ กินเหล้าอย่างเดียว
ส่วนอีกคน ชื่อเพชรเหมือนกัน และก็ผม จ้าวน้อย ครบ 7 หน่อ

Photobucket

ชุมชนแถวนี้เป็นชุมชนประมงครับ ใช้ชีวิตอยู่ติดกับคลอง ถ้าจำไม่ผิดชื่อชุมชน เกาะลอย พอดีถามเค้าตอนเมา กลัวจำผิดจังแฮะ

Photobucket

เริ่มออกเดินทาง เลาะเรียบไปตามลำคลองสายเล็ก ด้วยใจมุ่งมั่นและมุ่งหวังว่าจะได้สัมผัสกับฝูงปลากดที่ฉวยเหยื่อแบบบ้าระห่ำ ทิ้งกินๆปลดเบ็ดแทบไม่ทัน (ก็ครั้งที่แล้วพี่ผมมันบอกอย่างนี้จริงๆ)

Photobucket

ตอนนี้ยังพอมีรอยยิ้มที่เต็มเปี่ยมๆ โดนแน่ๆ

Photobucket

แวะซื้อสะเบียง อาหาร เครื่องดื่ม คลองที่นี่มันเชื่อมติดกัน มีร้านค้าติดคลอง แวะจอดเรือซื้อของได้ง่ายดาย

Photobucket

เจ้าถิ่นเตรียมพร้อมไปหากิน น่าจะวางอวนปลากระบอก


Photobucket

ออกมาจากปากคลองสู่คลองเต็มตัวแล้ว คลองนี้เชื่อมออกทะเลได้เลยครับ

Photobucket

ระบบนิเวศน์ที่นี่ยังสมบูรณ์ดีครับ สังเกตุจากต้นโกงกาง ต้นลำแพน ลำพูที่มีตลอดสองฟากฝั่ง

Photobucket

อันนีีน่าจะเลี้ยงหอยนางรม

Photobucket

มีเหยี่ยวหลายตัวบินว่อนอยู่ครับพยายามถ่ายให้ได้แต่จนปัญญากับกล้องเก่าๆตัวนี้

Photobucket

หลักรอ หรือ โพงพางหลักครับเครื่องมือหากินของชาวประมง เป็นเครื่องมือประมงที่ใช้อวนรูปถุง ปากอวนติดตั้งให้การรับสัตว์น้ำที่พัดตามกระแสน้ำเข้าถุงอวน โพงพางหลักเป็นโพงพางที่พบมากที่สุด อวนเป็นรูปถุงปากกว้าง ปากอวนสูงใกล้เคียงกับความลึกของน้ำช่วงขึ้นสูงสุดขนาดประมาณ 4x4 หรือ 8x6 เมตร ความยาวจากปากอวนถึงก้นถุง 20 - 25 เมตร ตัวอวนจะเรียวเล็กลงปากอวนจะวางในทิศทางหันรับกับกระแสน้ำ มักห่างกันตามขนาดปากอวน ราว 4-8 เมตร ด้านบนมีไม้คาดไว้กันไม้หลักเอนเข้าหากัน ปากอวนจะมัดกับเสาหลัก ส่วนตัวอวนจะกดไว้ด้วยไม้กด โดยไม่ใช้ทุ่นและตะกั่วถ่วง ส่วนเนื้ออวนเป็นโพลีเอทธีลีน ที่บริเวณปากจะมีขนาดใหญ่ที่สุด แล้วเล็กลงมาตามลำดับ ส่วนที่เป็นก้นถุงยาว 1.5 - 3 เมตร มักใช้ขนาดตา 1.5 - 2.5 เซนติเมตร ปลายถุงสามารถเปิดออกได้โดยมัดเชือกไว้ การวางโพงพางจะทำหลายช่องเรียงกันเป็นแถวประมาณ 6 -10 ช่อง ทำได้ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน ในช่วงน้ำขึ้นเต็มที่หรือลงเต็มที่โดยประกอบอวนเข้ากับไม้กดอวน แล้วนำไปผูกกับไม้หลัก แล้วจอดเรือไม้ที่ตำแหน่งก้นถุง รอให้กระแสน้ำพัดสัตว์น้ำเข้าอวนสักพักขึงกู้ก้นอวนขึ้นมา เทสัตว์น้ำออก แล้วมัดก้นถุงวางใหม่ต่อไป โพงพางจะใช้ที่ระดับน้ำลึกประมาณ 1 -6 เมตร และสามารถทำได้ตลอดทั้งปี สัตว์น้ำที่จับได้ คือ กุ้ง ปู ปลา หมึก

Photobucket

ใกล้ถึงหมายแล้วสีหน้าทุกคนเปี่ยมไปด้วยความหวังอันสูงสุด


Photobucket

หลักรออีกชุดนึง มีอยู่หลายจุดเหมือนกัน คลองทุกที่ที่เชื่อมต่อทะเลผมเห็นมีทุกที่ครับสำหรับหลักรอ

Photobucket

ถึงหมายแล้วใต๋สาก็ประกอบชุดทันที หมายนี้ไม่ใช่หมายเดิมที่พี่ผมมาครั้งที่แล้วครับ เพราะต้องนั่งเรือไปเป็นช.ม. เนื่องด้วยเวลาจำกัดเลยตกเอาหมายใกล้ๆ มาถึงป่าช้าแล้วก็ต้องยอมลงหลุม

Photobucket

น้องโน๊ตเตรียมหยดน้ำมาตีปลาช่อน ต้องเปลี่ยนแนวมาตกปลากดแทน

Photobucket

นานๆจะเข้ากล้องกะเค้า ก็มีแต่ภาพมืดๆดำๆ เฮ้อ!

Photobucket

หัวเรือก็กุลีกุจอมัดเบ็ด แต่มัดไม่เป็น อะพี่ช่วยหน่อย กรึ้บถี่ไปหน่ิอยตาลาย เหอๆ

Photobucket

และแ้ล้ว ต่ายก็วัดป้าบ เข้าให้ มาแล้วปลาตัวแรกไม่แห้วแล้วพวกเรา

Photobucket

มันคือปลากุเลานี่เอง (สำนวนคุ้นๆเหมือนได้ยินมาจากสารคดีตกปลา หุหุ)

Photobucket

ปลากุเรา
ชื่อสามัญ Fourfinger threadfin
ชื่อวิทยาศาสตร์ Eleutheronema tetradactylum

ลักษณะทั่วไป รูปร่างยาวเรียว ลำตัวค่อนข้างหนา แบนข้าง หัวค่อนข้างเล็ก จะงอยปากสั้น ตามีเยื่อไขมันปกคลุมและอยู่ใกล้ปลายจะงอยปากเฉียงขึ้นเล็กน้อย และมีฟันแหลมคม ลักษณะเด่นคือ ก้านครีบส่วนล่างของครีบหูแยกออกเป็นเส้นระยางค์ 4 เส้น ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่าหนวด มีครีบหลังแยกห่างกัน 2 อัน ครีบหางเป็นแฉกลึก ส่วนของลำตัวที่อยู่แนวสันหลังสีเทาปนเขียว ส่วนที่อยู่ถัดลงมาสีเนื้อและสีขาวเงิน ครีบหลังและครีบหางมีรอยแต้มสีเทาที่ปลายครีบอื่น ๆ สีเหลือง
ขนาด โดยทั่วไปยาวประมาณ 40-60 ซม. ขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวถึง 2 เมตร
อาหาร กินลูกกุ้ง ลูกปลา และสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่บริเวณหน้าดิน
ถิ่นที่อยู่อาศัย หากินอยู่ตามหน้าดินที่เป็นดินโคลน บางครั้งเข้าอยู่ในน้ำกร่อย พบทั่วไปในอ่าวไทย
ประโยชน์ เนื้อมีรสชาติดีเลิศ เมื่อนำมาทำปลาเค็ม

Photobucket

เมื่อมีตัวแรก ก็มีรอยยิ้ม และคิดว่าต้องมีตัวต่อไป

Photobucket

และแ้ลวช่างระก็วัดปลาตัวที่ 2 ตามขึ้นมา ความกดดันถาโถมเข้ามา ทำไมเราไม่ได้สักทีว้า

Photobucket

มันคือ ปลาดอกหมากกระโดง หรือ ปลาฝ้าย
ชื่อสามัญ
WHIPFIN MOJARRA
ชื่อวิทยาศาสตร์
Gerres filamentosus (Cuvier & Valenciennes)
ถิ่นอาศัย
ชายฝั่งทะเลตื้น ๆ ปากแม่น้ำ
อาหาร
สัตว์น้ำและพืชขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 11-22 เซนติเมตร

Photobucket

ได้2ตัวแล้ว อย่างน้อยก็ไม่แห้ว (แต่ผมสิยังไม่ได้จั้กตัวเลย)

Photobucket

ยังรอลุ้นท่ามกลางความมืด และฝูงแวมไพร์ปากยาว ลืมไฟมาได้นะใต๋555

Photobucket

มาอีกแล้วกับปลากดน้อยของต่าย วันนี้หมานจริงๆ เฮ้อเรารอดมั้ยเนี่ย

Photobucket

ตามมาด้วยปลาจรวดของโน๊ต สีสรรสวยงาม

Photobucket

ดีเจเพชร จัดเพลง จั่งซี้มันต้องถอน หลายรอบแล้วนะเพ่ สงสัยชอบเพราะเมาทุกวัน

Photobucket

น้ำนิ่งดี แต่มีฟ้าแลบตลอด ตกลงนี่มันฤดูอะไรกันแน่เนี่ย

Photobucket

รอลุ้นกันต่อไป ไม่หวั่นแม้วันเมามาก

Photobucket

จนมีใครบางคนเผลอหลับไป....ทุกงาน

Photobucket

พี่เพชรผมยังจัดเพลงโดนใจขาโจ๋โลโซขี้เมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Photobucket

และแ้ล้วโน๊ตก็ต้องสะดุ้งตื่นสุดตัวเมื่อคันเกือบโดนฉุดทึ้งลงผืนน้ำหลังจากครั้งที่แล้วสังเวยคันสุดสวยกะรอกชิมาโน่ตัวงามให้พระแม่คงคา ครั้งนี้เลยรีบคว้าและอัดเจ้าปริศนาใต้น้ำขึ้นมา

Photobucket

มันคือไอ้โอ๊บ ปลาที่พวกเราเบื่อเหลือเกิน หน้าตาไม่หล่อแล้วชอบกลืนเบ็ดจัง ใต๋สาบอกเดี๋ยวเอาไปต้มยำเนื้อขาวยังกะไก่ จะกินลงมั้ยเนี่ย

Photobucket

จากนั้นฝนก็เริ่มปรอยครับก็เลยต้องปิดทริปนี้เร็วก่อนกำหนด

Photobucket

ได้กับข้าวมื้อนึงก็เพียงพอแล้วเนอะ

Photobucket

กลับถึงบ้านน้องขิมบอกว่าทำไมไม่ชวนหนูไปด้วย (ลูกสาวคนโต)

Photobucket

ส่วนน้อง เคส ลูกคนเล็กบอกว่า ไปแห้วมาอีกแล้วดิ ถูๆๆๆๆๆถูกต้องแล้วครับ..หวัดดีครับ...555

คลิ้กที่นี่เพื่ออ่านต่อ......

17 กุมภาพันธ์ 2552

ปลาหมอไทยไทย


  • ปลาหมอไทย
  • ชื่อสามัญ Climbing perch
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Anabas testudineus
  • ชื่อไทย ปลาหมอ เข็ง สะเด็ด อีแกบูยู
ปลาหมอ ปลาน้ำจืดพันธุ์พื้นเมืองของไทยแต่โบราณ เป็นปลาที่รู้จักและนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศไทย อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วๆไป เป็นปลาที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษช่วยหายใจ(labyrinth organ)อยู่ในช่องเหงือกใต้ลูกตา จึงสามารถอยู่บนบกได้นาน ชอบปีนป่ายขึ้นมายามฝนตก ว่ายทวนน้ำเพื่อไปหาอาหาร และชอบขึ้นมาพ่นน้ำปุดๆ เมื่อน้ำนิ่ง จึงทำให้มันติดเบ็ดได้ง่ายดายกว่าปลาอื่นๆ จนนำมาเป็นสำนวนไทยที่ว่า "ปลาหมอตายเพราะปาก" ซึ่งแปลว่าคนที่พูดพล่อยๆ จนเป็นอันตรายแก่ตนเอง


ปลาหมอสามารถปรับตัวเจริญเติบโตเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำกร่อยที่มีความเค็มไม่เกิน 7 ส่วนในพันได้ ปลาหมอไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า ปลาเข็ง ภาคเหนือเรียกว่า สะเด็ด ภาคใต้ตอนล่างเรียกชื่อเป็นภาษายาวีว่า อีแกบูยู ชาวบ้านทั่วๆไปเรียกว่า ปลาหมอ พบมากในแถบจีนตอนใต้ อินโดจีน ไทย มลายู พม่า อินเดีย ศรีลังกา ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย


รูปร่างลักษณะภายนอก

ปลาหมอไทยมีลำตัวค่อนข้างแบนลำตัวมีสีน้ำตาลดำหรือคล้ำ ส่วนท้องมีสีขาวหรือเหลืองอ่อน ลักษณะเด่นคือ มีเกล็ดแข็งห่อหุ้มตัวโดยตลอด ดวงตากลมโต ปากแยงขึ้นเล็กน้อย กระพุ้งแก้มมีลักษณะเป็นหนามหยักแหลมคมใช้ในการปีนป่าย บริเวณโคนหางมีจุดกลมสีดำ ฟันค่อนข้างแหลมคม เมื่อโตเต็มที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก ลำตัวกว้างสักสามนิ้วมือเรา ยาวประมาณ 10-15 ซม


ลักษณะความแตกต่างระหว่างเพศ

ปลาหมอไทยเพศเมียจะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากกว่า เพศผู้ เพศผู้มีลักษณะลำตัวเรียวยาว ในระยะฤดูวางไข่ส่วนท้องของปลาเพศเมียจะอูมเป่ง


ปลาหมอเป็นปลาที่กินสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า ชอบกินอาหารที่ผิวน้ำและกลางน้ำ และยังสามารถกิน เมล็ดข้าว ธัญพืช ปลวก ตัวอ่อนแมลงน้ำ ตั๊กแตน กุ้งฝอยหรือลูกปลาเล็กปลาน้อยที่มีชีวิตหรือตายเป็นอาหาร
ปลาหมอไทย เนื้อปลาจะหวานมันเป็นพิเศษ ในช่วงเริ่มเก็บเกี่ยวข้าวใหม่ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนกุมภา พันธุ์


ในตลาดสดขายประมาณกิโลกรัมละ 40-50 บาท แล้วแต่ขนาดตัวปลาและแหล่งที่ขาย ถ้าเป็นตามต่างจังหวัดก็ถูกหน่อย และหาซื้อกินได้ง่าย แต่ในกรุงเทพจะเห็นมีเป็นบางตลาดเท่านั้น อย่างตลาดสะพานสูงตรงบางซื่อ ที่แม่ค้าจากจังหวัดนครปฐม และอยุธยา รับปลามาขาย ตลาดสะพานสอง ก็มีเป็นบางวัน

(ต้มส้มปลาหมอ)
วิธีการกินปลาหมอแบบที่อร่อยและทำง่าย กินกันมานมนานแต่โบราณก็คือเพียงเอามาปิ้ง มาย่างทั้งเกล็ด ด้วยเตาถ่าน ใช้ไฟอ่อนๆ ไม่นานเกินรอ ก็ได้กินปลาหมอย่างร้อนๆ กินทั้งเนื้อทั้งเกล็ดก็ยิ่งอร่อย แต่อย่ากินเพลินจนก้างติดคอ เพราะปลาหมอไทยมีก้างเยอะพอๆ กับปลาตะเพียนเลยทีเดียว หรือเอาปลาหมอไปทำกับข้าวจานเด็ดอย่าง ฉู่ฉี่ปลาหมอ แกงส้มปลาหมอ ต้มส้มปลาหมอ หรือจะบั้งถี่ๆ ทอดกรอบกินทั้งเนื้อ ทั้งก้าง ก็อร่อยไปอีกแบบ

<<<++++++++++*+*+++++++++>>>


  • ปลาหมอตาล
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Helostroma temmincki
  • ชื่อสามัญ Temminck's kissing
  • ชื่อไทย ปลาหมอตาล อีตาล ใบตาล วี ปลาจูบ


  • อุปนิสัย
สามารถผุดขึ้นมาอุบอากาศเหนือผิวน้ำโดยตรงนอกเหนือจากการหายใจด้วยเหงือกตามปกติ

  • ความสำคัญ
ปลาหมอตาลเป็นปลาน้ำจืดที่มีความทนทาน อยู่ในแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ที่มีกระแสน้ำไม่เชี่ยว เลี้ยงง่าย รสดี พบทั่วไปเฉพาะในนาข้าวหลังการเก็บเกี่ยวเป็นปลากินพืชสามารถเลี้ยงในบ่อได้ ปลาหมอตาลเผือกนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีชื่อเรียกต่างๆกัน เช่น ปลาอีดัน ปลาใบตาล ปลาวี ปลาจูบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Helostoma temminckii ( เฮ-โล-สะ-โต-ม่า เทม-มิน-คิ-อาย)

  • รูปร่างลักษณะ
เป็นปลาน้ำจืดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับปลาหมอ รูปร่างป้อมสั้น ลำตัวแบนข้างมากกว่าปลาหมอไทย หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ ปากเล็ก ยืดหดได้ ริมปากหนาริมฝีปากบนและล่างเท่ากัน ฟันละเอียด ตาอยู่เหนือมุมปาก เกล็ดเล็กมีอยู่ที่เส้นข้างตัว 44-48 เกล็ด เส้นข้างลำตัวขาดตอนตรงบริเวณใต้ก้านครีบอ่อนของครีบหลัง ครีบหลังและครีบก้นยาว ส่วนที่เป็นก้านครีบอ่อนมีขนาดใกล้เคียงกับหาง ครีบหูยาว ปลายมน ครีบท้องมีปลายเรียวแหลม พื้นลำตัวเป็นสีเขียวปนเทา หรือเขียวอ่อน หลังสีเทาปนดำ ท้องสีขาว ข้างลำตัวมีเส้นลายดำพาดตามยาวลำตัว ตัวโตเต็มที่มีความยาวถึง 32.5 เซนติเมตร อยู่ในครอบครัวเดียวกับปลาหมอ คือ Anabantidae ( อะ-นา-แบน-ทิ-ดี้ )


ปลาหมอตาลขนาด 15 เซนติเมตรขึ้นไปจึงเห็นความแตกต่างของเพศชัดเจน ปลาตัวเมียจะมีก้านครีบอ่อนอันแรกเป็นเส้นยื่นยาวกว่าก้านครีบอันอื่นๆ ท้องนิ่มอูมป่องทั้งสองข้างก้านครีบอ่อนแรกของตัวผู้ไม่เป็นเส้นยื่นยาว เอามือลูบท้องไปทางรูก้นเบาๆจะมีน้ำเชื้อสีขาวคล้ายน้ำนมไหล ตัวผู้มีสีเข้มกว่าตัวเมีย ในชั่วชีวิตหนึ่งๆสามารถวางไข่ได้ถึง 5 ครั้ง ตามธรรมชาติปลาวางไข่ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง ตุลาคม ปีละครั้ง


อาหารธรรมชาติกินพรรณไม้น้ำ แมลงน้ำ


การจูบกันเองของปลาชนิดนี้นั้น เป็นการขู่ และข่มกัน ก่อนจะเกิดการต่อสู้ครับ หรือถ้าตัวไหนยอมแพ้ตั้งแต่จูบกัน ก็จะถอยไปเอง นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

<<<++++++++++*+*+++++++++>>>



  • ปลาหมอช้างเหยียบ
  • ชื่อสามัญ : Striped Tiger Nandid
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pritolepis fasciatus
  • ชื่อไทย : ปลาหมอโค้ว ปลาก่า ตะกรับ โพรก หน้านวล หมอน้ำ ปาตอง


ลักษณะทั่วไป
เป็น ปลาน้ำจืดขนาดเล็ก มีรูปร่างป้อมเป็นรูปไข่หรือกลมรี ลำตัวด้านข้างแบน พื้นลำตัวสีเขียวหรือน้ำตาลปนเหลือง (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม) มีเกล็ด ปกคลุมทั่วตัว มีแถบสีดำพาดขวางลำตัวประมาณ 8-12 แถบ แถบนี้จะเห็นชัดขณะที่ปลายังเล็ก หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ ปากเล็กยืดหดได้เล็กน้อย มีฟันซี่เล็ก ๆ เป็นแถวอยู่บนขากรรไกรบนและล่าง รูจมูกแยกจากกันอย่างเด่นชัดและอยู่ชิดกับตา ครีบหลังมีสองส่วนเชื่อมติดกันเป็นแนวยาว ส่วนหน้าเป็นก้านเดี่ยวมีลักษณะเป็นหนามแหลมคม ส่วนหลังเป็นครีบอ่อน ครีบก้นใหญ่มีก้านครีบแข็งและมีลักษณะแหลมคม ครีบหางใหญ่ ปลายหางมนกลม มีขนาดความยาว 5 - 20 เซนติเมตร


  • นิสัย : มีนิสัยก้าวร้าว หวงถิ่น มักกัดทำร้ายกันเอง
  • ถิ่นอาศัย :แหล่งน้ำนิ่งในประเทศไทย และเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประเทศไทย พบตามลำคลอง หนอง บึงทุกภาค
  • อาหาร : ไข่ปลาทุกชนิด ลูกกุ้ง ลูกปลา แมลงน้ำ

การสังเกตเพศ
  • ปลาตัวผู้จะมีปลายครีบที่ยาวและชี้แหลมกว่าตัวเมียช่วงใกล้ฤดูผสมพันธุ์เวลารีด ท้องจะมีน้ำเชื้อสีขาวขุ่นไหลออกมาส่วนตัวเมียเวลารีดท้องจะมีไข่ไหลออกมา รูทวาร
  • แพร่พันธุ์ โดยวางไข่เกาะติดตามวัสดุใต้น้ำ วางไข่ครั้ง ละไม่ต่ำกว่า 1,000 ฟอง ขึ้นไปจนถึงหลายหมื่นฟอง ขึ้นอยู่กับขนาดและความสมบูรณ์ของแม่ปลา

<<<++++++++++*+*+++++++++>>>



  • ปลาหมอจำปะ
ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Belontia hasselti อยู่ในวงศ์ Belontiinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีรูปร่างเหมือนปลาหมอ (Anabas testudineus) ผสมกับปลากัด (Betta splendens) แต่ลำตัวกว้างและแบนข้างมากกว่า ปลายครีบหางมน ครีบท้องเล็ก ลำตัวสีเหลืองทองหรือเหลืองคล้ำถึงน้ำตาลแดง ขอบเกล็ดสีคล้ำและที่ฐานครีบหลังตอนท้ายมีจุดสีดำ ครีบหลังและครีบก้นตอนหน้าสีคล้ำ ตอนท้ายรวมถึงครีบหางมีลายเส้นเป็นตาข่าย


มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร ในประเทศไทยพบได้เฉพาะในป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส ที่เดียวเท่านั้น ในต่างประเทศพบกระจายไปทั่วแหลมมลายูไปถึงหมู่เกาะซุนดา


ในประเทศอินโดนีเซีย จัดเป็นปลาที่พบได้น้อย มีพฤติกรรมการวางไข่โดยใช้การก่อหวอดและตัวผู้เป็นผู้ดูแลไข่และตัวอ่อน เหมือนปลากัด ปลาตัวผู้มีครีบอกเรียวยาวและมีประแต้มบนครีบ ส่วนตัวเมียครีบจะสั้นกว่าจะไม่มีลวดลาย

(Belontia signata)

อนึ่ง ปลาในวงศ์ Belontiinae นั้น มีเพียง 2 ชนิดเท่านั้น อีกชนิดหนึ่ง คือ Belontia signata (Günther, ค.ศ. 1861) พบในประเทศศรีลังกา มีขนาดเล็กกว่าคือ โตเต็มที่ประมาณ 18 เซนติเมตร

<<<++++++++++*+*+++++++++>>>



ผิดพลาดประการใดช่วยชี้แนะด้วยครับ ขอบคุณครับ

<<<++++++++++*+*+++++++++>>>

คลิ้กที่นี่เพื่ออ่านต่อ......

เชิญแวะที่:
thainitaห้นย

จ้าวน้อยฟิชชิ่ง ตกปลาฮาเฮ เร่ไปเพราะใจสั่งมา © 2009. Powered by  MyPagerank.Net