16 พฤษภาคม 2552

สปินเนอร์เบท Spinner Bait


The Spinnerbait Chronicle
Spinnerbait เป็นเหยื่อที่ถูกคิดค้นมาตั้งแต่ช่วงปลายของยุค ค.ศ. 1800 และได้รับการยอมรับโดยเหล่านักตกปลาด้วยเหยื่อปลอมชาวอเมริกาว่าเป็นหนึ่งใน เหยื่อที่ดีที่สุดในโลกและถูกใช้อย่างแพร่หลายทั้งในอเมริกาและญี่ปุ่น นั่นหมายถึง Spinnerbait เป็นเหยื่อที่ได้รับการยอมรับจากนักตีเหยื่อปลอมมานานกว่า 100 ปี ต้นกำเนิดของเหยื่อชนิดนี้คือ มิสเตอร์ จอห์น ฮิลเดแบร้น (John Hildebrandt) เป็นผู้ออกแบบใบทั้งสามชนิดของ Spinnerbait


ทำไม Spinnerbait ถึงได้รับการยอมรับขนาดนั้น? นั่นเพราะ Spinnerbait ถูกจัดเป็นเหยื่อดำน้ำที่ติดสวะน้อยที่สุดสามารถตีฝ่าเข้าไปในที่รกๆได้ อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นดงไม้ ดงสาหร่าย หรือสวะประเภทต่างๆ อีกทั้งสามารถตกได้หลากหลายวิธีการทั้งระดับผิวน้ำ กลางน้ำ หรือแม้กระทั่งที่ระดับหน้าดิน ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานอยากจะให้เป็น จากการทดสอบกว่า 1 ปีที่ผ่านมาของผู้เขียนสปินเนอร์เบท สามารถใช้ได้กับปลาทุกประเภทในเมืองไทยเช่นกัน

ก่อนที่จะเริ่มใช้สปินเนอร์เบทสิ่งแรกที่นักตกปลาต้องรู้เกี่ยวกับสปินเนอร์เบทคือชนิดของใบสปินเนอร์เบท ณ ปัจจุบัน มีใบสปินเนอร์เบทอยู่ 3 ประเภทที่เป็นที่นิยมที่สุดคือ

1.) Willow Leaf (ใบหลิว)
2.) Colorado (ใบกลม)
3.) Indiana (ใบรูปหยดน้ำ)

ใบ สปินเนอร์ทั้ง 3 แบบมีลักษณะการใช้และคุณสมบัติที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ดังนั้น การเลือกใช้ชนิดของสปินเนอร์เบท จึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อประสิทธิภาพและผลลัพธ์ของการตกปลาในแต่ละ สถานการณ์ คุณสมบัติของใบแต่ละชนิดมีดังต่อไปนี้

1.) Willow Leaf (ใบหลิว)
ใบยอดนิยมอันดับหนึ่งของโลก ถือเป็นใบที่ให้แสงสะท้อนมากที่สุดหมุนเร็วที่สุดในกระบวนใบทั้งหมด อย่างไรก็ดีอัตราการสั่นสะเทือนใต้น้ำและแรงยกตัวที่ใบสร้างขึ้นถือว่าน้อย ที่สุดในกระบวนใบทั้ง 3 ชนิด Willow Leaf เหมาะสำหรับกรณีที่ต้องการให้เหยื่อเคลื่อนที่เร็ว วิ่งได้ตรงกว่าใบประเภท Colorado รวมถึงมีอัตราการทะลุทะลวงผ่านสิ่งกีดขวางอย่าง สาหร่ายและซากไม้ได้เหนือกว่าใบประเภทอื่นๆ Willow Leaf เป็นใบที่เหมาะจะใช้งานในกรณีที่ปลามีอัตราตื่นตัวสูง

2.) Colorado (ใบกลม)
ใบยอดนิยมอันดับสอง เป็นใบที่มีการสร้างแรงสั่นสะเทือนใต้น้ำสูงที่สุดในกระบวนใบทั้งสามชนิด มีอัตราการเหวี่ยงตัวกว้างสุด แรงยกตัวสูงสุด และอาศัยความเร็วต่ำสุดในการทำให้ตัวใบหมุนได้ ดังนั้น Colorado จึงเหมาะจะใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการกรอเหยื่อช้าและปลาไม่ค่อยตื่นตัวเช่นใน ฤดูหนาวที่ระบบ หมุนเวียนเลือดของปลาต่ำ การตกปลาในตอนกลางคืน หรือในน้ำที่ขุ่นจัด เนื่องด้วยคุณสมบัติที่ใบหมุนง่ายกว่าใบชนิดอื่นจึงเหมาะสมที่จะใช้กับ เทคนิค ยกขึ้น/ปล่อยตกในบริเวณน้ำลึกมากที่สุด รวมถึงการฟลิบปิ้งเข้าไปในพื้นที่รกอีกด้วย Colorado ถือเป็นใบที่สำคัญที่สุดในกรณีที่น้ำเย็น, วิธีการตกด้วยการกรอช้า และการตกยามดึก

3.) Indiana (ใบรูปหยดน้ำ)
ถือเป็นใบที่ถูกออกแบบมาให้อยู่ตรงกลางระหว่างใบสองชนิดแรก สำหรับหมุนด้วยความเร็วปานกลาง ก่อให้เกิดแสงสะท้อน แรงยกตัวและแรงสั่นสะเทือนในระดับกลาง สภาพน้ำระดับกลาง และปลาที่อยู่ในสภาพเป็นกลางไม่ตื่นตัวในการล่าหรืออยู่ในสภาพที่ค่อนข้าง อิ่ม อย่างไรก็ดีความนิยมใน Indiana นั้นน้อยกว่า 2 ตัวแรกพอควรเนื่องจากไม่เด่นในด้านใดด้านหนึ่งอย่างชัดเจน


ใบเดียว หรือ สองใบ (Single blade & Double blade)

หลายๆ คนอาจจะได้เห็น Spinnerbait แบบทั้งใบเดียวและสองใบ แต่ก็ไม่ทราบถึงคุณประโยชน์ของการจับคู่ใบแต่ละประเภทว่าให้ผลและความแตก ต่างกันเช่นไร ในความเป็นจริง Spinnerbait แบบใบเดียวนั้นสามารถสร้างแรงสั่นสะเทือนในการกระตุ้นปลาได้มากกว่าแบบหลาย ใบอยู่พอควร เนื่องจากแรงสั่นสะเทือนหรือคลื่นน้ำในแต่ละใบนั้นชนกันเองและทำให้เกิดการ ลบล้างแรงสะเทือนกันเองในที่สุด นอกจากนี้คุณสมบัติที่ดีของแบบใบเดียวคือ Spinnerbait จะเคลื่อนตัวอยู่ในระดับที่ลึกกว่าแบบหลายใบ รวมถึงมีอัตราการจมของเหยื่อที่เร็วกว่าเนื่องแรงต้านของใบขณะจมมีน้อยกว่า พวกใบคู่ ส่วนใบคู่นั้นจะมีคุณสมบัติต่างๆเพิ่มเติมแล้วแต่การจับคู่ ต่อไปนี้คือคุณสมบัติของใบคู่ที่เป็นที่นิยมหลักๆคือ ดับเบิลวิลโลว์ลีฟ (ใบหลิวสองใบ) และ แทนเด็ม (ใบโคโลราโดหน้าและใบหลิวหลัง)

ลักษณะพิเศษของการจับคู่ใบแบบต่างๆ

ดับเบิลวิลโลว์ 
เป็น ชุดใบที่ เป็นที่นิยมที่สุดในโลก การจับคู่ของใบหลิวที่มีขนาดเล็กอยู่ข้างหน้ากับใบขนาดใหญ่ที่อยู่ข้างหลัง จุดเด่นของการจับคู่แบบนี้นั้นเพื่อให้เกิดแสงสะท้อนจำนวนมากเพื่อดึงดูด ความสนใจของปลา อย่างไรก็ดีแรงสั่นสะเทือนของใบชุดนี้ถือว่าน้อยลงเนื่องจากมีการแคนเซิลกัน ของใบชุดหน้าและใบหลัง

แทนเด็ม 
คือการจับคู่ของใบ โคโลราโดเล็กด้านหน้าและใบวิลโลว์ลีฟด้านหลัง เป็นใบชุดที่สามารถวิ่งที่ระดับลึกกว่าการจับคู่ใบประเภทอื่นๆ และยังสามารถสร้างแรงสั่นสะเทือนออกมาได้พอสมควร อย่างไรก็ดีอัตราการหมุนของใบด้านหลังจะน้อยลงต่อเนื่องให้แสงสะท้อนน้อยลง ด้วย แต่จะได้การชดเชยจากการสั่นสะเทือนมาช่วยแทน

ใบหลิวเดี่ยว
สร้างแรงสั่นสะเทือนที่ตัวเหยื่อมากที่สุด แต่ไม่ได้สร้างคลื่นน้ำแรงที่สุดนะครับ และดำลึกที่สุด มีติดกล่องไว้ไม่เสียหลาย

น้ำหนักเหยื่อ
โดย ปรกติแล้วเหยื่อสปินเนอร์เบทจะมี ขนาดน้ำหนักตั้งแต่ 1/8 – 1 ออนซ์ อาจมีบางเจ้าที่ทำขึ้นไปมากกว่าหนึ่งออนซ์บ้างแต่น้อยมากจริงๆสำหรับเคสนี้ ตั้งแต่อดีตตอนที่นักตกปลาเริ่มตีเหยื่อปลอมใหม่ๆ มักไม่มีความคิดที่จะซื้อหาสปินเนอร์เบทมาใช้เลยเนื่องจากเสียงบอกเล่าที่ ว่าเหยื่อตัวนี้นั้นตียาก ซึ่งก็สมควรที่จะตียากอยู่เพราะสปินเนอร์เบทที่มีขายอยู่ในเวลานั้นมีขนาด เพียงแค่ 1/8 หรือ ¼ ออนซ์เท่านั้น

ด้วยความที่ว่าสปินเนอร์เบทนั้น มี Profile หรือขนาดเหยื่อที่ใหญ่ด้วยตัวกระโปรงที่ฟูฟ่องของเหยื่อนั่นเอง ดังนั้นผู้ที่เอาเข้ามาจึงเน้นขนาดเล็กไว้ก่อนเพราะเน้นปลาช่อนเป็นหลัก และเหยื่อที่เบานั้นจะใช้ในกรณีที่พื้นที่นั้นไม่กว้างนักและมีอุปสรรค ประเภทหญ้านอนบนผิวน้ำเยอะๆเนื่องจากด้วยน้ำหนักตัวที่น้อยทำให้เมื่อเหยื่อ ตกลงไปบนพวกสิ่งกีดขวางแล้วไม่จมลงไปติดหญ้า ณ จังหวะตก (3/8 ก็สามารถทำได้ใก้ลเคียงกับ 1/4 มากๆเหมือนกันในเรื่องนี้) และแน่นอนสปินเนอร์เบทขนาด 1/8 นั้นตียากจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ในสภาพลมแรง อย่างไรก็ดีในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมากว่า 1 ปีของการทดสอบ ปรากฎว่าปลาช่อนขนาดคืบกว่าๆก็สามารถตกได้ด้วยสปินเนอร์เบท ขนาด 3/8 รวมทั้งชะโดลิโพและกระสูบเอ็มร้อยก็สามารถตกได้ด้วยสปินเนอร์เบทขนาด 1/2 ออนซ์เป็นจำนวนมากพอควร ดังนั้นขนาดน้ำหนักจึงไม่มีผลต่อความเล็กใหญ่ของปลาซักเท่าใด เพราะสิ่งสำคัญเวลาปลามองเหยื่อคือขนาดของกระโปรงครับ ถ้ารู้สึกว่าตัวเหยื่อใหญ่ไปเราสามารถเล็มกระโปรงบ้างให้เหยื่อเล็กลงได้ ครับ แต่ถ้าหนอน 5-6 นิ้วช่อนจิ๋วยังกัดได้ดังนั้นกระโปรงยาวสองนิ้วครึ่งไม่ใช่ปัญหาครับ


แล้ว ขนาดน้ำหนักของเหยื่อมีไว้ทำไมล่ะ ? คำตอบของขนาดน้ำหนักเหยื่อนั้นคือ การเพิ่มความลึกของเหยื่อขณะถูกลากนั่นเอง ยิ่งน้ำหนักมากอัตราการดำลึกก็จะสูงขึ้นไปด้วย ณ ปัจจุบันขนาดน้ำหนักเหยื่อที่เป็นที่นิยมที่สุดของสปินเนอร์เบทอเมริกาคือ 3/8 (10.5 กรัม) และ 1/2 ออนซ์ (14 กรัม) เนื่องจากทั้งสองขนาดน้ำหนักนี้เหมาะที่สุดในการใช้เป็น Search Bait หรือเหยื่อสำหรับการควานหาตัวปลาในพื้นที่กว้างๆ เช่นเดียวกับเหยื่อประเภทกบและผิวน้ำที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ซึ่งจัดเป็น Search Bait เช่นกัน เนื่องจากตีต่อเนื่องได้เร็ว ครอบคลุมพื้นที่ได้เยอะ ขณะที่ 3/4 และ 1 ออนซ์นั้นเน้นเอาไว้ตีกวาดหาตัวปลาที่ระดับน้ำลึกมากๆระดับ 8 – 12 ฟุตขึ้นไป อย่างไรก็ดีอย่าลืมสิ่งที่ได้เรียนรู้จากบทที่ 1 นะครับ ใบนั้นสำคัญมากๆ แม้เหยื่อจะมีน้ำหนักมากขึ้นถ้าจับคู่กับใบบางประเภทก็สามารถที่จะดำตื้น กว่าตัวที่น้ำหนักเบากว่าบางประเภทได้

อาจจะมีคำถามว่าถ้างั้นจะทำมา ทำไมหลายน้ำหนักล่ะขนาดเดียวเล่นให้ทั่วเลยแค่ เปลี่ยนใบไม่ดีกว่าเหรอ คำตอบคือน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นทำให้กรอได้เร็วขึ้นครับ เช่น Double Willow ของ 3/8 ถ้ากรอเร็วมากๆมามันเป็นเหยื่อที่ก็อาจอยู่ตื้นหน่อย แต่ถ้าเป็น 1/2 Double Willow ต่อให้กรอเร็วเท่ากันก็จะไม่ตื้นมากเท่า 3/8 ครับ แต่ใบหลิวเดี่ยวของ 3/8 ก็จะอยู่ลึกกว่า Double Willow 1/2 ในกรณีนี้เป็นต้นอาจงงนิดนึงแต่ต้องลองเองครับจุดนี้ ลึกลงไปอีกแค่ฟุตเดียวผลที่ได้อาจต่างกันไปเลยก็ได้ในแต่ละวัน

เทคนิคใช้เหยื่อสปินเนอร์เบท

"Chunk-N-Wind"
นัก ตกปลาส่วนใหญ่จะเลือกใช้วิธีการนี้ แค่ตีเหยื่อแล้วก็กรอกลับแบบปกติ ด้วยสปีดธรรมดาโดยให้เหยือ ดำน้ำไปแค่4-5ฟุตจากผิวน้ำ วิธีการนี้สามารถใช้ได้ทุกๆพื้นที่ ที่เราจะไปตกและเป็นวิธีง่ายๆด้วย

"Slow-Rolling"
วิธีการนี้จะใช้เมื่อปลาอยู่ลึก วิธีนี้จะต้องลากเหยื่อให้ให้ช้าๆลากติดหน้าดินมาเลยครับ

"Waking or Bulging"
วิธีนั้ก็ไม่ต่างจากวิธีแรกเท่าไรครับแต่เพียงเราจะปล่อยให้เหยื่อจมถึงหน้าดินไปก่อนแล้วก็กรอเข้ามา + เจิร์กเหยื่อเป็นระยะๆครับ

"Draggin’-It"
วิธี นี้ใช้ได้ผลกับสปินเนอร์เบทที่พ่วงหนอนยางครับไม่ก็จิ้งจกยาง แรกเลยตี เหยื่อออกไปแล้วปล่อยให้เหยื่อจมไปถึงหน้าดิแล้วจึงกรอสายเข้ามาโดยถือคัน ให้ขนานกับพื้น แล้วทำสายให้ตึงไว้แล้วก็ยกคันช้าๆลากเหยื่อเข้ามาโดยไม่ กรอสายจนคันตังตรง แล้วก็กรอเก็บสายเข้าโดยดันคันกลับไปขนานกับพื้นด้วย (คล้ายๆกับเวลาเราสู้กับปลาอะครับ) ทำซ้ำๆไปเรื่อยๆ ข้อสำคัญคือต้องทำให้ สายตึงตลอดครับ

"Jigging-It"
วิธี นี้ใช้ได้กับที่บริเวณแคบๆหรือไม่ก็บนเรือที่มีความลึกของน้ำมากๆหน่อย (ประมาณในเขื่อนอะครับ) แรกเลยปล่อยเหยื่อลงให้ถึงหน้าดินแล้วก็จิ๊กเหยื่อไปเรื่อยๆครับ มือจิ๊กกิ้งสบายเลย

"Yo-Yo or Pumping"
วิธี นี้คล้ายๆจิ๊กกิ้งครับ แต่แค่เราจะกรอสายขึ้นไปด้วยสัก5-7รอบแล้วก็ ปล่อยเหยื่อกลับลงไปอีกเล็กน้อย แล้วก็ทำอย่างนั้นอีกจนเหยื่อกลับมาหาเรา


+<<<<<<->>>>>>+

ที่มาจาก
Valky#1
Valky #2
dr.schwarzkopf

7 ความคิดเห็น:

  1. ที่เป็นพื้นเอียมมากใช้เหยื่อไรดี(ตกปลาช่อนครับ)ขอบคุณล่วงหน้าครับ

    ตอบลบ
  2. ไม่มีหญ้าอะไรทั้งสิ้นมีแต่พุ้มไม้นิดหน่อยคนแถวนี้เขาชอบเอากิ่งไม้ไปไว้ใต้น้ำอะครับน้ำลึกประมาน 3-4 เมตรต้องขอโทษด้วยนะครับที่รบกวนอีกครั้ง

    ตอบลบ
  3. ลองเหยื่อพวกผิวน้ำ พวกกบ กบใบพัด หรือ ป๊อบเปอร์ลากผ่านพุ่มไม้ที่เค้าทิ้งไว้ กระตุกข้อแขนเวลาลากเหยื่อเพื่อสร้างแอ็คชั่น หรือไม่ก็พวกสปินเนอร์เบท สปินเนอร์ ส่วนพวกเหยื่อดำลึกหรือหนอนเท็กซัสคงไม่เหมาะกับพื้นน้ำที่มีอุปสรรคใต้น้ำเยอะครับ ลองดูครับ

    ตอบลบ
  4. ขอบคุณครับน้าที่ให้คำชี้แนะข้าน้อยขอคารวะ

    ตอบลบ
  5. ด้วยความยินดีและเต็มใจครับผ๊ม

    ตอบลบ
  6. ผมเปนอีกคนที่ชอบตกปลาช่อนด้วยเหยื่อปลอมมากคับ
    อยากรู้รื่องช่วงเวลาที่ใช้เหยื่อประเภทนี้ไห้ได้ผลที่สุดคับ
    เเละหากน้ำลึกมาก เหยื่อปรัเภทไหนจะเหมาะสมที่สุดคับ
    ขอบคุนล่วงหน้าคับ

    ตอบลบ
  7. ช่วงเวลาการใช้เหยื่อสปินเนอร์เบทให้ได้ผลควรจะเป็นช่วงเวลาที่มีแสงสามารถกระทบใบสปินได้นั่นก็คือกลางวัน ช่วงเช้าและเย็น เพราะเหยื่อถูกออกแบบมาเพื่อให้ใบสปินเป็นตัวหลอกล่อปลาล่าเหยื่อ ซึ่งเมื่อแสงกระทบกับใบสปินก็จะคล้ายเกล็ดพวกปลาเหยื่อสะท้อนแสง ซึ่งช่วยให้โอกาสในการโจมตีของเหล่านักล่ามีมากขึ้น ช่วงเช้าก็จะอยู่ประมาณ 6-11 โมง เย็นก็ประมาณ บ่าย 3-5 โมงเย็น กรณีน้ำลึกมาก ถ้าสปินเนอร์เบทไม่ได้ผลก็ลองพวกเหยื่อปลากระดีเหล็กหรือไม่ก็เป็นพวกเหยื่อปลั๊กดำลึกลองดูครับผม เหล่านี้เป็นเพียงแค่ความคิดเห็นของผมเท่านั้นครับ อาจมีอีกหลากหลายวิธีก็จะพยายามหาข้อมูลมาให้นะครับ

    ตอบลบ

.ขอบคุณที่แวะเข้ามาครับ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

เชิญแวะที่:
thainitaห้นย

จ้าวน้อยฟิชชิ่ง ตกปลาฮาเฮ เร่ไปเพราะใจสั่งมา © 2009. Powered by  MyPagerank.Net