16 มีนาคม 2552

ปลาจีน


ด้วยความรู้ที่มีเท่าหางเขียด พยายามหาข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มปลาจีนมาได้ระยะนึง(นานพอดู) แต่ที่ได้มาก็คงจะยังไม่สมบูรณ์ดั่งใจหวัง แต่ก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้นของตัวผมเอง เผื่อจะมีประโยชน์แด่ผู้ที่ไม่รู้(ผมก็เป็น1ในกลุ่มนี้) แรกๆผมยังเข้าใจเลยว่าปลาจีนคือปลาชนิดหนึ่งซึ่งชื่อปลาจีน ไม่ได้คิดว่ามันคือชื่อของกลุ่มปลาที่มาจากประเทศจีน(รู้งี้เรียนประมงก็ดี)


ปลาจีนเป็นปลาที่มีต้นกำเนิดมาจากลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ประเทศจีน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทย มีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิดคือ ปลาไน ปลาเฉา ปลาลิ่น ปลาซ่ง และปลาเฉาดำ แต่มีเพียง 3 ชนิดที่นิยมเลี้ยงรวมกันคือ ปลาเฉา ปลาลิ่น และปลาซ่ง ส่วนปลาไนนั้นเลี้ยงกันจนเป็นปกติวิสัยและบางท่านไม่นับเป็นปลาจีน
ปลาจีนทั้งสามชนิดดังกล่าว ในปัจจุบันสามารถเพาะพันธุ์ได้ในประเทศไทยปี พ.ศ.2509 หลังจากที่ได้ประสพผลสำเร็จแล้วในอินเดีย ( ค.ศ. 1962) ในไต้หวัน ( ค.ศ. 1963) และในสาธารณรัฐสหภาพโซเวียตรัสเซีย ( ค.ศ. 1966 ) ปลาจีนเติบโตได้รวดเร็ว เนื้อมีรสดี แต่ตลาดจำหน่ายค่อนข้างจำกัด

<<<++++++++++++*+*+++++++++++++>>>


  • ปลาเฉา หรือ เฉาฮื้อ ปลากินหญ้า
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ว่าCtenopharyngodon idellus (Cuv.&val) ( ซี-โน-ฟา-ริ้ง-โก-ดอน-เดล-ลัส)
  • ชื่อสามัญ (Grass carp)
  • ส่วนหัวค่อนข้างแบนปากอยู่ปลายสุดเฉียงขึ้นเล็กน้อยขากรรไกร ล่างสั้นกว่าขากรรไกรบน ตาเล็ก ซี่เหงือกติดต่อกับแก้ม ซี่กรองเหงือกห่างและสั้น ฟันที่คอหอยมีอยู่ 7 แถวคล้ายหวี ข้างซ้ายมี 2-5 ซี่ ข้างขวามี 2-4 ซี่ครีบ หลังสั้นมีก้านครีบเดี่ยว 3 ก้าน และก้านครีบแขนง 7 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยว 3 ก้าน และก้านครีบแขนง 8 ก้าน ครีบอกมีก้านครีบเดี่ยว 2 ก้าน ก้านครีบ แขนง 14 ก้าน ครีบท้องมีก้านครีบเดี่ยว 1 ก้าน และก้านครีบแขนง 8 ก้าน เกล็ดขนาดใหญ่บริเวณข้างลำตัว 34-35 เกล็ด ลำตัวรูปกระสวยคล้ายทรงกระบอก หางแบนข้าง ส่วนหลังมีสีดำ น้ำตาล ท้องสีขาว


เป็นปลากินพืชที่มีอวัยวะพิเศษคือ มีฟันในลำคอที่สามารถบดหญ้าให้ขาดและแหลกได้จึงเหมาะที่จะนำมาเลี้ยงเป็นปลาปราบวัชพืช”

<<<++++++++++++*+*+++++++++++++>>>


  • ปลาลิ่น ปลาเล่ง ลิ่นฮื้อหรือเล่งฮื้อ
  • มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypophthalmichthys molitrix (Cuv.&Val)( ไฮ-โพพ-ทาล-มิค-ทีส์-โม-ลิ-ทริกส์ )
  • ปลาเกล็ดเงิน (ปลาลิ่น) (Silver carp)
  • ลักษณะของปลาตัวนี้คือ ส่วนหัวมีขนาดปานกลาง ปากเชิดขึ้นเล็กน้อยอยู่ปลายสุดของหัว ขากรรไกรล่างเฉียงขึ้นมาเล็กน้อย ตาค่อนข้างเล็กและอยู่ต้ระดับกึ่งกลางลำตัว ส่วนหนังของเหลือกไม่เชื่อมสนิทกับแก้มส่วนล่าง


มีอวัยวะ Super branchial อยู่ ซี่กรองเหงือกติดต่อกันเหมือนตะแกรงที่มีลักษระคล้ายฟองน้ำ ฟันที่คอหอยมีข้างละแถวๆ ละ 4 ซี่ พื้นหน้าตัดของฟันแบนเป็นร่องละเอียด ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 3 ก้าน และก้านครีบแขนง 7 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยว 3 ก้าน และก้านครีบแขนง 11-14 ก้าน ครีบอกมีครีบเดี่ยว 1 ก้าน และมี ก้านครีบแขนง 17 ก้าน ครีบท้องมีก้านครีบเดี่ยว 1 ก้าน และมีครีบแขนง 8 ก้าน เกล็ดบนเส้นข้างลำตัวมี 110-123 เกล็ดลำตัวรูปกระสวยแบนข้างส่วนท้อง เป็นสันยาวจากอกถึงรูก้น ลำตัวส่วนหลังสีดำ เทา ส่วนอื่นๆ สีเงิน

<<<++++++++++++*+*+++++++++++++>>>


  • ปลาซ่งหรือซ่งฮื้อ ปลาหัวโต
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aristichthys nobilis (Richardson) ( อะ-ริส-ทีส์-โน-บิ-ลีส)
  • ชื่อสามัญ (Bighead carp)
  • รูปร่างลักษณะของปลาซ่ง ส่วนหัวมีความยาวประมาณ 1 ใน 3 ของลำตัว ปากอยู่ปลายสูงสุดและ เชิดขึ้นข้างบน ขากรรไกรล่างเฉียงขึ้นข้างบนเล็กน้อยตาค่อนข้างเล็กอยู่ต่ำเยื้องมาทางส่วน หน้าซี่กรองเหงือกถี่และมีขนาดเล็กแต่ไม่ติดกัน ที่คอหอยมีฟัน ข้างละแถวๆ 4 ซี่ พื้นหน้าตัดของฟันแบนและเรียบ


ครีบบนหลังมีก้านครีบเดี่ยว 3 ก้าน และก้านครีบแขนง 11-14 ก้าน ครีบอกมีก้านครีบเดี่ยว 1 ก้านและ ก้านครีบแขนง 17 ก้าน ครีบท้องมีก้านครีบเดี่ยว 1 ก้าน และก้านครีบแขนง 8 ก้าน เกล็ดเล็กที่เส้นข้างลำตัว มี 95-105 เกล็ด ลำตัวกระสวย ส่วนท้องเป็น สัน ตั้งแต่ครีบท้องถึงครีบก้น หางแบนข้างและเป็นสัน ส่วนหลังจะมีสีคล้ำและจุดดำบางแห่งท้องเหลือง

<<<++++++++++++*+*+++++++++++++>>>

ปลาจีนทั้งสามชนิดดังกล่าว ในปัจจุบันสามารถเพาะพันธุ์ได้ในประเทศไทยปี พ.ศ.2509 หลังจากที่ได้ประสพผลสำเร็จแล้วในอินเดีย ( ค.ศ. 1962) ในไต้หวัน ( ค.ศ. 1963) และในสาธารณรัฐสหภาพโซเวียตรัสเซีย ( ค.ศ. 1966 ) ปลาจีนเติบโตได้รวดเร็ว เนื้อมีรสดี แต่ตลาดจำหน่ายค่อนข้างจำกัด


ปลาจีนทั้งสามชนิดเป็นปลาจำพวกเดียวกับปลาไน รูปร่างและลักษณะคล้ายกัน มีลักษณะต่างกันมองเห็นได้ง่ายๆคือ ปลาเฉา เป็นปลาที่มีเกล็ดใหญ่เช่นเดียวกับปลาไน ลำตัวกลมยาวคล้ายกระบอกไม้ไผ่ สีตามลำตัวค่อนข้างเขียว ที่สำคัญคือชอบหากินอยู่ตามผิวน้ำ หรือว่ายน้ำยู่ตามผิวหน้าน้ำ





ส่วนปลาลิ่นและปลาซ่งนั้นมีเกล็ดละเอียด ปลาลิ่นตัวแบนข้าง สีเงิน ท้องเป็นสันที่บริเวณตั้งแต่กระพุ้งแก้มเรื่อยไปจนถึงครีบก้น หากินอยู่ตามบริเวณกลางน้ำในระดับ 1-1.5 เมตร ส่วนปลาซ่งนั้น หัวค่อนข้างใหญ่ หลังสีดำ ตัวสีคล้ำ ท้องเป็นสันตั้งแต่ครีบท้องถึงครีบก้น หากินตามพื้นดินก้นบ่อ ปลาจีนทั้งสามชนิดอยู่ในครอบครัวเดียวกัน คือ Cyprinidae (ไซ-บริ-นิ-ตี้ )

การจำแนกเพศปลาจีน


  • ปลาลิ่น
  • ลักษณะของปลาเพศผู้ก้านครีบหูส่วนใหญ่มีปุ่มสากเมื่อลูบดูจะรู้สึกสากมือท้องแฟบ เมื่อรีดเบา ๆ บริเวณช่องเพศ จะมีน้ำเชื้อสีขาวขุ่น
  • ลักษณะของปลาเพศเมียครีบหูมีปุ่มสากเฉพาะก้านครีบบริเวณขอบครีบเท่านั้น ก้านครีบอื่น ๆ เรียบท้องอูมเป่ง ช่องเพศและทวารหนักมีสีแดงเรื่อ ๆ


  • ปลาซ่ง
  • ลักษณะของปลาเพศผู้ จะรู้สึกสากมือและกระดูกปิดเหงือกในปลาที่โตเต็มวัยจะสากมือท้องแฟบ เมื่อรีดเบา ๆ บริเวณช่องเพศ จะมีน้ำเชื้อสีขาวขุ่นไหลออกมา
  • ลักษณะของปลาเพศเมียครีบหูไม่มีปุ่มสาก เช่นเดียวกับกระดูกปิดเหงือกและหัว ช่องเพศและทวารหนักมีสีแดงเรื่อ ๆ


  • ปลาเฉา
  • ลักษณะของปลาเพศผู้ ระหว่างฤดูกาลวางไข่ครีบหูด้านบน จะมีปุ่มสากเช่นเดียวกับกระดูกปิดเหงือกและบริเวณหัว ปุ่มเหล่านี้จะพบชัดเจนในน้ำเชื้อเจริญดี เมื่อรีดเบา ๆ บริเวณช่องเพศ จะมีน้ำเชื้อสีขาวขุ่นไหลออกมา
  • ลักษณะของปลาเพศเมียมีปุ่มสากเกิดขึ้นเล็กน้อยบริเวณส่วนบนของครีบหู แต่บริเวณกระดูกปิดเหงือกและหัวด้านบนไม่มีปุ่มสาก ท้องอูมเป่ง จะนิ่ม


การเพาะพันธุ์ปลาจีน
ปลาจีนทั้งสามชนิดไม่วางไข่กันเองตามธรรมชาติ แต่สามารถใช้วิธีผสมเทียมฉีดฮอร์โมนเร่งให้ปลาวางไข่ได้ พ่อแม่พันธุ์ต้องเลือกเอาที่มีน้ำเชื้อสมบูรณ์และมีไข่แก่เต็มที่ อายุประมาณ 2-4 ปี น้ำหนักประมาณ 1.5-5 กิโลกรัม แม่พันธุ์ฉีดต่อมใต้สมองของปลาไนหรือปลาชนิดเดียวกันในอัตรา 0.5 -2 โดส 2-3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 5-8 ชั่งโมง ครั้งแรกอาจฉีดในอัตราน้อยกว่าครั้งที่สอง พ่อพันธุ์ฉีดต่อมใต้สมองของปลาไน หรือปลาชนิดเดียวกันอัตรา 0.5-1.5 โดส เพียงครั้งเดียว 8 ชั่วโมงก่อนการผสมไข่กับน้ำเชื้อในเวลาเช้ามืด 04:30-6:00 น.


ปลาเฉานั้น ไข่ที่รีดออกมาใหม่ๆมีสีเหลืองปนน้ำตาลเล็กน้อย มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2.0 มิลลิเมตร เมื่อผสมน้ำเชื้อแล้ว ไข่จะดูดน้ำเส้นผ่าศูนย์กลางเป็น 4.0-5.0 มิลลิเมตร จะฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 13-14 ชั่วโมง อุณหภูมิน้ำ 27-33 องศาเซลเซียส แม่ปลาตัวหนึ่งๆจะให้ลูกปลา 5,000-10,000 ตัว



ปลาลิ่นนั้น ไข่ปลาจะมีสีเทา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.0-1.4 มิลลิเมตร เมื่อผสมน้ำและพองน้ำแล้วจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-5.0 มิลลิเมตร ฟักออกเป็นตัวภายใน 14-16 ชั่วโมง อุณหภูมิน้ำ 27-33 องศาเซลเซียส แม่ปลาตัวหนึ่งๆจะให้ลูกปลา 5,000-10,000 ตัว

ปลาซ่งนั้น ไข่ปลาจะมีสีเหลืองทองปนน้ำตาลเล็กน้อย เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2.0 มิลลิเมตร เมื่อผสมน้ำเชื้อและพองน้ำแล้วจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.0-5.0 มิลลิเมตร ฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 15-19 ชั่วโมง แม่ปลาตัวหนึ่งๆจะให้ลูกปลา 10,000-20,000 ตัว ไข่ปลาทั้งสามชนิดฟักออกเป็นตัวโดยใช้ระบบน้ำหมุนเวียนขึ้นสู่ผิวน้ำ


<<<++++++++++++*+*+++++++++++++>>>


2 ความคิดเห็น:

.ขอบคุณที่แวะเข้ามาครับ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

เชิญแวะที่:
thainitaห้นย

จ้าวน้อยฟิชชิ่ง ตกปลาฮาเฮ เร่ไปเพราะใจสั่งมา © 2009. Powered by  MyPagerank.Net