02 เมษายน 2552

ปลาซิวใจเสาะ ( Rasbora)


  • หลายคนที่พูดถึงปลาซิวว่าเป็นปลาใจเสาะ อาจเป็นเพราะเป็นปลาขนาดเล็กตายง่าย ไม่สามารถทนอยู่ในสภาวะที่ขาดน้ำได้เป็นเวลานาน หรือไม่สามารถทนอยู่ได้ในสภาวะที่น้ำขาดออกซิเจนหรือในน้ำที่มีปริมาณของออกซิเจนน้อย ปลาซิวส่วนใหญ่เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก พบได้ทั่วไปที่พบได้ทุกภาคของประเทศไทย จัดเป็นปลาในกลุ่ม Cyprinid ปลาในสกุลนี้จะมีรูปร่างลักษณะสีสันแถบสีที่คล้ายคลึงกันจึงยากที่จะแยกชนิดออกจากกันได้ชัดเจน อาจพบได้หลายสกุลในประเทศไทยพบมีการแพร่กระจายทั้งในแหล่งน้ำนิ่ง แหล่งน้ำไหล ได้แก่ ลำธาร หนอง บึง ทะเลสาบ อ่างเก็บน้ำ เป็นต้น ซึ่งเป็นปลาที่มีความสำคัญในห่วงโซ่อาหารในแหล่งน้ำ โดยจะเป็นอาหารของสิ่งที่มีชีวิตที่มีขนาดใหญ่กว่า และยังเป็นปลาที่กินแมลงน้ำเป็นอาหาร นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเพราะมีแถบสีที่มีลักษณะสีสันสวยงามโดยเฉพาะเมื่ออยู่รวมกันเป็นฝูง ในปัจจุบันมีการรวบรวมพันธุ์ปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อจำหน่ายเป็นปลาสวยงามทั้งในและต่างประเทศ ส่วนการเพาะเลี้ยงนั้นยังมีอยู่น้อย จึงนับว่าเป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและมีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์ของแหล่งน้ำอีกกลุ่มหนึ่ง
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++


1.)ปลาซิวเจ้าฟ้า หรือ ปลาซิวเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์
  • ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amblypharyngodon chulabhornae อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อยปลาซิว (Danioninae - Danionini)
  • มี สีสันโปร่งใส เห็นแกนดำของกระดูกสันหลังชัดเจน ตาโต หลังค่อม ท้องเป็นสีเงินแวววาว บริเวณส่วนหัวด้านบนมีสีเขียวเหลือบทอง มีความยาวเต็มที่ 4 เซนติเมตร พบอาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่ในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ของภาคเหนือ ภาคกลาง และพบโดยมากในภาคอีสานของประเทศไทย กินตัวอ่อนของแมลงน้ำ และพืช ตะไคร่น้ำ เป็นอาหาร เป็นปลาที่ใช้บริโภคในท้องถิ่น แต่มีรสขม มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า "แตบแก้ว" เป็นปลาที่เพิ่งค้นพบใหม่ในปี พ.ศ. 2533 ที่บึงบอระเพ็ด และให้ชื่อสายพันธุ์เพื่อถวายเป็นพระเกียรติแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++



2.)ซิวแก้ว
  • ชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Clupeichthys aesarnensis อยู่ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae)
  • เป็นปลาขนาดเล็ก รูปร่างเพรียวยาว ตัวใส ที่ริมฝีปากมีขากรรไกรเป็นแผ่นแบน และมีเขี้ยวแหลมโค้งขนาดเล็กมาก เกล็ดบางมากและหลุดร่วงได้ง่าย ครีบก้นมี 2 ตอน ตอนท้ายเห็นเป็นติ่งเล็ก ๆ แยกออกมา ลำตัวใสสีอมเหลืองอ่อนมีแถบสีเงินคาดกลางลำตัว หัวมีสีคล้ำเล็กน้อยออกสีเขียวอ่อน มีขนาดลำตัวประมาณ 4 ซ.ม. ใหญ่สุดพบ 6 ซ.ม.
  • พบเฉพาะในแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาเท่านั้น นอกจากนี้ยังพบมากที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี อาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่มากบริเวณผิวน้ำและกลางน้ำในแหล่งน้ำนิ่งขนาดใหญ่
  • กินอาหารโดยได้แก่ แมลง โดยการกระโดดงับขึ้นเหนือน้ำ และแพลงก์ตอนสัตว์ มีวิธีจับด้วยการยกยอและใช้ไฟล่อในเวลากลางคืน นิยมใช้บริโภคและเป็นปลาเศรษฐกิจในท้องถิ่นภาคอีสาน โดยนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิด เช่น ทำน้ำปลา ปลาแห้ง ปลาเจ่า เป็นต้น และได้ถูกส่งไปปล่อยในอ่างเก็บน้ำของมาเลเซียและอินโดนีเซียจนกลายเป็นปลาเศรษฐกิจของทื่นั่นด้วย ซิวแก้ว มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า แก้ว หรือ แตบแก้ว เป็นต้น
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++



3.)ซิวอ้าว
  • เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Luciosoma bleekeri อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprinidae - Oxygastrini
  • มีรูปร่างค่อนข้างเพรียว ลำตัวค่อนข้างกลม ส่วนหัวและจงอยปากยื่นยาว ปากกว้าง ไม่มีหนวด ตาโต เกล็ดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน ด้านหลังสีคล้ำ มีแถบสีดำพาดตามแนวยาวของลำตัวตั้งแต่ตาไปจนถึงโคนหาง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30 ซ.ม. มักอาศัยเป็นฝูงเล็ก ๆ หากินใกล้ผิวน้ำ กินปลาเล็กและแมลงเป็นอาหาร ส่วนมากพบในแม่น้ำ ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองจนถึงแม่น้ำโขง มักบริโภคโดยการปรุงสด และทำปลาร้า และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย
  • ซิวอ้าว ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น นางอ้าว, อ้ายอ้าว

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++


4.)ซิวควาย
  • เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rasbora tornieri อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อยปลาซิว Danioninae - Danionini
  • มีรูปร่างยาวทางกระบอก แบนข้างเล็กน้อย ปากเล็กไม่มีหนวด ตาโต ครีบเล็ก ครีบหางเว้าลึก มีเกล็ดใหญ่ ตัวมีสีเหลืองอ่อนอมทอง มีแถบสีเงินพาดตามความยาวกลางลำตัวจนถึงโคนหาง ครีบสีเหลืองอ่อนมีขอบสีคล้ำ มีขนาดประมาณ 6 ซ.ม. ใหญ่สุด 10 ซ.ม.
  • อาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่ในแม่น้ำและแหล่งน้ำนิ่ง รวมถึงลำธารในที่สูงบางแห่ง พบในภาคใต้ ภาคกลาง ถึงแม่น้ำโขง มีพฤติกรรมชอบตอมตะไคร่หรือสาหร่ายบริเวณใต้แพหรือท่าน้ำ อาหารได้แก่ พืชน้ำ และแมลงน้ำขนาดเล็ก เป็นปลาเศรษฐกิจ นิยมบริโภคโดยปรุงสด ทำปลาร้าหรือปลาแห้ง และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++


5.)ซิวควายข้างเงิน
  • ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rasbora argyrotaenia อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อยปลาซิว Danioninae -Danionini
  • มีรูปร่างคล้ายปลาซิวควายซึ่ง อยู่ในสกุลเดียวกัน (Genus) วงศ์เดียวกัน (Family) เป็นปลาผิวน้ำ ชอบอยู่กันเป็นฝูง ลำตัวยาวเรียว ว่ายน้ำได้ปราดเปรียวว่องไว ข้างลำตัวมีแถบสีเงิน และสีเหลืองสดอมส้มพาดคู่ขนานไปกับแถบสีเงินตามยาวลำตัว
  • พบในแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล พบอยู่ทั่วทุกภาค อาหารได้แก่ ลูกน้ำ ตัวอ่อนของแมลง และแมลงน้ำ รวมทั้งแมลงที่บินตามผิวน้ำ มีขนาดความยาวตั้งแต่ 5 ซ.ม. ถึง 17 ซ.ม.


นิยมบริโภคด้วยการปรุงสด ตากแห้งและทำปลาร้า และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++


6.)ปลาซิวข้างขวาน
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trigonostigma Heteromorpha (เดิมRasbora Heteromorpha (Duncker, 1904) ชื่ออังกฤษ Harlequin Rasbora, Red Rasbora, Harlequin fish อยู่ในวงศ์ : Cyprinidae
  • อุณหภูมิ : 22 - 28 pH : 6.8 - 7.0
  • ถิ่นที่อยู่อาศัย : มีอยู่ทั่วไปตามแหล่งน้ำ แถบประเทศ ไทย อินโดนีเซีย สุมาตรา
  • การขยายพันธุ์ : วางไข่
  • ขนาด : โดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ย 4 cm
  • ปลาซิวข้างขวาน Trigonostigma Heteromorpha รูป ร่างลักษณะ เป็นปลาลำตัวแบนด้านข้าง มีสีสวยงามพอสมควร ลำตัวเป็นสีน้ำตาลอมเขียว แต่บริเวณกลางลำตัวเป็นสีน้ำตาลอมแดง ลักษณะเด่นของปลาซิวชนิดนี้ คือมีแถบสามเหลี่ยมสีดำคล้ายรูปขวานสีดำ ตอนกลางตัวไปทางด้านหางจึงได้รับการเรียกชื่อว่า "ปลาซิวข้างขวาน" สำหรับที่ครีบหางเป็นสีส้ม หรือสีแดงอ่อนเพิ่มความสวยงามอีกด้วย
  • อุปนิสัย รักสงบ ว่องไวปราดเปรียว ปลาซิวข้างขวานเป็นปลาขนาดเล็ก ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงและไม่ทำร้ายกัน เป็นปลาที่ว่องไวปราดเปรียว นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามในตู้กระจกกันมาก ในตู้ที่เลี้ยงปลาชนิดนี้สนามารถใส่พันธุ์ไม้น้ำลงไปได้ แต่ไม่ควรให้แน่นเกินไปนัก และไม่ควรปล่อยปลาต่างชนิด ซึ่งมีขนาดใหญ่และชอบรบกวนปลาอื่นลงไปเลี้ยงรวมกับปลาซิวข้างขวานเพราะปลา ซิวข้างขวานมีขนาดเล็กอาจเป็นอันตรายได้ง่าย
  • ปลาซิวข้างขวานเป็นปลา ที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร ในแหล่งน้ำธรรมชาติลูกปลาซิวข้างขวานจะกินแพลงตอน และไรน้ำเป็นอาหาร สำหรับในตู้กระจกอาจให้ไรแดง ลูกน้ำ หนอนแดง ไส้เดือนแดงกินเป็นอาหา

6.1) ปลาซิวข้างขวานเล็ก Trigonostigma espei

  • ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกปลาซิว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trigonostigma espeiในวงศ์ปลาตะเพียน มีรูปร่างและพฤติกรรมเหมือนปลาซิวข้างขวาน (T. heteromorpha) ซึ่งเป็นปลาที่ลักษณะใกล้เคียงกันมากที่สุดทุกประการ เพียงแต่มีขนาดเล็กกว่า คือ มีขนาดใหญ่ได้สุดเพียง 2.5 เซนติเมตร และสามารถพบได้กว้างกว่า โดยสามารถพบในแหล่งน้ำตกของภาคตะวันออกของประเทศไทยได้อีกด้วย นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเช่นเดียวกัน ชื่ออื่น ๆ ที่เรียก เช่น ซิวข้างขวานภูเขา เป็นต้น

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

7.)ปลาซิวหางกรรไกร

  • ปลา ชนิดนี้มีแหล่งกำเนิดพบในแหล่งน้ำทั่วไปในประเทศไทย ตัวเต็มวัยมีความยาว 13 เซนติเมตร มีจุดเด่นที่ครีบหางเนื่องจากมีแถบสีดำพาดขวางแพนหางทั้งบนและล่างซึ่งแถบสี ดำนี้ค่อนไปทางส่วนปลายของแพนหาง ขอบในและขอบนอกของแถบสีดำนี้มีแถบสีขาวพาดขนานคู่กันไปอีกด้วย สีดำและสีขาวนี้จะตัดกับสีเหลืองอ่อน ซึ่งเป็นสีพื้นของครีบหางสวยสะดุดตามาก ครีบหลังมีก้านครีบสีเหลืองอ่อน ส่วนครีบก้น ครีบท้องและครีบอกใสไมมีสี ปลาซิวหางกรรไกรเป็นปลาอาศัยอยู่ผิวน้ำในลำธาร คูคลอง ร่องสวน และบางครั้งก็พบในหนองบึงบริเวณที่ราบลุ่ม


  • ความแตกต่างระหว่างเพศเพศ ผู้มีลักษณะรูปร่างเรียวยาวและมีขนาดเล็กมากกว่าปลาเพศเมีย บริเวณลำตัวมีสีเหลืองและลวดลายข้างลำตัวจะเข้มชัดเจน เพศเมียมีลักษณะรูปร่างสั้นป้อมและมีส่วนท้องอูมเป่งบริเวณลำตัวมีสีเหลือง จางและลวดลายข้างลำตัวไม่ชัดเจน ปลาเพศเมียจะมีลำตัวป้อมกว่าตัวผู้จะยิ่งสังเกตเห็นได้ชัดเจน ช่วงที่ปลาพร้อมจะวางไข่


  • อุปนิสัยและพฤติกรรม การผสมพันธุ์ อาหาร ปกติ เป็นปลาที่ว่ายน้ำเร็ว ชอบอาศัยในแหล่งน้ำเปิด มีนิสัยไม่ดุร้าย สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี กินอาหารง่าย ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ปลาชนิดนี้ไม่ชอบอยู่นิ่ง มักว่ายน้ำขึ้นลงบริเวณผิวน้ำและกลางน้ำตลอดเวลา

  • แม่ปลาสามารถวางไข่ได้ประมาณ 200-300 ฟอง ปลาซิวหางกรรไกรกินแพลงค์ตอนสัตว์และตัวอ่อนแมลงน้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร (Rainboth, กล่าวว่า) อาหารส่วนใหญ่เป็นจำพวกแมลง การจับปลาชนิดนี้ ชาวประมงจะใช้อวนสวิง และลอบดักปลา ปลาชนิดนี้ไม่พบเห็นทั่วไปในตลาดปลาแต่จะเป็นที่นิยมอย่างสูงในแวดวงการค้า ปลาสวยงาม
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++


8.)ปลาซิวสมพงษ์ Trigonostigma somphongsi

  • เป็น ปลาที่ติดอยู่ในบัญชี Red Data ของกรมทรัพยากรธรรมชาติ ค้นพบโดยคุณสมพงศ์ เล็กอารีย์ เมื่อสัก 30 ปีที่แล้ว มีส่งออกไปต่างประเทศอยู่พักหนึ่งแล้วก็หยุดไป มีภาพตัวเป็นๆจากเยอรมัน และ ญี่ปุ่น สิบกว่าปีหลังมานี่ไม่เคยมีใครได้เห็นตัวเป็นๆอีกเลย รายงานยืน ยันครั้งสุดท้าย (เท่าที่ผมรู้) คือปลาชุดที่ส่งออกไปญี่ปุ่นเมื่อสัก 12 ปีที่แล้ว ไม่มีใครรู้ว่าจริงๆแล้วซิวสมพงศ์อาศัยอยู่ที่ไหน ยังไงกันแน่ นักวิชาการรุ่นหลังๆไม่เคยมีใครเห็นตัวเป็นๆเลย มีแต่ตัวอย่างเก่าที่ไม่ได้ระบุแหล่งจับ ในหลายๆ ห้วงของความคิด ผมนึกว่ามันสูญพันธุ์ไปแล้ว นั่งหาข้อมูลแล้วเจอภาพซิวสมพงศ์ในเว็บภาษาเยอรมัน สอบถามได้ความว่าปีที่แล้วมีซิวสมพงศ์ 3 ตัวหลุดไปกับปลาซิวหนู ไปอยู่ที่เยอรมัน โชคดีที่ 3 ตัวเป็นตัวผู้ 1 เมีย 2 เจ้าของชาวเยอรมันเพาะได้ตอน นี้มีอยู่ 50 กว่าตัว พอดีมีเพื่อนมาจากเยอรมันเลยฝากให้หิ้วมาให้ ก็เลยได้ยืนยันว่ามันยังมีชีวิตอยู่ แต่ก็ยังหาไม่เจออยู่ดีว่าในธรรมชาติมันอาศัยอยู่ที่ไหน ยังไง เป็นการบ้านที่จะต้องตามหาต่อไป (บทความจากคุณนณณ์, siamensis.org)
  • ความแตกต่างระหว่างเพศ เพศผู้มีรูปร่างลักษณะรูปร่างเรียวยาวและมีขนาดเล็กว่าปลาเพศเมีย บริเวณลำตัวมีสีเหลืองส้มและลวดลายข้าง ลำตัวจะเข้มชัดเจนเมื่อใกล้ฤดุผสมพันธุ์ เพศเมียมีลักษณะรูปร่างป้อมมีสีซีดจางและลวดลายข้างลำตัวไม่ชัดเจน ข้อแตกต่างจะเห็นได้ขัดเจนมากยิ่งขึ้นช่วงที่ปลาพร้อมจะวางไข่
  • อุปนิสัยและพฤติกรรม การผสมพันธุ์ อาหาร ปกติ เป็นปลาที่มีนิสัยไม่ดุร้าย สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี กินอาหารง่ายเป็นปลาที่ไม่ชอบอยู่นิ่ง ว่ายน้ำตลอดเวลา (นณณ์, กล่าวว่า) ปลาซิวในสกุล Trigonostigma จะไข่แปะไว้ใต้ใบไม้น้ำ ซึ่งแตกต่าง จากปลาซิวในกลุ่มอื่นๆที่จะไข่กระจัดกระจายไปตามพื้นน้ำ ไข่จะฟักภายใน 30 ชั่วโมง แม่ปลาสามารถวางไข่ได้ประมาณ 8-10 ฟอง อาหารส่วนใหญ่เป็นแพลงค์ตอนสัตว์และตัวอ่อนแมลงน้ำขนาดเล็ก
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++


8.)ปลาซิวสอบวา ปลาซิวเจ้าฟ้าแห่งรัฐฉาน
  • sawbwa = สอ - บวา เป็นภาษาพม่า แปลว่า เจ้าฟ้า (saopha)เป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนและเป็นปลาชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Sawbwa สอบวาเป็นปลาถิ่นเดียวในทะเลสาบอินเล ประเทศพม่า เมื่อโตเต็มที่ปลาซิวสอบวามีความยาวประมาณ 35 มม. เพศผู้มีสีเงินเหลือบฟ้า ส่วนหัวและปลายหางมีสีแดง
เพศเมียและปลาที่ยังไม่โตเต็มวัยมีสีเทา มีจุดสีดำตรงช่องทวาร ไม่มีเกล็ด

  • ปลาซิวสอบวามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sawbwa resplendens เป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีขนาดเล็กมาก สีสันสดสวยแปลกตา ในแวดวงปลาสวยงามเมืองไทยเพิ่งรู้จักปลาชนิดนี้กันได้ไม่นานนี้เอง โดยเรียกกันตามสะดวกปากว่า "ปลาซิวซับวา" หาซื้อยาก และมีราคาค่อนข้างแพง
  • รูปร่างลักษณะของปลาซิวสอบวา คล้ายกับปลาซิวขนาดเล็กบางชนิดของไทย เช่น ปลาซิวหางกรรไกร ปลาซิวหางแดง กล่าวคือ เรียวยาว แบนข้าง ส่วนหัวเล็ก ปากเล็กเป็นมุมแหลม หางคอดเรียว ใบหางรูปแฉกตัววี ครีบบางใส ทว่าจุดที่โดดเด่นของปลาซิวสอบวาคือสีแดงสดสว่างบริเวณใบหน้าและปาก กับส่วนปลายของครีบหางทั้งสองแฉก ตัดกับสีเงินอมฟ้าเงางามของลำตัว ยามว่ายในตู้กระจกท่ามกลางพืชพรรณเขียวชอุ่มจะดู ปลาซิวสอบวา นับได้ว่าเป็นปลาที่สวยงามไม่เป็นสองรองใครเลยทีเดียว
  • แม้ว่าวงการปลาสวยงามทั่วไปจะเพิ่งรู้จักปลาซิวสอบวา ทว่าที่จริงมันถูกค้นพบนานเกือบร้อยปีแล้ว แหล่งอาศัยของปลาซิวชนิดนี้อยู่ในทะเลสาบอินเล ทางตอนล่างของรัฐฉาน ประเทศพม่า ทะเลสาบอินเลตั้งอยู่ท่ามกลางหุบเขาหินปูน สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 900 เมตร อากาศหนาวเย็น ภูมิประเทศยังบริสุทธิ์ด้วยธรรมชาติของป่าดง พืชพรรณแน่นขนัด สัตว์น้ำหลากหลายสายพันธุ์ ถูกรบกวนจากมนุษย์น้อยมาก เนื่องจากเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
  • ปลาซิวสอบวา อาศัยตามแหล่งน้ำตื้นท่ามกลางดงพืชน้ำ ซึ่งเป็นปราการปกป้องพวกมันจากปลานักล่าที่มีขนาดใหญ่กว่า การนำมาเลี้ยงในตู้จึงต้องปลูกไม้น้ำให้แน่นครึ้ม ปลาจะมีความสุขมากกว่าอยู่ในตู้โล่ง
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++


9.)ปลาซิวหางแดง Rasbora borapetensis
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Rasbora borapetensis
  • อันดับ Cypriniformes
  • วงศ์ Cyprinidae
  • ชื่อสามัญ -
  • ชื่อพื้นบ้าน ซิวหางแดง
  • ลักษณะทั่วไปโคนครีบหางมีสีแดงยาวประมาณครึ่งหนึ่งของหาง กลางลำตัวมีแถบดำพาดตามยาวตั้งแต่หัวจรดหาง และมีเหลือบเหลืองทองด้านบน เกล็ดเล็กหลุดง่าย ตัวใสมองเห็นท้องเป็นสีเงินวาว โคนครีบก้นเป็นเส้นสีดำ ครีบทุกครีบใส
  • แหล่งที่พบ หนองบึง ลำธารและอ่างเก็บน้ำ
  • อาหารธรรมชาติ กินทั้งพืชน้ำ แมลงและไข่ของแมลง
  • ประโยชน์และความสำคัญนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและปรุงอาหารได้

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ขอขอบพระคุณที่มาทั้งหลายครับ
  • วิกิพิเดีย
  • สยามเอ็นซิส
  • รูปภาพจาก คุณNonn Panitvong
  • บทความรูปภาพจากทุกๆที่มา
ผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ

ข้อมูลชื่อปลารายละเอียดอาจยังไม่ถูกต้องและอัปเดทที่สุดต้องขออภัยและช่วยชี้แนะด้วยครับ



4 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ12 เมษายน 2553 เวลา 10:10

    น่าสนใจดีมากค่ะ ^^

    ตอบลบ
  2. ขอบพระคุณสำหรับกำลังใจดีๆครับ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ13 สิงหาคม 2553 เวลา 13:00

    ขอบคุณค่ะ

    แต่ที่อยากปรึกษาคือ ปลาซิวทุกสายพันธุ์เพาะได้รึป่าว

    หรือเฉพาะบางสายพันธุ์ เช่นอะไรบ้าง

    คือจุดประสงค์เรา อยากเพาะปลาซิวแก้ว

    แต่ที่ทราบคือจะพบได้แถวเขื่อนสิริกิตต์ และ จังหวัดอุตดิตถ์

    ยังไงก็ช่วยตอบด้วยน่ะค่ะ

    อย่าบอกว่าให้ไปถามกรมประมงน่ะ

    เพราะเราอยากศึกษาข้อมูลหลายๆด้าน

    และอยากรู้หลายๆแง่มุม

    ตอบลบ
  4. การเพาะพันธุ์ปลาซิวสามารถเพาะได้แต่ก็ไม่ทุกชนิดหรอกนะครับ โดยเฉพาะปลาซิวแก้วเป็นปลาที่ตายง่ายมากๆ จับขึ้นจากน้ำไม่ทันไรก็ตายแล้ว ยากครับในการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ ส่วนการเพาะพันธุ์ปลาซิวชนิดอื่นที่มีคนเพาะพันธุ์ได้ก็มี ปลาซิวหางกรรไกร ปลาซิวข้างขวานเล็ก ปลาซิวหนวดยาว ปลาซิวแม่แตง ปลาซิวข้าวสาร ปลาซิวสมพงษ์ และอีกหลายๆชนิด ถ้าต้องการข้อมูลการเพาะพันธุ์โดยละเอียดจากผู้ทีเคยเพาะจริงแนะนำ www.siamensis.org ครับ(อันนี้แนะนำจริงๆนะครับ) ลองโพสถามดูได้ครับ เพราะตัวผมเองก็ไปเก็บข้อมูลความรู้มาจากเว็ปนี้บ่อยๆ ผมอาจช่วยอะไรไม่ได้มากมายแต่ก็เต็มใจช่วยนะครับ ขอบคุณที่แวะมาบล็อกเล็กๆของผมครับ ไว้มีข้อมูลดีๆเปเปอร์แน่นจะรีบมาโพสบอกครับผม

    ตอบลบ

.ขอบคุณที่แวะเข้ามาครับ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

เชิญแวะที่:
thainitaห้นย

จ้าวน้อยฟิชชิ่ง ตกปลาฮาเฮ เร่ไปเพราะใจสั่งมา © 2009. Powered by  MyPagerank.Net